”ผู้ช่วยฯไมค์“เปิดผลงานสถิติจับกุม เร่งสปีดลุยปราบบุหรีไฟฟ้า

569

”ผู้ช่วยฯไมค์“เปิดผลงานสถิติจับกุม เร่งสปีดลุยปราบบุหรีไฟฟ้า สนองนโยบาย ตร.ตามข้อสั่งการ“รองฯต่าย”

ผลงานเพียบ กำชับทุกหน่วยลุยปราบแหล่งนำเข้า ยึดของกลางกว่า 100 ล้าน
เอาโทษจำคุก 10 ปี วอนชี้เบาะแส 1599

เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2567 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) พล.ต.ท. นิรันดร เหลื่อมศรี ผู้ช่วย ผบ.ตร.ผู้ช่วย ผบ.ตร.(ปป.2) เปิดเผยว่าจากข้อสั่งการของ

พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ( รอง ผบ.ตร.ปป. ) ให้วางมาตรการป้องกันปราบปรามบุหรี่ไฟฟ้าของ ตร.โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้กำหนดมาตรการป้องกันปราบปรามความผิดเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า ให้ทุกหน่วยในสังกัดถือปฏิบัติ ตาม วิทยุ ตร. ด่วนที่สุด ที่ 0007.22/2708 ลง 9 ส.ค.67 สรุปรายละเอียด ดังนี้

(1.)ให้สถานีตำรวจทุกแห่ง สืบสวนจับกุมผู้ลักลอบจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าและอุปกรณ์ส่วนควบในพื้นที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะพื้นที่รอบโรงเรียน สถานศึกษา แหล่งท่องเที่ยว ห้างร้าน ตลาด หรือสถานที่สำคัญ

(2.)ให้ บก.ปคบ. และ บช.สอท. สืบสวนจับกุม ผู้กระทำผิดรายใหญ่โดยเฉพาะการจำหน่ายในช่องทางออนไลน์ หรือมีการกระทำความผิดในลักษณะเป็นเครือข่าย/เป็นขบวนการ หรือที่มีสถานทีเก็บหรือโกดังเก็บบุหรี่ไฟฟ้าจำนวนมาก เพื่อตัดวงจรการกระจายสินค้าไปยังร้านค้ารายย่อย

(3.)ให้ทุกสถานีตำรวจทุกแห่ง ประชาสัมพัมพันธ์ถึงความผิด และอันตรายจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า โดยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติงานด้านชุมชนสัมพันธ์ และ ครูตำรวจ D.A.R.E. เพิ่มหัวข้อ เรื่องความผิดและอันตรายจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในการเข้าไปให้ความรู้เข้าไปให้ความรู้แก่ชุมชน โรงเรียนหรือสถานศึกษา โดยให้

(4.)ให้ สถานีตำรวจท่องเที่ยว ประชาสัมพันธ์เรื่องความผิดและโทษของบุหรี่ไฟฟ้าในการปฏิบัติงานทุกครั้งให้นักท่องเที่ยวทราบ และให้ตรวจตราการกระทำผิดเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าบริเวณสถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่ หากพบให้ดำเนินการตามกฎหมายโดยเครัด

(5.)รับแจ้งเบาะแสจากประชาชนผ่านสายด่วน 1599 โดยทุกเคสที่มีการร้องเรียนมาสถานีตำรวจพื้นที่ต้องลงไปตรวจสอบ หากพบ ให้ดำเนินการกฎหมาย และรายงานผลการดำเนินการพร้อมภาพถ่ายกลับมาที่ศูนย์ปฏิบัติการของ ตร. โดยมีการตรวจสอบติดตามทุกเคส กรณีตรวจไม่พบในครั้งแรกจะให้มีการลงไปตรวจช้ำ รวมทั้งให้มีตำรวจหน่ายอื่น เช่น บก.ปคบ. ไปตรวจอีกส่วนหนึ่ง

(6.)กำชับผู้บังคับบัญชาทุกระดับ ควบคุมกำกับดูแลการปฏิบัติทั้งในมิติด้านการป้องกันและการปราบปราม รวมทั้งสอดส่องดูแล อย่าให้ข้าราชการตำรวจในสังกัดมีพฤติการณ์เรียกรับ
ผลประโยชน์หรือมีการปฏิบัติที่ส่อไปในทางทุจริตโดยเด็ดขาด และไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าทั้งทางตรงและทางอ้อม

