เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2567 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) และนายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) ร่วมคณะของนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งประกอบด้วย นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล โฆษกกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่ตรวจติดตามและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในการฟื้นฟูช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดเชียงราย จำนวน 4 จุด ได้แก่ จุดที่ 1 เทศบาลตำบลแม่อาย ต.แม่อาย จ.เชียงใหม่ เพื่อร่วมกิจกรรม Big Cleaning จุดที่ 2 บ้านใหม่หมอกจ๋าม ต.แม่อาย อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ เพื่อเยี่ยมให้กำลังใจศูนย์บริการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า (Fix it Center) จุดที่ 3 วัดเหมืองแดง เทศบาลตำบลแม่สาย อ. แม่สาย จ.เชียงราย ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจประชาชนในพื้นที่ที่ประสบภัย จุดที่ 4 ชุมชนป่าแดง ต.ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย เพื่อตรวจเยี่ยมการกู้คืนระบบประปา ไฟฟ้า และระบบการระบายน้ำในเขตเทศบาลนครเชียงราย
นายวราวุธ กล่าวว่า จากการที่ศูนย์ปฏิบัติการ ศรส. พม. รายงานเรื่องการบริหารจัดการสถานการณ์ภัยพิบัติ กระทรวง พม. พบว่ามีกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ 8,870 ครัวเรือน 15,116 ราย แบ่งเป็น เด็ก 3,845 ราย เยาวชน 681 ราย คนพิการ 986 ราย ผู้สูงอายุ 8,780 ราย และผู้มีรายได้น้อย 824 ราย ซึ่งขณะนี้ กระทรวง พม.ได้เข้าให้การช่วยเหลือแล้ว 1,325 ราย โดยในส่วนของกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในพื้นที่อำเภอฝางและแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่นั้น มีจำนวน 13,611 ราย แบ่งเป็น เด็กเล็ก 3,845 รายคนพิการ 986 ราย และผู้สูงอายุ 8,780 ราย
ทั้งนี้ หน่วยงาน ทีม พม.หนึ่งเดียว จังหวัดเชียงใหม่ ได้ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ให้ความช่วยเหลือต่างๆ แก่กลุ่มเปราะบางผู้ประสบภัยพิบัติพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยร่วมกับ อบต.ดอยลาง อบต.ท่าตอน ทต.แม่อาย ทต.ม่อนปิ่น ทต.สันทราย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน และจัดทำข้อมูลกลุ่มเปราะบางในระบบ พม. Smart ที่เป็นผู้ประสบภัยน้ำท่วม ดินถล่ม ในพื้นที่อำเภอฝาง 50 ครอบครัว อำเภอแม่อาย 100 ครอบครัว เพื่อช่วยเหลือครอบครัวละ 3,000 บาท (ภายใน 30 กันยายน 2567) และส่งมอบเสื้อผ้า ถุงยังชีพจากสมาคมคนตาบอดให้แก่ผู้ประสบภัยพิบัติ พร้อมเยี่ยมผู้บาดเจ็บที่โรงพยาบาลและเยี่ยมบ้าน
ครอบครัวผู้เสียชีวิต รวม 9 ราย เพื่อช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ และกระทรวง พม. ต่อไป
นอกจากนี้ ทางหน่วยงานทีม พม.หนึ่งเดียว จังหวัดเชียงใหม่ ได้เตรียมความพร้อม ร่วมกับ อพม. ในการประสานความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ กรณีฉุกเฉิน พร้อมรายงานผล ตลอด 24 ชั่วโมง อีกทั้งประชาสัมพันธ์แนวทางการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติในระยะฟื้นฟู เยียวยา หลังจากการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าแล้ว ทั้งในกรณีผู้ประสบภัยและครอบครัว กรณีผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ ผู้สูญหาย เด็กกำพร้าจากภัยพิบัติ การซ่อมแซมปรับสภาพที่อยู่อาศัย และการประสานความช่วยเหลืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
นายวราวุธ กล่าวว่า จากการที่ศูนย์ปฏิบัติการ ศรส. พม. รายงานเรื่องการบริหารจัดการสถานการณ์ภัยพิบัติ กระทรวง พม. พบว่า มีกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในพื้นที่จังหวัดเชียงราย 1,993 ครัวเรือน 3,716 ราย แบ่งเป็น เด็ก 390 ราย คนพิการ 353 ราย ผู้สูงอายุ 1,741 ราย ผู้ป่วยติดเตียง 54 ราย และผู้มีรายได้น้อย 678 ราย ซึ่งขณะนี้ กระทรวง พม.ได้เข้าให้การช่วยเหลือแล้ว 1,712 ราย
