“อธ.กรมบัญขีกลาง” ออกหนังสือชี้แจง โต้ข่าว “กรมบัญชีกลาง”ปล่อยข้อมูลส่วนบุคคลรั่ว

0
303

“อธ.กรมบัญขีกลาง” ออกหนังสือชี้แจง โต้ข่าว กองบังคับการสืบสวนตำรวจภูธรภาค.2 ได้ร่วมทีม สคส.ตรวจพบ“กรมบัญชีกลาง”ปล่อยข้อมูลส่วนบุคคลรั่วถึง 23,000 รายการ ตรวจสอบตรงกับเคส ID ที่เป็นคดีถูกหลอกลวง 296 ราย และถูกแอปดูดเงิน 48 ราย ไม่จริง

เมื่อวันที่ 27 ก.ย.2567 ผู้สื่อข่าวไทยแทบลอยด์รายงานว่า จากกรณีที่สำนักข่าวไทนแทบลอยด์ได้นำเสนอข่าว กรณีที่กองบังคับการสืบสวนตำรวจภูธรภาค.2 ได้ร่วมทีม สคส.ตรวจพบ“กรมบัญชีกลาง”ปล่อยข้อมูลส่วนบุคคลรั่วถึง 23,000 รายการ ตรวจสอบตรงกับเคส ID ที่เป็นคดีถูกหลอกลวง 296 ราย และถูกแอปดูดเงิน 48 ราย นััน

ต่อมาวันที่ 23 กันยายน 2567 กรมบัญชีกลาง ได้ออกหนังสือ เตือนภัยมิจฉาชีพ และชี้แจงกรณีแก๊งคอลเซ็นเตอร์ใช้ข้อมูลหลอกลวงผู้รับบำนานาญ นางแพตริเซีย มงคลวนิช อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ปัจจุบันกรมบัญชีกลางยังคงได้รับแจ้งเบาะแสจากผู้รับบำนาญและประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่อง ว่ามีมิจฉาชีพแอบอ้างชื่อกรมบัญชีกลาง ชื่อผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ หลอกลวงว่ามีเงินที่ค้างรับจากกรมบัญชีกลางและให้ดำเนินการตามที่มิจฉาชีพแจ้ง ซึ่งบางรายต้องสูญเสียทรัพย์สิน

ดังนั้น จึงขอเตือนผู้รับบำนาญและทายาท รวมทั้งประชาชนทั่วไป ให้ระมัดระวังมิจฉาชีพ โดยติดตามข้อมูลข่าวสารจากช่องทางการประชาสัมพันธ์ของกรมบัญชีกลางหรือช่องทางที่น่าเชื่อถือจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อซึ่งรูปแบบและวิธีการที่มิจฉาชีพใช้หลอกลวงผู้รับบำนาญและประชาชน มีหลายรูปแบบที่ทำให้หลงเชื่อ เช่น โทรศัพท์สอบถามและแจ้งข้อมูลส่วนตัว และให้ดำเนินการต่าง ๆ เช่น ปรับปรุงบัญชีธนาคาร แจ้งให้ติดต่อขอรับบำนาญตกค้างแจ้งให้ติดต่อขอรับเงิน ช.ค.บ. แจ้งให้สแกน OR Code เพื่อแอดไลน์เพิ่มเพื่อนและอัปเดตข้อมูลผ่านไลน์ ให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน โดยใช้ชื่อ Digital Pension สแกนใบหน้า และกดลิงก์ต่าง ๆ เป็นต้น

“กรมบัญชีกลางได้รับการประสานงานจากกองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจฎธรภาค 2 ว่าได้จับกุมแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในพื้นที่ สภ. ศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยมีสำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) เข้าร่วมตรวจสอบขยายผลข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ของแก๊งคอลเซ็นเตอร์และพบว่ามีข้อมูลส่วนบุคคลที่มีลักษณะคล้ายกับข้อมูลผู้รับบำเหน็จบำนาญในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่คนร้ายใช้กระทำผิด เช่น ชื่อ นามสกุล เลขบัตรประจำตัวประชาชน

โดย สคส. ได้ประสานกรมบัญชีกลางให้ตรวจสอบข้อมูลและได้ร่วมประชุมกัน เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2567 และอยู่ระหว่างการตรวจสอบกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ซึ่งกรมบัญชีกลางได้ดำเนินการตามคำแนะนำของ สคส. โดยการแจ้งเหตุละเมิดให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่อาจได้รับผลกระทบทราบเป็นรายบุคคลแล้ว และจากการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับจาก สดส. จำนวน 23,089 รายการ พบว่าข้อมูลดังกล่าวบางส่วนคล้ายกับข้อมูลที่กรมบัญชีกลางมีไว้ครอบครองและไม่ใช่ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน โดยแก๊งคอลเซ็นเตอร์นำข้อมูลจากหลายแหล่งมาเชื่อมโยงกันก่อนการทำการหลอกผู้เสียหาย และชุดข้อมูลดังกล่าวไม่ได้รั่วไหลไปจากการเจาะระบบของกรมบัญชีกลางแต่อย่างใด ทั้งนี้ เมื่อได้ผลการตรวจสอบแล้ว จะแจ้งให้ทราบต่อไป” อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าว

อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมบัญชีกลางตระหนักและให้ความสำคัญในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 อย่างเคร่งครัด รวมทั้งได้ยกระดับ
มาตรการในการดูแลรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อสร้างความเชื่อมั่น โดยได้ทำการตรวจสอบระบบของกรมบัญชีกลางในปีที่ผ่านมาตามขั้นตอนและกระบวนการความมั่นคงและปลอดภัยตามมาตรฐาน 15027001-2022 รวมถึงการกำหนดมาตรฐานควบคมทั้งทางด้างด้าน Network & Security ทั้งนี้ กรมชีกลางขอให้ทุกท่านระมัดระวังการแอบอ้างเพื่อขอข้อมูล หรือใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อป้องกันมีให้เกิดความสูญเสียต่อทรัพย์สินและขอเน้นย้ำว่ากรมบัญชีกลางไม่มึนโยบายติดต่อหาข้าราชการผ่านโทรศัพท์ ไลน์ หรือสื่อโซเซียลใดๆ

ทั้งนี้หากเจ้าของข้อมูลที่ถูกละเมิดได้รับการแจ้งเป็นหนังสือจากกรมบัญชีกลางอย่างเป็นทางการแล้ว และมีข้อสงสัยสอบถาม
เพิ่มเติม สามารถติดต่อกรมบัญชีกลางได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0 2127 7243, 0 2127 7246 และ 0 2127 7227 ในวัน
และเวลาราชการ หรือทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ dpoaced.co.th ”หนังสือชี้แจงกรมบัญชีกลาง ชี้แจง“

สำหรับกรณีดังกล่าวนััน แหล่งข่าวในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า เมื่อ 19 ก.ย. ที่ผ่านมานี้เวลา 15.00 น. กรรมการกำกับสำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.)และเจ้าหน้าที่สำนักตรวจสอบได้มาประชุมตรวจสอบเหตุแห่งการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลที่กรมบัญชีกลาง ที่ห้องประชุมพญาไท ขั้น 3 กรมบัญชีกลาง มี อธิบดี , รอง อธิบดี , เจ้าหน้าที่ ของกรมบัญชีกลาง และ ที่ปรึกษา กรมบัญชีกลาง(ดร.ปิยะบุตรฯ) ร่วมประชุม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่ สคส.ได้มีความร่วมมือกับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.)ในกรณีมีการจับกุมแก๊ง cal l center ให้มีการขยายผลการตรวจสอบร่วมกันว่ามีข้อมูลส่วนบุคคลอยู่ในของกลางที่คนร้ายใช้ในการหลอกลวงหรือไม่ ตลอดจนพิสูจน์ว่าข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลจากที่ใด เพื่อบังคับใช้กฎหมายในการป้องกันและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้ตั้งแต่ต้นทางโดยทันที

ในกรณีนี้เหตุจากที่ กองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 2 ได้จับกุม แก๊ง call center ในพื้นที่ สภ. ศรีราชา เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 67 ศูนย์ PDPC Eagle Eye ของ สคส. จึงได้เข้าร่วมตรวจสอบขยายผล พบว่ามีข้อมูลส่วนบุคคลอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่คนร้ายใช้กระทำผิด กองบังคับการสืบสวนตำรวจภาค 2 จึงได้มีหนังสือสอบถาม กรมบัญชีกลาง ว่าเป็นข้อมูลดังกล่าวเป็นของกรมบัญชีกลางหรือไม่ ซึ่งเบื้องต้น กรมบัญชีกลาง รับว่าเป็นข้อมูลของกรมบัญชีกลาง ฝ่ายตรวจสอบ สคส.จึงแจ้งให้ กรมบัญชีกลางได้แจ้งเหตุการละเมิดตาม ม.37(4)มายัง สคส. เมื่อวันที่ 16 กย.67 จึงได้จัดให้มีการประชุมตรวจสอบร่วมกันอย่างเร่งด่วนเพื่อหาสาเหตุและกำหนดมาตรการ ป้องกัน การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และการแก้ไขเยียวยาให้เป็นรูปธรรม

ข้อมูลส่วนบุคคลที่ตรวจพบ มีจำนวนประมาณ 23,000 รายการ ตรวจสอบตรงกับเคส ID ที่เป็นคดีถูกหลอกลวง 296 ราย และถูกแอปดูดเงิน 48 ราย

ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาแจ้ง เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลผู้รับผลกระทบ ทราบและตรวจสอบเพิ่มเติมเพื่อให้ทราบสาเหตุ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

#Thaitabloid#สำนักข่าวไทยแทบลอยด์#กรมบัญชีกลาง