พล.ต.ท. นิรันดร ยังเปิดเผยอีกว่า สำหรับกฎหมายที่กำหนดความผิดและโทษเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้านั้น
(1.)การนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.2522 ม.20 (ประกอบ ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้บารากู่และบารากูไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ.2553)- อัตราโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับเป็นเงินห้าเท่าของราคาสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับกับให้ริบบุหรี่ไฟฟ้า รวมทั้งสิ่งที่ใช้บรรจุ และพาหนะที่ใช้บรรทุกสินค้าบุหรี่ไฟฟ้า พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 ม.244 นำของเข้ามาในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงข้อจำกัด หรือข้อห้ามอันเกี่ยวกับของนั้น – อัตราโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000.บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

(2)การจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า ทั้งที่เป็นหน้าร้าน และออนไลน์ เป็นความผิดตามกฎหมาย 3 ฉบับ คือพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ม.29/9, 56/4 (ประกอบ คำสั่งคณะกรรมการ
ว่าด้วยความปลอดภัยของสินค้าและบริการ ที่ 24/2567 ลง 8 ก.ค.67 เรื่อง ห้ามผลิตเพื่อขาย ห้ามขายหรือให้บริการสินค้า บารากู่ บารากูไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า หรือตัวยาบารากู่ น้ำยาสำหรับเติมบารากูไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า) ห้ามขายสินค้าหรือให้บริการ บุหรี่ไฟฟ้า หรือน้ำยาสำหรับเติมบุหรี่ไฟฟ้า- อัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 600,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 ม.246 วรรคหนึ่ง ความผิดฐาน ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ หรือรับไว้โดยประการใดซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยยังมิได้ผ่านพิธีศุลกากรโดยถูกต้อง- อัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของ หรือทั้งจำทั้งปรับ(ผตห. สามารถขอทำความตกลงระงับคดีได้ โดยยกของกลางตกเป็นของแผ่นดิน) -พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 กรณีบุหรี่ไฟฟ้าที่มีสารนิโคติน จะถือเป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบด้วย ซึ่งจะต้องอยู่ในบังคับของพ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฯ ได้แก่- ม.26 ห้ามขายเด็กอายุต่ำว่า 20 ปี อัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 30,000. บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ- ม.27(2 ) ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน
ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ -ม.27 (7 ) เร่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบ อัตราโทษ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท/ปรับเป็นพินัย) -ม.29 จำหน่ายในสถานที่ต้องห้าม อัตราโทษ ปรับไม่เกิน 40,000 บาท/ปรับเป็นพินัย – ม.29 จำหน่ายในสถานที่ต้องห้าม อัตราโทษ ปรับไม่เกิน 40,000. บาท/ปรับเป็น
พินัย)

(3.)ผู้มีไว้ในครอบครองเพื่อใช้สูบ (ไม่ใช่ผู้นำเข้า/ไม่ใช่ผู้จำหน่าย)
เนื่องจากตัวผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้ากฎหมายไม่ได้กำหนดให้เป็นความผิดในตัวของมันเองการบังคับใช้กฎหมายกับผู้ที่ครอบครองเพื่อใช้สูบจึงต้องนำกฎหมายอื่นมาใช้โดยทางอ้อม เช่น บังคับตามความผิดฐานซื้อหรือรับไว้ซึ่งของที่นำเข้ามาโดยยังมิได้ผ่านพิธีศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ ม.2446 แทน ซึ่งไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย และมีช่องว่างของกฎหมายที่ ผตห.ใช้ในการต่อสู้คดีหลายประการ
สำหรับบุหรี่ไฟฟ้าที่มีนิโคติน แม้ว่าจะถือเป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบ และบังคับใช้ตามกฎหมาย พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฯ ได้ ในความผิดฐานผิบในในเขตปลอดบุหรี่ก็ตาม แต่ความผิดเรื่องนี้เป็นความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว ซึ่งเป็นความผิดทางพินัย ปัจจุบันเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่มีอำนาจจับกุมและเปรียบเทียบปรับ แต่เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัดกระทรวงสาธาธารณสุข จากประเด็นข้อกฎหมายข้างต้น จะเห็นได้ว่าการบังคับใช้กฎหมายกับผู้ครอบครองเพื่อใช้สูบทำได้ยาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงมุ่งมุ่งเน้นไปที่การปราบปรามการกระทำความผิดในกลุ่มของผู้ลักลอบนำเข้า และจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสำคัญ

สำหรับผลการจับกุมเฉพาะคดีสำคัญ
1 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 ยึดหัวพอดบุหรี่ไฟฟ้า จำนวน 60,500 หัว มูลค่าของกลางกว่า 10,000,000.บาท เหตุเกิด บริเวณศูนย์กระจายสินค้าเคอรี่ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา

2.เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 จับกุมผู้จำหน่ายออนไลน์ เหตุเกิดในคอนโด ย่านพระราม 3 กทม.ของกลางบุหรี่ไฟฟ้า จำนวน 13,866 รายการ มูลค่าของกลางกว่า 2,000,000. บาท

3.เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 จับกุมผู้จำหน่ายออนไลน์ เหตุเกิดในหมู่บ้านย่าน ถนนนนวมินทร์กทม. ของกลางบุหรี่ไฟฟ้า จำนวน 56,029รายการ มูลค่าของกลางกว่า 7,000,000 บาท.

4.เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2567 บก.ปคบ. จับกุมพื้นที่บริเวณ แขวงคลองบางพราน เขตบางบอนกรุงเทพฯ พบของกลางเป็น ตุ๊กตาบหรีไฟฟ้าและอุปกรณ์ จำนวน 318 รายการ มูลค่าของกลาง 80,000,000.บาท

5.เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 บก.ปคบ. จับกุมพื้นที่บริเวณ แขวงรามอินทรา เขตคันนายาวกรุงเทพฯ พบของกลาง เครื่องบุหรี่ไฟฟ้า,น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า,บุหรี่ไฟฟ้าชนิดสูบแล้วทิ้ง จำนวน 4,660 รายการมูลค่าของกลาง 100,000 บาท
6.เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2567 บก.ปคบ. จับกุมพื้นที่บริเวณ ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี พบของกลางเป็น บุหรี่ไฟฟ้า จำนวน 1,881 รายการ รวมค่าของกลาง 245,280 บาท

7.เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2567 บช.สอท. จับกุมผู้จำหน่ายออนไลน์เหตุเกิดที่ พื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยาของกลางบหรี่ไฟฟ้าพร้อมน้ำยากว่า 10,000.รายการ มูลค่าของกลางรวม 2,800,000.บาท (ใช้ชื่อในการจำหน่ายออนไลน์ว่า ฮาดี่ ช็อป)

8.เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2567 บช.สอท. จับกุมผู้จำหน่ายออนไลน์ เหตุเกิดที่ พื้นที่เขตลาดพร้าวกทม. ของกลางบุหรี่ไฟฟ้าพร้อมน้ำยากว่า 16,000 รายการ มูลค่าของกลางรวม 3,750,000 บาท

9 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2567 บก.ปคบ. ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ และน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าชนิดเปลี่ยนหัว,บุหรี่ไฟฟ้าชนิดสูบแล้วทิ้ง ที่บริเวณ ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ยึดตู้กบุหรี่ไฟฟ้ารารายการ 375 ชิ้น มูลค่าประมาณ 581,660 บาท

10 เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2567 บก.ปคบ. จับกุมที่บริเวณ ย่านปากเกร็ด จ.นนทบุรี พบของกลางบุหรี่ไฟฟ้า จำนวน 60,000 รายการ มูลค่าประมาณ 20,000,000. บาท

11 วันที่ 23 เม.ย.2567 บช.สอท. ตรวจค้นจับกุม 4 จุด พื้นที่จังหวัดสงขลา และ กรุงททพมหานครจุด สงขลา ผู้ต้องหา 1 คน คือ นายทศพลฯ ของกลาง บุหรี่ไฟฟ้า หัวพอตและน้ำยา จำนวน ๖๖๔ ชิ้น มูลค่ารวม 81,550 บาท .

