นักข่าวเวียดนามเยือนไทยเชื่อมความสัมพันธ์สื่อมวลชนทั้ง2ประเทศ

816

นักข่าวเวียดนามเยือนไทยภายใต้การเชื่อมความสัมพันธ์กับสื่อมวลชนไทย-เวียดนาม ศึกษาดูงานสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสยกย่องเป็นสื่อสาธารณะแท้จริง พร้อมทั้งงานกลุ่มธุรกิจกัลฟ์ตอบโจทย์พลังานยั่งยืนสู่อนาคต

นายชำนาญ ไชยศร อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ และนายสมศักดิ์ ศรีกำเหนิด (บ้านเมืองออนไลน์) เหรัญญิก สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้นำคณะสมาคมนักข่าวเวียดนามนำโดยนายเหงียน ดึ๊ก ลี (NGUYEN DUC LOI) รองประธานสมาคมนักข่าวเวียดนาม เดินทางเข้าเยี่ยมชมศึกษาดูสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS) ภายใต้กิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์กับสื่อมวลไทย-เวียดนาม ตามคำเชิญของสมาคมนักข่าวนักหนังสทิพิมพ์แห่งประเทศไทย ในระหว่างวันที่ 21-25 พ.ย. 2566 เป็นเวลา 5 วัน เพื่อยกระดับองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างสื่อมวลชนไทย-สื่อมวลชนเวียดนาม นำไปใช้ในการรายงานข่าวอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้องตามหลักวิชาชีพ เพื่อประโยชน์สาธารณะต่อไป


การเยี่ยมชมศึกษาดูสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS) มีนายอนุพงษ์ ไชยฤทธิ์ ผอ. สสท. ด้านเทคโนโลยี การกระจายสื่อ และน.ส.กนกพรประสิทธิ์ผล ผอ.สำนักสื่อดิจิทัล องค์การกระจายเสียง และแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย(ส.ส.ท.) ให้การต้อนรับนำเยี่ยมชมกระบวนการทำงาน และการผลิตสื่อในแพลตฟอร์มรูปแบบต่างๆ โดยนายอนุพงษ์ กล่าวว่า Thai PBS เป็นสื่อสาธารณะแห่งแรกในประเทศไทย และในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดตั้งตาม พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียง และแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะมีแหล่งทุนสําคัญ คือ ภาษีที่เก็บจากสุรา และยาสูบปีละไม่เกิน 2 พันล้านบาท โดยรูปแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการจัดเก็บในแต่ละประเทศ เพื่อให้เป็นสื่อสาธารณะที่ยึดหลักการมีอิสระ ไม่ควรพึ่งพาเงินทุนจากภาครัฐ และทุนเอกชน อันเป็นการไม่ขัดวัตถุประสงค์ของสื่อสาธารณะให้ประชาชนได้ผลประโยชน์สูงสุดในฐานะเจ้าของสื่อสาธารณะ เริ่มดำเนินการออกอากาศมาเป็นเวลา 16 ปี ดําเนินการทางด้านวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ รวมถึงสื่อในระบบอื่น และเทคโนโลยีทันสมัย ที่มีส่วนสนับสนุนการพัฒนาสังคมที่มีคุณภาพ และมีคุณธรรมบนฐานของความเป็นไทย ผ่านบริการข่าวสารเที่ยงตรง มีความรอบด้าน และสมดุล ตามจรรยาบรรณและจริยธรรมสื่อสาธารณะ และทําหน้าที่เป็นกระบอกเสียงให้กับประชาชนในฐานะเป็นพลเมืองไม่ใช่ผู้บริโภค


โดยมีการบริการวิทยุกระจายเสียงในรูปแบบออนไลน์ทุกแพลตฟอร์ม และสื่อเสียง(พอดคาสต์) ที่สามารถรับฟังได้ในรูปแบบการออกอากาศสดทางวิทยุชุมชนทั่วประเทศที่เข้าร่วมเป็นเครือข่ายกับวิทยุไทยพีบีเอสทั้งสิ้นกว่า 200 สถานี ส่วนการบริหารแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ กรุงเทพฯ 1 แห่ง และศูนย์ข่าว 3 แห่งที่จังหวัดขอนแก่น เชียงใหม่ และอำเภอหาดใหญ่ จ.สงขลา ในส่วนความแตกต่างจากสื่อเอกชน คือ Thai PBS มีการสร้างนักข่าวพลเมืองให้มีความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นักข่าวพลเมืองเข้าถึงการสร้างสรรค์เนื้อหา และให้คนรุ่นใหม่เข้ามา เป็นนักข่าวพลเมืองได้ง่ายขึ้น


