หน้าแรกการเมืองกมธ.กฎหมาย ระดมสมอง 40 องค์กรแก้ปัญหา บังคับใช้กม.กับคนพลัดถิ่น

กมธ.กฎหมาย ระดมสมอง 40 องค์กรแก้ปัญหา บังคับใช้กม.กับคนพลัดถิ่น

กมธ.กฎหมายฯ เปิดเวทีระดม 40 องค์กร ร่วมศึกษาความเห็นข้อบังคับใช้กฎหมายคนเข้าเมืองกรณีการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ รับมาตรฐานสากล

นายองอาจ วงษ์ประยูร สส.สระบุรี เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)ในฐานะรองประธานกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า คณะ กมธ.ได้จัดงานสัมมนา เรื่องการบังคับใช้กฎหมายคนเข้าเมือง ผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายคนเข้าเมือง และแนวทางในการแก้ไขกฎหมายคนเข้าเมือง กรณีการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมาธิการฯ คณะทูตานุทูต ส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายคนเข้าเมือง อาทิ ตำรวจ มหาดไทย องค์กรระหว่างประเทศ ภาคประชาชน องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน นักวิชาการ รวมทั้งตัวแทนผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ รวม 40 หน่วยงาน เพื่อร่วมกันพิจารณาศึกษาปัญหา และทางออก เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล

นายองอาจ กล่าวต่อว่า คณะ กมธ.เห็นความสำคัญของเรื่องดังกล่าว จึงมีการตั้งคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาหาแนวทางการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนต่อการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ เพื่อพิจารณาศึกษาปัญหานี้อย่างจริงจัง ซึ่งประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศทางผ่าน ที่พักพิงชั่วคราว และเป็นที่แสวงหาโอกาสในการทำงานของคนที่ไม่มีสัญชาติไทยหลายกลุ่ม รวมถึงคนที่ยังไม่มีสัญชาติ แม้จะอยู่ในประเทศไทยมานาน ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้การควบคุมจัดการของประเทศไทยผ่านกฎหมายฉบับเดียว คือ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ที่บังคับใช้มานานเป็นเวลา 45 ปีแล้ว ไม่เท่าทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน

นอกจากนี้ โจทย์ท้าทายสำคัญที่ประเทศไทยจะต้องเผชิญต่อไป คือ การขาดกำลังแรงงานจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้ต้องพึ่งพาแรงงานข้ามชาติ ดังนั้น ข้อเสนอในเรื่องการโยกย้ายถิ่นเพื่อทดแทนประชากรที่ลดลง จึงเป็นข้อเสนอที่ควรถูกหยิบยกมาทบทวน และถึงเวลาที่จะต้องมีการแก้ไขกฎหมายให้ทันสถานการณ์และการยอมรับในต่างประเทศ

สำหรับการสัมมนาในครั้งนี้ มีการนำเสนอรายงานเรื่องปัญหาและแนวทางการแก้ไขแบบยั่งยืนเกี่ยวกับการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ โดยมีข้อสังเกตต่อการบังคับใช้กฎหมายคนเข้าเมือง การอภิปรายกลุ่มเรื่องพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และการบังคับใช้ ผลกระทบ ข้อท้าทาย และการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางกฎหมาย สำหรับการบริหารจัดการผู้อพยพโยกย้ายถิ่นฐาน และเรื่องการปฏิรูปกฎหมายคนเข้าเมืองเพื่อตอบโจทย์ประเทศไทยภายใต้บริบทสังคมสูงอายุ ข้อเสนอจากภาคส่วนต่าง ๆ ต่อการแก้ไขกฎหมายคนเข้าเมือง และการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนประชากร

A boat crammed with some 350 people, including children, was drifting off the coast of Thailand and Malaysia. The hundreds of people, believed to be from Myanmar or Bangladesh, have been at sea for “many days”, possibly more than two months. Their crew abandoned them several days ago. The passengers are without food and water and are in urgent need of medical care. Photos showed stressed people on the crowded boat, including children and women.

ทั้งนี้ การโยกย้ายถิ่นฐานที่ไม่ปกติหมายถึง คนต่างด้าวทุกคนที่เดินทางจากประเทศหนึ่งไป ยังประเทศหนึ่ง โดยไม่ได้ผ่านช่องทางของการเข้าเมืองที่ถูกต้อง ซึ่งแบ่งออกเป็นสามกลุ่มด้วยกัน คือ ผู้ลักลอบเข้าเมืองมาทํางาน ผู้เป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติ และผู้ผลัดถิ่นลี้ภัยจากสงคราม

RELATED ARTICLES
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img