สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 1 ก.ค 67 เวลา 9.00 น.

199

สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 1 ก.ค 67 เวลา 9.00 น.

1.สภาพอากาศวันนี้ : มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือตอนบน มีฝนตกหนักบางแห่ง คาดการณ์ : ช่วงวันที่ 3 – 6 ก.ค. 67 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ในภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้

2.สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 49% ของความจุเก็บกัก (39,871 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 27% (15,706 ล้าน ลบ.ม.) การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย 4 แห่งภาคเหนือ : ภูมิพลและสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จุฬาภรณ์ ภาคตะวันตก: ปราณบุรี

3.คุณภาพน้ำ : น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำเพื่อการเกษตร

-แม่น้ำท่าจีน ณ สถานีประตูระบายน้ำปากคลองจินดา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

-แม่น้ำแม่กลอง ณ สถานีอัมพวา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

-แม่น้ำบางปะกง ณ สถานีวัดบางคาง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

4.แนวทางการบริหารจัดการน้ำ : วานนี้ (30 มิถุนายน 2567) นายกรัฐมนตรี นั่งหัวโต๊ะหารือแผนพัฒนา จ.สุรินทร์ หนุนให้เติบโตได้ตามศักยภาพในทุกมิติ
นายกฯ ได้รับฟังการนำเสนอศักยภาพ ประเด็นความต้องการของ จ.สุรินทร์ ดังนี้ การพัฒนาเพิ่มศักยภาพแหล่งน้ำทั้งในระยะเร่งด่วน จำนวน 4 โครงการ คือ

(1) โครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำห้วยแก้วบ้านสร้างบก ต.หนองบัวบาน อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์
(2) โครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำหนองกระทุ่ม พร้อมอาคารประกอบ ต.ชุมพลบุรี อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์

(3) โครงการขุดลอกอ่างเก็บห้วยเสนง บ้านตามีย์ ต.เฉนียง อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์

(4) โครงการขุดอ่างเก็บน้ำอำปึล บ้านใต้ฆ้อง ต.ตาอ็อง อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์ และระยะยาว (โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำห้วยเสนงและอำปึล)

ทั้งนี้ นายกฯ ได้เสนอแนะเรื่องการบริหารจัดการน้ำเป็นเรื่องสำคัญ จังหวัดสุรินทร์ใช้น้ำในการทำเกษตรกรรม และเป็นจังหวัดทางน้ำผ่าน ไม่ค่อยพบปัญหาน้ำท่วมจะมีแต่เรื่องน้ำแล้ง ดังนั้นการเตรียมการรองรับเรื่องภัยแล้งในเรื่องของการขุดลอกบ่อน้ำก็เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งโครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำห้วยแก้วได้อนุมัติงบฯ ไปแล้ว ส่วนโครงการอื่น ๆ ก็จะได้ให้ สทนช. ร่วมกับกรมชลประทานในการที่จะดำเนินการเรื่องนี้ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว โดยขอให้เร่งแก้ไขปัญหาเหล่านี้ โดยเฉพาะบางแหล่งน้ำต้องรีบดำเนินการเพื่อรองรับน้ำฝนที่จะมาถึงซึ่งจะช่วยทั้งเรื่องน้ำท่วมและเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง รวมถึงการเตรียมการบริหารจัดการน้ำในอนาคตด้วย

5.สถานการณ์อุทกภัย : เกิดสถานการณ์น้ำหลากเนื่องจากมีฝนตกหนักในพื้นที่ จ.ภูเก็ต และระยอง ดังนี้

1.จ.ภูเก็ต มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ ดังนี้
อ.กะทู้ บริเวณ เทศบาลเมืองกะทู้ (สนามกอล์ฟล็อคปาล์มกะทู้) เทศบาลเมืองป่าตอง องค์การบริหารส่วนตำบลกมลา
(มีพื้นที่เสียหายประมาณ 10 หลังคาเรือนขึ้นไป) ปัจจุบันระดับน้ำลดลง รถเล็กสามารถเคลื่อนผ่านได้
อ.เมืองภูเก็ต บริเวณ เทศบาลนครภูเก็ต เทศบาลตำบลราไวย์ เทศบาลตำบลฉลอง เทศบาลตำบลกะรน เทศบาลตำบลวิชิต เทศบาลตำบลรัษฎา องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะแก้ว ปัจจุบันระดับน้ำลดลง สามารถสัญจรได้ อ.ถลาง บริเวณ เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี เทศบาลตำบลศรีสุนทร เทศบาลตำบลเชิงทะเล เทศบาลตำบลป่าคลอก องค์การบริหารส่วนตำบลไม้ขาว องค์การบริหารส่วนตำบลสาคู ปัจจุบันระดับน้ำลดลงแล้ว แต่ยังมีบางพื้นที่น้ำท่วมขังเล็กน้อย
2.จ.ระยอง มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ บริเวณต.หนองบัว อ.บ้านค่าย ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย

#Thaitabloid#สำนักข่าวไทยแทบลอยด์#อุทกภัย