“ก.ตร.ตงฉิน”ชี้ แต่งตั้งนายพลสีกากี ต้องถอดบทเรียน เน้นระบบคุณธรรม อาวุโส ความรู้และความสามารถ

377

“ก.ตร.ตงฉิน ”ชี้การแต่งตั้งนายพลสีกากี วาระประจำปี 2567 ต้องถอดบทเรียนเน้นระบบคุณธรรม ให้คำนึงถึง อาวุโส ความรู้และความสามารถ กำหนดหลักเกณฑ์การแต่งตั้งชัดเจนแน่นอน มิให้ผู้ใดใช้อำนาจหรือกระทำการโดยมิชอบ ตำรวจต้องไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของบุคคลใด“

เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ  ได้โพสต์ข้อความมีใจความระบุว่า  นายกรัฐมนตรี แพรทองธาร ชินวัตร แต่งตั้ง พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพชร เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตามกฎเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ นับเป็นจุดเริ่มต้นที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและข้าราชการตำรวจ

เปิดประวัติศาสตร์การแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติอีกครั้ง ที่แต่งตั้ง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติอาวุโสสุงสุดขึ้นเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ดั่งที่เคยเป็นธรรมเนียมในการปฏิบัติที่ดีงามมาโดยตลอด

ถอดบทเรียนจากการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเมื่อปีที่ผ่านมา ก่อให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงประชาชนเกิดวิกฤติศรัทธาต่อตำรวจอย่างมาก เกิดความเสียหายหลายประการ มีเรื่องร้องเรียนกล่าวหาค้างคามาจนถึงทุกวันนี้ ในเดือนพฤศจิกายน จะต้องดำเนินการแต่งตั้งโยกย้ายนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่อีกสองช่วง

โดยช่วงแรกประมาณกลางเดือน จะเป็นการแต่งตั้งระดับ พล.ต.ท.-พล.ต.อ. ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ยึดอาวุโสร้อยละ 100 สำหรับการเลื่อนตำแหน่งจากผู้บัญชาการเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และร้อยละ 50 สำหรับรองผู้บัญชาการเป็นผู้บัญชาการ

ส่วนช่วงปลายเดือนจะเป็นการแต่งตั้งระดับพลตำรวจตรี โดยใช้หลักอาวุโสร้อยละ 50 สิ่งสำคัญที่ผู้มีอำนาจและผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจในการแต่งตั้งทุกระดับต้องตระหนักมีดังนี้

ประการแรกบริบทและเจตนารมณ์กฏหมายต่างๆไม่ว่า บทบัญญัตติในกฏหมายรัฐธรรมนูญ 2560 พ.ร.บ.ตำรวจ 2565 กฎ ก.ตร.ว่าด้วยการแต่งตั้งตำรวจ 2567

”การแต่งตั้งตำรวจ ต้องเป็นไปตามระบบคุณธรรม ให้คำนึงถึง อาวุโส ความรู้และความสามารถ กำหนดหลักเกณฑ์การแต่งตั้งชัดเจนแน่นอน มิให้ผู้ใดใช้อำนาจหรือกระทำการโดยมิชอบ ตำรวจต้องไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของบุคคลใด“

ประการที่สอง พ.ร.บ.ตำรวจ 2565 กำหนดให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจ(ก.พ.ค.ตร.)ขึ้นเป็นครั้งแรก

“ตำรวจที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการแต่งตั้ง สามารถร้องทุกข์ต่อคณะกรรมพิทักษ์คุณธรรมฯคำวินิจฉัยเป็นที่สุด เพื่อพิทักษ์คุณธรรมและเป็นที่พึ่งของตำรวจ”

ประการสุดท้าย ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจในการแต่งตั้ง หากไม่ได้ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์การแต่งตั้ง เป็นเหตุให้มีผู้ร้องทุกข์เกิดความเสียหาย ให้ถือว่าเป็นความผิดวินัยหรือผิดวินัยร้ายแรง ลงโทษได้โดยไม่ต้องตั้งกรรมการสอบสวน หรืออาจถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญาฐานกระทำการต่างๆโดยมิชอบ เกี่ยวกับการแต่งตั้งตำรวจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี

ดังนั้นกระบวนการแต่งตั้งต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้เริ่มตั้งแต่การเสนอชื่อผู้ที่จะเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น จากผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดตามลำดับ เริ่มจากสถานีตำรวจ กองกำกับการ กองบัญชาการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

(กรณีที่เคยปรากฏ มีการสั่งการ(ตั๋ว)จากผู้บังคับบัญชาระดับสูงไปยังผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดให้เสนอรายชื่อคนที่สั่งลงไปจึงเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย)

การพิจารณาของผู้บังคับบัญชาทุกระดับ ต้องเป็นการประชุมในรูปคณะกรรมการ ร่วมกับ รองหัวหน้าหน่วยทุกคน มีการบันทึกรายงานการประชุม ตามข้อเท็จจริง ประกอบเหตุผลอ้างอิงต่างๆอย่างถูกต้อง

(กรณีที่เคยปรากฏ ผู้บังคับบัญชาจัดทำรายงานการประชุมโดยมิได้มีการประชุมจริง ให้ลงชื่อ หรือให้ลงชื่อในกระดาษแผ่นสุดท้ายโดยไปจัดทำรายงานการประชุมภายหลัง จึงเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย)

ผมหวังการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจที่จะเกิดขึ้นทุกระดับ จะต้องดำเนินการให้ถูกต้องต่อไป

ข้าราชการตำรวจที่ดี มีความรู้ ความสามารถ จะได้เจริญก้าวหน้า มีขวัญและกำลังใจ ในการปฏิบัติหน้าที่ ป้องกันปราบปรามอาชญากรรม อำนวยความยุติธรรมให้กับพี่น้องประชาชน สมกับคำว่า“ผู้พิทักษ์รับใช้ประชาชน”

#กู้คืนศักดิ์ศรีตำรวจดีของประชาชน
#กตรผู้ทรงคุณวุฒิ
#ตำรวจ  ”เฟซบุ๊กดังกล่าว ระบุ

คลิกอ่าน..!!!

https://www.facebook.com/share/p/2i9xhujxW8r7PsHR/?mibextid=WC7FNe

#Thaitabloid #สำนักข่าวไทยแทบลอยด์ #กตรผู้ทรงคุณวุฒิ #เอกอังสนานนท์