น.ส.กนกพร กล่าวเสริมว่า จากการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเว็บไซต์ ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของเนื้อหาจากไทยพีบีเอสที่มีรูปแบบหลากหลายและหมวดหมู่มากขึ้น ไทยพีบีเอส ได้การปรับเปลี่ยนดีไซน์ของเว็บไซต์ไทยพีบีเอส เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้อย่างครอบคลุมประกอบด้วย News & Program ข่าวสารและรายการคุณภาพน่าเชื่อถือ, Podcast รายการสื่อเสียงที่ต่อยอดและเสริมสร้างสังคม, ALTV ช่อง 4 ทีวีเรียนสนุกสำหรับทุกคน, VIPA วิดีโอสตรีมมิ่งสัญชาติไทย ศูนย์รวมคอนเทนต์ของคนช่างเลือก, Thai PBS World แพลตฟอร์มรวบรวมข่าวภาษาอังกฤษ เที่ยงตรง ทันโลก


นายเหงียน ดึ๊ก ลี กล่าวว่า รู้สึกยินดีที่ได้เข้ามาเยี่ยมชมสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ซึ่งถือเป็นสถานีโทรทัศน์ของประชาชนอย่างแท้จริง เนื่องจากไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเงินจากภาครัฐ และเอกชน แต่ได้รับเงินจากสนับสนุนจากการเก็บภาษี บุหรี่ เหล้า ไม่ต้องมีแรงกดดัน ทำให้เป็นประโยชน์สูงสุดของประชาชนสูงสุด
จริงๆแล้วสถานการณ์สื่อในเวียดนามไม่แตกต่างจากสื่อในไทย เนื่องจากสื่อออนไลน์เข้ามามีบทบาทอย่างมากจนสื่อดังเดิมอย่างทีวี วิทยุ และหนังสือพิมพ์ ต้องเผชิญปัญหาเรื่องรายได้ลดลงกว่า70% ดังนั้นสำนักข่าวต่างๆ มีการปรับเปลี่ยนการออกอากาศผ่านทางสื่อออนไลน์ทุกแพลตฟอร์มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Facebook Twitter ติ๊กต๊อก เพื่อให้ครอบคลุมถึงกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้สื่อโซเชียลฯ ยังสามารถแสดงความคิเห็นเป็นอิสระในการเสนอส่งผลให้เกิดปัญหาเรื่องข่าวจริง ข่าวปลอม บนโลกโซเชียลฯเป็นอย่างมาก ขณะที่สื่อหลักดั่งเดิมยังมถูกตรวจสอบให้อยู่บนพื้นที่ของหลักจริยธรรมวิชาชีพสื่อ และการออกอากาศต้องได้รับอนุญาตจากภาครัฐด้วย


จากนั้นคณะเดินทางไปเยี่ยมชมโรงไฟฟ้ากัลฟ์ บีพี ของกลุ่มบริษัทกัลฟ์ ในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีคุณสัมพันธ์ ภู่เจริญ ผู้จัดการโรงไฟฟ้ากล่าวต้อนรับคณะ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าว่า โรงไฟฟ้ากัลฟ์ บีพี เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (Small Power Producer หรือ SPP) มีกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งจำนวน 127 เมกะวัตต์ และจ่ายไฟฟ้าและไอน้ำให้แก่ลูกค้าอุตสาหกรรม และกฟผ.
สำหรับภาพรวมธุรกิจของกลุ่มบริษัทกัลฟ์นั้น แบ่งเป็น 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจพลังงาน ทั้งผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ และพลังงานหมุนเวียน ธุรกิจก๊าซ และธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ไม่เท่านั้นกัลฟ์เล็งเห็นถึงการเติบโตของโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในประเทศไทย จึงลงทุนในธุรกิจด้านนี้มากขึ้น เพื่อตอบรับกระแสของการดำเนินธุรกิจในอนาคต


นอกจากนี้กัลฟ์ยังตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงตั้งเป้าหมายที่จะลดการปล่อยคาร์บอนต่อหนึ่งหน่วยของการผลิต (Carbon Intensity) ให้ได้ 25% ภายในปี 2573 เมื่อเทียบกับปีฐานปี 2562 และเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนให้ไม่น้อยกว่า 40% ของกำลังการผลิตทั้งหมดภายในปี 2578 ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม กัลฟ์เน้นพัฒนา 5 ด้านผ่านการทำกิจกรรม CSR ได้แก่ ด้านการศึกษา, สาธารณสุข, สิ่งแวดล้อม, คุณภาพชีวิตและกีฬา สะท้อนถึงการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมอย่างยั่งยืน

#Thaitabloid #สำนักข่าวไทยแทบลอยด์