รู้ก่อนใครระบบ “KYC” ยืนยันตัวตน สำหรับลงทะเบียนรับเงินดิจิทัล 10,000 บาท!!!

1924

วันนี้ IT Talk จะพามาทำความรู้จักระบบ KYC คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร หลังจากที่รัฐบาลอัปเดตความคืบหน้าของโครงการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยจะเตรียมเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนในเร็วๆ นี้ แต่จะต้องยืนยันตัวตนผ่านระบบ “KYC” ให้เสร็จเรียบร้อยก่อน เพื่อรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนตัว และป้องกันความเสี่ยงต่างๆ ในการทำธุรกรรมการเงิน

“KYC” คือระบบยืนยันตัวตนของลูกค้าหรือผู้ใช้งาน ซึ่ง KYC ย่อมาจากคำว่า Know Your Customer หมายถึง “การทำความรู้จักลูกค้า” ถือเป็นขั้นตอนของธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ ที่นำมาใช้ในการตรวจสอบตัวตนของผู้ใช้งาน รวมไปถึงเอกสารทางราชการต่างๆ เพื่อไม่ให้มีการสวมรอย แอบอ้างตัวตน หรือปลอมแปลงทำธุรกรรมทางการเงินแทนบุคคนอื่น

ทั้งนี้ KYC หรือ Know Your Customer เป็นระบบที่จะช่วยป้องกันการกระทำผิดกฎหมายด้านอาชญากรรมทางการเงิน ตามหลักเกณฑ์ของ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ซึ่งได้กำหนดให้สถาบันการเงิน, ธนาคาร, บริษัทซื้อขายหลักทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของ ก.ล.ต., บริษัทประกันชีวิตและประกันวินาศภัยต่างๆ จะต้องดำเนินการตามขั้นตอน KYC ให้กับลูกค้า เพื่อให้มีการพิสูจน์ตัวตนก่อนเริ่มทำธุรกรรมทางการเงินนั่นเอง

ปัจจุบันการใช้ระบบ KYC : Know Your Customer ยืนยันตัวตน สามารถทำได้ผ่านช่องทางออนไลน์ รวมถึงการเดินทางไปยืนยันตัวตนเองผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร, ตู้เอทีเอ็มยืนยันตัวตน, เครื่องอ่านค่าบัตรสมาร์ทการ์ดรูปแบบต่างๆ โดยแบ่งประเภทการทำ KYC ได้ 2 ประเภท ดังนี้

(1) ยืนยันตัวตน KYC แบบ Online (E-KYC)
วิธีนี้เราสามารถทำเองได้โดยไม่ต้องเดินทางไปถึงธนาคารหรือสถาบันการเงิน สามารถดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ได้เลย แต่มักจะต้องให้ข้อมูลด้านชีวมิติ (Biometric) เช่น ถ่ายรูปใบหน้า หรือสแกนลายนิ้วมือ

(2) ยืนยันตัวตน KYC แบบ Face to Face
วิธีนี้เราจะต้องไปแสดงตนแบบพบหน้ากับเจ้าหน้าที่ธนาคารหรือสถาบันการเงิน เพื่อให้ตรวจสอบบัตรประชาชนผ่านเครื่อง Smart Card Reader รวมถึงพิสูจน์ตัวตนด้วยขั้นตอนต่างๆ โดยผู้ที่ทำธุรกรรมต้องเดินทางไปเอง

จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท

คำถามมากมายที่เป็นประเด็นถกเถียงกันต่อเนื่องสำหรับเงินการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ว่าคนที่เคยร่วมโครงการกับรัฐบาลมาก่อนหน้านี้ กับคนที่ไม่เคยเข้าร่วมโครงการ ยังจะต้องยืนยันตัวตนในระบบใหม่หรือไม่วันนี้ IT Talk มีคำตอบให้ครับ

ล่าสุด นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท กล่าวถึงหลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท การรับสิทธิ์ในโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท หรือดิจิทัลวอลเล็ต ไม่มีการลงทะเบียนแต่อย่างใด จะมีแต่การยืนยันตัวตนเพื่อขอรับสิทธิซึ่งเป็นไปตามกฎหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

อีกทั้งยังได้แบ่งกลุ่มผู้ที่จะได้สิทธิ์ออกเป็น 2 กลุ่มไว้ชัดเจน คือ กลุ่มคนที่เคยเข้าร่วมโครงการรัฐไว้ก่อนหน้านี้กว่า 40 ล้านคน ไม่ต้องยืนยันตัวตนใหม่ สามารถเริ่มใช้จ่ายผ่านโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาทได้เลย ส่วนอีก 10 ล้านคน เป็นกลุ่มคนที่ไม่เคยเข้าร่วมโครงการรัฐมาก่อน มีอายุไม่ถึง 18 ปี จะต้องยืนยันตัวตนในขั้นตอน KYC (Know Your Customer) ผ่านช่องทางสถาบันการเงินของรัฐ และใช้บัตรประชาชนผ่านกลไกของรัฐที่กำหนดและหากมีข้อมูลดีๆสาระดีๆแบบนี้ ทาง คอลัมน์ IT Talk ก็จะนำมาฝากกันอีกแน่นอนครับ