ทั้งนี้ หน่วยงาน ทีม พม.หนึ่งเดียว จังหวัดเชียงราย ได้ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายให้ความช่วยเหลือต่างๆ แก่กลุ่มเปราะบางผู้ประสบภัยพิบัติ พื้นที่จังหวัดเชียงราย อาทิ 1) มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก สภากาชาดไทย ร่วมกับหน่วยงาน ทีม พม.หนึ่งเดียว จังหวัดเชียงราย จัดเจ้าหน้าที่บริการตามจุดบริการประชาชนให้คำปรึกษา ความช่วยเหลือตามสิทธิของกลุ่มเปราะบาง พร้อมด้วย สนง.สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สนง.คณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และ สนง.พัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย 2) การเคหะแห่งชาติ มอบถุงยังชีพและน้ำดื่ม 566 ชุด ให้แก่ผู้ที่พักอาศัยโนโครงการฯ 3) สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 9 สนับสนุนเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น อุปกรณ์ทำความสะอาด และเสื้อผ้าที่ได้รับบริจาค 4) สภาองค์กรชุมชน ตำบลสันสลี ทำข้าวเหนียวห่อใบตอง และอาหารอื่นๆ 250 ชุด มอบให้ผู้ประสบภัยบ้านผาจม วัดเหมืองแดง 5) กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านดู่ มอบเครื่องอุปโภคบริโภค 70 ชุด แก่กลุ่มสมาชิกในบ้านป่าสักไก่ ม.12 6) โรงครัวพระราชทานมูลนิธิอาสาเพื่อพึ่ง(ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย และ 7) ครัวกลาง เครือข่ายองค์กรชุมชน จังหวัดเชียงราย และ พอช.ภาคเหนือ
นายวราวุธ กล่าวว่า สำหรับการฟื้นฟูและเยียวยาผู้ประสบภัยของกระทรวง พม. ประกอบด้วย 1. ประเภทการสงเคราะห์ (เงินสงเคราะห์) ได้แก่ เงินอุดหนุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน เป็นเงินหรือสิ่งของไม่เกิน 3,000 บาทต่อครอบครัว การสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและไร้ที่พึ่ง ช่วยเหลือเป็นเงินหรือสิ่งของ 3,000 บาทต่อครอบครัว ตามหลักเกณฑ์ เงินสงเคราะห์และฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ช่วยเหลือเป็นเงินหรือสิ่งของ 3,000 บาทต่อครอบครัว ตามหลักเกณฑ์ เงินอุดหนุนผู้สูงอายุประสบภาวะยากลำบาก ช่วยเหลือเป็นเงินหรือสิ่งของ 3,000 บาทต่อครอบครัว ตามหลักเกณฑ์ การคุ้มครอง การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดที่พักอาศัย อาหารและเครื่องนุ่งห่มให้ผู้สูงอายุตามความจำเป็นอย่างทั่วถึง หรือเข้ารับบริการหรืออุปการะในศูนย์บริการผู้สูงอายุ สถานสงเคราะห์ เรื่องอาหารและเครื่องนุ่งห่ม 3,000 บาทต่อคน การสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน ช่วยเหลือเป็นเงิน 1,000-3,000 บาทต่อครอบครัว ตามหลักเกณฑ์ การสงเคราะห์เด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์ ช่วยเหลือเป็นเงินค่าเลี้ยงดูเด็ก 2,000-4,000 บาทต่อเดือน ตามหลักเกณฑ์หรือช่วยเหลือเป็นสิ่งของ 500-1,000 บาท ตามหลักเกณฑ์ เงินสนับสนุนจากกองทุนคุ้มครองเด็ก เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกายอุปกรณ์ กรณีเด็กพิการ ค่าเครื่องอุปโภคบริโภคสำหรับเด็ก และการสงเคราะห์เด็กแบบครอบครัวอุปถัมภ์ โดยวงเงินการช่วยเหลือแล้วแต่กรณีตามหลักเกณฑ์ เงินสงเคราะห์สตรีและครอบครัวเฉพาะกรณีสตรีที่ผ่านการฝึกอาชีพ ช่วยเหลือเป็นเงินไม่เกิน 3,000 บาทต่อครอบครัว
2.ประเภทบริการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย การปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้สูงอายุหลังละไม่เกิน 40,000 บาท การปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับคนพิการหลังละไม่เกิน 40,000 บาท โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยชั่วคราว กรณีภัยพิบัติของ พอช. ช่วยเหลือกลุ่มผู้ด้อยโอกาสไม่เกิน 18,000 บาทต่อครัวเรือน
3.ประเภทบริการให้เงินกู้ยืม กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการชำระชำระคืนภายใน 5 ปี ไม่มีดอกเบี้ย รายบุคคลรายละไม่เกิน 60,000 บาท รายกลุ่มกลุ่มละไม่เกินหนึ่งล้านบาท กองทุนผู้สูงอายุชำระคืนภายใน 3 ปี ไม่มีดอกเบี้ย รายบุคคลรายละไม่เกิน 30,000 บาท