“พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น.”นายตำรวจตงฉิน  พร้อมกูรูด้านกฎหมาย ตบเท้าพรึ่บ…!!!  ร่วมลงชิงสมัคร ป.ป.ช.!!

20411

เมื่อวันที่ 7 พ.ย.2566 ผู้สื่อข่าวไทยแทบลอยด์รายงานว่า   ตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (แทน พลเอก บุณยวัจน์ เครือหงส์ และนายณัฐจักร ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา) ระหว่างวันที่ 24 ตุลาคม – 7 พฤศจิกายน 2566 ที่จุดรับสมัคร บริเวณห้องโถง ชั้น 1 อาคารรัฐสภา (ฝั่งวุฒิสภา) นั้น มีผลการรับสมัคร ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 ดังนี้ ผลการรับสมัครแทน พลเอก บุณยวัจน์ เครือหงส์ มีผู้สมัครรายแรก มีผู้สมัครแล้วรวม 9 คน ดังนี้ 1. นายประจวบ ตันตินนท์ อายุ 64 ปี ผู้สอบบัญชีอิสระ และอดีตผู้บริหารบริษัทมหาชน (สมัครคุณสมบัติตามมาตรา 9 วรรคสอง (6) 2. นายวิรุฬห์  ฉันท์ธนนันท์ อายุ 64 ปี อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด (สมัครตามคุณสมบัติมาตรา 9 วรรคสอง (1) 3. นายภัทรศักดิ์ วรรณแสง อายุ 65 ปี อดีตรองประธานศาลฎีกา (สมัครตามคุณสมบัติมาตรา 9 วรรคสอง (1)) 4. นายวิฑูลรย์ ศิริวิโรจน์ อายุ 58 ปี ทนายความและที่ปรึกษากฎหมาย (สมัครตามคุณสมบัติมาตรา 9 วรรคสอง (5)) 5. นายปรีชา บุญโรจน์พงศ์ อายุ 64 ปี ผู้พิพากษาศาลฎีกา อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานภาค 9 และอดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 9 (สมัครตามคุณสมบัติมาตรา 9 วรรคสอง (1) 6. นายประหยัด เสนวิรัช อายุ 65 ปี ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายประหยัดทนายความ และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ประจำคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตประพฤติมิชอบและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา (สมัครคุณสมบัติตามมาตรา 9 วรรคสอง (5) 7. พลตำรวจโท ธิติ แสงสว่าง อายุ 58 ปี ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (สมัครคุณสมบัติตามมาตรา 9 วรรคสอง (2) 8. นายธัญญา เนติธรรมกุล อายุ 60 ปี อดีตอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล (สมัครคุณสมบัติตามมาตรา 9 วรรคสอง (2) 9. นายชัชชม อรรฆภิญญ์ อายุ 67 ปี อดีตรองอัยการสูงสุด (สมัครคุณสมบัติตามมาตรา 9 วรรคสอง (1) . ผลการรับสมัครแทน นายณัฐจักร ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา โดยเมื่อวานนี้(6 พ.ย.) มีผู้สมัครแล้วรวม 5 คน   ดังนี้

(1) นายปรีชา พงษ์พานิช อายุ 65 ปี อดีตอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีปราบปรามการทุจริตและสำนักงานคดีศาลสูงภาค 1 สำนักงานอัยการสูงสุด (สมัครคุณสมบัติตามมาตรา 9 วรรคสอง (1)

(2) นายประจวบ ตันตินนท์ อายุ 64 ปี ผู้สอบบัญชีอิสระ และอดีตผู้บริหารบริษัท มหาชน (สมัครคุณสมบัติตามมาตรา 9 วรรคสอง (6)

(3)​ นายภัทรศักดิ์ วรรณแสง อายุ 65 ปี อดีตรองประธานศาลฎีกา (สมัครตามคุณสมบัติมาตรา 9 วรรคสอง (1)

(4) นายปรีชา บุญโรจน์พงศ์ อายุ 64 ปี ผู้พิพากษาศาลฎีกา อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานภาค 9 และอดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 9 (สมัครตามคุณสมบัติมาตรา 9 วรรคสอง (1)

(5)​ นายประหยัด เสนวิรัช อายุ 65 ปี ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายประหยัดทนายความ และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ประจำคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตประพฤติมิชอบและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา (สมัครคุณสมบัติตามมาตรา 9 วรรคสอง (5))

6. พลตำรวจโท ธิติ แสงสว่าง อายุ 58 ปี ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (สมัครคุณสมบัติตามมาตรา 9 วรรคสอง (2)

7. นายชัชชม อรรฆภิญญ์ อายุ 67 ปี อดีตรองอัยการสูงสุด (สมัครคุณสมบัติตามมาตรา 9 วรรคสอง (1)

8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภูมิศิษฐ์ มหาเวสน์ศิริ อายุ 60 ปี อดีตรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท บริการเชื้อเพลิง การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (สมัครคุณสมบัติตามมาตรา 9 วรรคสอง (6)

9. นายวันชัย คงเกษม อายุ 59 ปี ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี (สมัครคุณสมบัติตามมาตรา 9 วรรคสอง (2)