12 เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2567 ปฏิบัติการ SMOKELESS EP1 โดย บช.สอท. จับกุมผู้บุหรี่ไฟฟ้ารายใหญ่ ร่วมการแถลงข่าวพร้อม คุณปนัดดา วงศ์ผู้ดี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการยาสูบแห่งชาติฯพื้นที่ อ.สามพราน จ.นครปฐม ของกลางเป็นพ็อตบุหรี่ไฟฟ้า และหัวน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า รวมจำนวน 53,310 รายการ มูลค่ารวม 8,275,100. บาท

13 .เมื่อวันที่ มิถุนายน 2567 ปฏิบัติการ SMOKELESS EP.2 โดย บช.สอท. จับกุมผู้บุหรี่ไฟฟ้ารายใหญ่ ร่วมการแถลงข่าวพร้อม คุณปนัดดา วงศ์ผู้ดี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการยาสูบแห่งชาติฯพื้นที่ แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ของกลางเป็นพ็อตบหรี่ไฟฟ้า จำนวน 37,360รายการ
มูลค่ารวม 8,950,000. บาท

14 วันที่ 11 กรกฎาคม 2567 บก.ปคบ. จับกุมที่ Ansa-ra shop อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ ของกลางบุหรี่ไฟฟ้า จำนวน 66,033รายการ มูลค่าประมาณ 15,000,000.บาท

15 วันที่ 18 กรกฎาคม 2567 เวลาประมาณ 14.20 น. สน.ลาดกระบัง สนธิกำลัง สืบสวนท่องเที่ยว ตรวจค้นอาคารพาณิชย์ 3 ชั้น ถนนพุทธบูชา แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพ ซึ่งเปิดเป็นร้านขายของชำด้านหน้า เนื่องจากสืบสวนทราบว่าภายในอาคารพาณิชย์ดังกล่าวมีการลักลอบเก็บบุหรี่ไฟฟ้า และอุปกรณ์บุหรี่ไฟฟ้า จากการตรวจค้นได้ทำการจับกุมกุมผู้ต้องหา 2 ราย พร้อมตรวจยึดของกลาง บุหรี่ไฟฟ้าน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า และอุปกรณ์บหรี่ไฟฟ้า จำนวนกว่า 66,000. รายการ มูลค่ารวมกันกว่า 5,000,000. บาท นำส่งพนักงานสอบสวน สน.บางมด ดำเนินคดีต่อไป

16.เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๗ บก.ปคบ. ได้รับเรื่องร้องเรียนจาก มูลนิธิปวีณา หงสกุลว่ามีผู้ลักลอบประกอบธุรกิจขายสินค้าบุหรี่ไฟฟ้าและน้ำยาสำหรับเติมบุหรี่ไฟฟ้า ละแวกใกล้กับสถานศึกษาประมาณ 300 เมตร และมีกลุ่มเยาวชนส่วนใหญ่เข้าถึงสินค้าดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ในพื้นที่ อ.ศรีมหาโพธิจ.ปราจีนบุรี จึงได้ดำเนินการล่อซื้อและจับกุม รวมของกลาง จำนวน 65; ชิ้น มูลค่าประมาณ 72,550 บาท

17 วันที่ 9 สิงหาคม 2567 ปฏิบัติการ SMOKELESS EP.3 โดย บช.สอท. เข้าตรวจค้นทั้ง 2 จุดในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี 2 แห่ง ดังนี้ โกดังแห่งหนึ่งในพื้นที่ ม.5 ต.คลองสี่ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี และโกดังเลขที่ 20/10ต.คลองสอง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ทั้ง 2 แห่งดังกล่าวเปิดเป็นสถานที่ซุกซ่อน และลักลอบจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า และอุปกรณ์ส่วนควบ ให้กับลูกค้าที่เป็นประชาชนทั่วไป ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ รวมจับกมผู้ต้องหาจำนวน 6 คน ของกลาง ทั้ง 2 จุด จำนวน 18,480,200 ชิ้น รวมมูลค่าประมาณ 36,670,000.บาทของกลางบุหรี่ไฟฟ้าและอุปกรณ์ รวมจำนวน 630,875 รายการคิดเป็นมูลค่าของกลาง
รวมจำนวน 121,488,140 บาท ”ผู้ช่วย ผบ.ตร.กล่าว“

#Thaitabloid#สำนักข่าวไทยแทบลอยด์