บริษัท EA-ป่ารอยต่อ’ธุรกิจ-การเมือง ซ่อนเงื่อนตัวละครไม่ลับ เห็นได้ชัดว่าทุนกับการเมือง ถูกผูกและเชื่อมโยงถึงอย่างแยกไม่ออก กลายเป็นวังวนที่ยากจะหลุดพ้นไปได้

575

นอกเหนือจากประเด็นทางการเมืองและการอยู่รอดของรัฐบาล ที่กำลังเป็นที่สนใจของผู้ที่ติดตามข่าวสารบ้านเมืองแล้ว เวลานี้มีอีกประเด็นหนึ่งที่เขย่าตลาดเงินตลาดทุนไม่แพ้กับการเมือง

ภายหลังสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่า ได้กล่าวโทษบุคคลรวม 3 ราย ประกอบด้วยนายสมโภชน์ อาหุนัย และนายอมร ทรัพย์ทวีกุล ซึ่งเป็นกรรมการและผู้บริหารบริษัทพลังงานบริสุทธิจำกัดมหาชน (EA) รวมถึงนายพรเลิศ เตชะรัตโนภาส ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กรณีร่วมกันทำการทุจริตเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้แก่ตนเองแล้วหรือผู้อื่น ทำให้ EA และบริษัทย่อยเสียหาย พร้อมกันนี้ยังส่งเรื่องต่อไปยังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)

โดยปรากฏข้อเท็จจริงและหลักฐานที่พิจารณาได้ว่า ในช่วงปี 2556-2558 บุคคลทั้ง 3 รายได้ร่วมกันกระทำการทุจริต การจัดซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศแล้วหรือทุจริตการจัดซื้อซอฟแวร์ เพื่อใช้ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้พลังงานแสงอาทิตย์ของ EA ผ่านบริษัทย่อย 2 บริษัทดังกล่าว เป็นเหตุให้บุคคลทั้ง 3 ราย ได้รับผลประโยชน์รวม 3,465.64 พันล้านบาท การกระทำของบุคคลดังกล่าว เข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 281/2 วรรค 2 ประกอบมาตรา 89/7 และมาตรา 89/7 ประกอบมาตรา 89/24 มาตรา 311 มาตรา 313 และมาตรา 315 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ประกอบมาตรา 83 และมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายอาญา เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เกิดมุมมองหลายมิติ

โดยมิติในทางเศรษฐกิจนั้นต้องยอมรับว่า การกล่าวโทษดังกล่าวสร้างความสั่นคลอนกับมาตรฐานการจัดการภายในตลาดเงินทุนและตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทยพอสมควร เนื่องจากบริษัท EA ได้ถูกประทับตราว่าเป็นบริษัทที่มีระบบธรรมาภิบาลหรือ corporate governance ดีเด่น แถมยังได้รางวัลใหญ่ corporate excellence category energy ในเวทีสากล ในเวที Asia pacific enterprise award (APEA) ปี 2023 ในฐานะองกรค์ที่เป็นเลิศด้านการบริหารงานและสร้างการเติบดตด้านธุรกิจด้วยนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง แต่ทุกอย่างก็พังครืนภายในเวลาชั่วข้ามคืนและกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รางวัลที่ได้รับมาไม่ได้เป็นเครื่องการันตรีความสุจริตอีกต่อไป

ขณะที่บริบททางการเมืองนั้นด้านนึงดูเหมือนจะห่างไกล แต่ลองกลับไปค้นประวัติศาสตร์ดูจะพบว่าบริษัทนี้มีความเชื่อมโยงกับเครือข่ายทางการเมืองที่มีความซับซ้อนซ่อนเงื่อน อย่างมูลนิธิป่ารอยต่อแบบน่าพิศวง เมื่อประมาณ 4 ปีที่แล้ว รังสิมันต์ โรม เคยออกมาเปิดเผยถึงความเชื่อมโยงระหว่างบริษัทพลังงานบริสุทธิจำกัดมหาชนกับมูลนิธิป่ารอยต่อ ผ่านตัวละครที่มีชื่อว่า รมต.ทายาทของพี่ใหญ่แห่งบ้านป่ารอยต่อ ว่าเข้ามาเป็นกรรมการบริษัทพลังงานบริสุทธิจำกัดมหาชน เมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2557 ก่อนรัฐประหารปี 2557 เพียง 1 เดือน

ณ วันที่ ทายาท ของพี่ใหญ่แห่งบ้านป่ารอยต่อ เข้ามาเป็นกรรมการบริษัท ราคาหุ้นของ EA อยู่ที่ 11 บาท วันที่ 22 พ.ค. 2557 วันรัฐประหาร ราคาหุ้นขึ้นมาอยู่ที่ 12.50 บาท วันที่ 14 พ.ค. 2561 ประกาศใช้ พรบ.EBC ราคาหุ้นอยู่ที่ 36.50 บาท ข้อมูลล่าสุดสืบค้นเมื่อ 24 ก.พ. 2563 ราคาหุ้นอยู่ที่ 46.25 บาท เติบโตจากวันที่ ทายาท พี่ของ ใหญ่บ้านป่ารอยต่อเข้ามาเป็นกรรมการ 420.45% ทุกอย่างจบแค่นั้น

จนกระทั่งในเดือนสิงหาคม 2566 ขอลาออกจากการดำรงตำแหน่งกรรมการอิสระ กรรมการบริหารความเสี่ยง ก่อนที่จะได้ดำรงตำแหน่งสำคัญที่กำกับดูแลที่กำลังถูกต่อด้าน รัฐบาลชุดปัจจุบันที่กำลังถูกจับตามอง เรื่องเพิกถอนที่ดินอุทยานทับลานจำนวนมหาศาล ทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นว่าทุนกับการเมืองถูกโยงให้ผูกชิดติดกันอย่างแย่งไม่ออก กลายเป็นวังวนที่ประเทศไทยยากจะหลุดพ้นไปได้