“สำหรับประวัติ”พล.ต.ท.ธิติ เป็น นรต.รุ่น 40 เพื่อนร่วมรุ่น พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร.(กมค.) โดยเป็นที่ทราบกันดีว่า พล.ต.ท.ธิติ เป็นนายตำรวจดาวรุ่งยุคที่ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ให้ความไว้วางใจ ถือเป็นน้องรักคนหนึ่ง โดยเส้นทางรับราชการที่สำคัญ เคยดำรงตำแหน่ง สารวัตรกำลังพล ตร. มีโอกาสขึ้นติดยศ พ.ต.อ. ดำรงตำแหน่ง ผกก.ปอศ. แล้วโยกเป็น รอง ผบก.ปคม. แล้วโยกเป็น รอง ผบก.ปคบ. จากนั้นขยับติดยศ พล.ต.ต. ในตำแหน่ง ผบก.กต.3 จต. แล้วย้ายไปเป็น ผบก.ปคม. เมื่อปี 2557 แล้วปี 2558 โยกเป็น ผบก.ภ.จว.สระบุรี ปี 2559 เป็น ผบก.ภ.จว.สงขลา ปี 2560 ขยับขึ้น รอง ผบช.ภ.1 ปี 2561 โยกเป็น รอง ผบช.ส. ปี 2562 มาเป็น รอง ผบช.น. จากนั้นปี 2563 มาเป็น ผบช.ประจำ ตร. ทำหน้าที่ประสานงานนายกรัฐมนตรี ทำให้มีโอกาสใกล้ชิดกับ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จนเป็นที่ไว้วางใจ

ต่อมาปี 2564 ด้วยผลงานที่ได้ชื่อว่ามีความตงฉิน ยอมหักไม่ยอมงอ และไม่ยอมรามือให้นายตำรวจนอกรีต จึงได้รับความไว้วางใจจาก พล.ต.อ.สุวัฒน์ ผบ.ตร. ส่งไปนั่งรักษาการ ผบก.ภ.จว.ชลบุรี ร่วมสางคดีบ่อนหลงจู๊สมชาย ผู้มีอิทธิพลในภาคตะวันออก ก่อนที่ ปลายปี 2564 จากผลงานที่ปรากฏ ทำให้ได้มานั่งเป็น ผบช.ภ.2 ครองตำแหน่ง 1 ปี กระทั่งได้รับความไว้วางใจ โยกข้ามห้วยมานั่ง เก้าอี้ ผบช.น. ในปี 2565 ด้วยผลงานที่เข้มงวดตามนโยบายไม่อ่อนข้อให้กับผู้มีอิทธิพล หรือธุรกิจสีเทา และขณะนี้กำลังเริ่มมีม็อบรวมตัวต่อต้านรัฐบาลอีกครั้ง จึงต้องดึง มาช่วยดูแลความเรียบร้อยในเมืองหลวงในตำแหน่ง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล จนถึงปัจุบัน

สำหรับ ความเป็นมาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

          จากเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของบรรดานิสิตนักศึกษา นักเรียน และประชาชนหลากหลายอาชีพ ในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 เป็นผลให้ในสมัยรัฐบาล นายสัญญา_ธรรมศักดิ์ ได้จัดตั้ง “คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (ป.ป.ป.)” ขึ้น โดยอาศัยอำนาจตามความใน ข้อ 9(6) แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ภายหลังได้ปรับปรุงคณะกรรมการ ป.ป.ป.ใหม่ โดยการประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2518 และตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515(ฉบับที่10) พ.ศ. 2518 จัดตั้งสำนักงานป.ป.ป. สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีขึ้น จนกระทั่งต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2540 บัญญัติให้มี “คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ” ขึ้นเป็นครั้งแรก กำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ไต่สวนข้อเท็จจริง และทำความเห็นในกรณีที่มีการร้องขอให้ถอดถอนเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับสูงออกจากตำแหน่ง หรือดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ไต่สวนวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ พร้อมกับให้มี “สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ” เป็นหน่วยงานธุรการที่มีอิสะในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการอื่น ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้ปรับปรุงโครงสร้างและกลไกการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ การตรวจสอบการทุจริตเจ้าหน้าที่ของรัฐ และแก้ไขการจัดตั้งคณะกรรมการให้มีความเป็นกลางและอิสระมากขึ้น จนกระทั่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ยังคงบัญญัติหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในการจัดให้มีมาตรการหรือแนวทางที่จะทำให้การปฏิบัติหน้าที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เกิดความรวดเร็ว สุจริตและเที่ยงธรรม รวมทั้งได้เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ตลอดจนวาระการดำรงตำแหน่งไว้ อีกทั้งได้บัญญัติให้รัฐมีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน และให้ความรู้แก่ประชาชนถึงอันตรายที่เกิดจากการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน และจัดให้มีมาตรการและกลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างเข้มงวด องค์ประกอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

          คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประกอบด้วย กรรมการจำนวน 9 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากผู้ซึ่งได้รับการสรรหาโดยคณะกรรมการสรรหา คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปี นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

#Thaitabloid #สำนักข่าวไทยแทบลอยด์