ผบช.สกบ. แจงโรงงานผลิตกระสุน ตร. จัดซื้อจัดจ้างเป็นไปตามระเบียบกฎหมาย ไม่มีการฮั้วประมูล ไม่มีบริษัทไหนได้งานมากกว่า 1 แห่ง ยืนยัน กำลังผลิตสรรพวุธไม่เพียงพอ จึงต้องสร้างโรงงานผลิตกระสุน ให้ตำรวจใช้ฝึกเพื่อเกิดความชำนาญทางยุทธวิธี ทั้งยังช่วยประหยัดงบกว่าปีละ 64 ล้านบาทหากต้องซื้อตามท้องตลาด
วันนี้ (12 ต.ค.66) พล.ต.ท. กฤษฎา สุรเชษฐพงษ์ ผู้บัญชาการสำนักงานส่งกำลังบำรุง (ผบช.สกบ.) ได้ชี้แจงถึงกรณีประเด็นการก่อสร้างโรงงานผลิตกระสุนของสํานักงานตํารวจแห่งชาติว่า “จากสถานการณ์การเกิดอาชญากรรมที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ทําให้ เจ้าหน้าที่ตํารวจต้องเผชิญเหตุและสถานการณ์เสี่ยงภัย สํานักงานตํารวจแห่งชาติ เล็งเห็นถึงความสําคัญ ในการเพิ่ม ศักยภาพของข้าราชการตํารวจในการทําหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของ ประชาชน พร้อมที่จะเผชิญกับเหตุการณ์รุนแรงซึ่งหน้าได้อยู่เสมอ ดังนั้น การเตรียมความพร้อม ด้านการฝึกซ้อมยิงปืน การใช้อาวุธปืนประจํากายให้เกิดทักษะความชํานาญทั้งทางยุทธวิธีและการสร้างความเชื่อมั่นในการใช้อาวุธปืนจริงใน สถานการณ์ต่าง ๆ
ที่ผ่านมา สํานักงานตํารวจแห่งชาติมีการจัดซื้อกระสุนปืน จากภายในประเทศและต่างประเทศ มีการจัดหาจากงบประมาณประจําปีเป็นส่วนใหญ่ และผลิตเองโดยกองสรรพาวุธ สํานักงานส่งกําลังบํารุง มีกําลังการผลิตประมาณปีละ 250,000 นัด พบว่ามีปัญหาการขาดแคลนกระสุนปืน ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานจริงและใช้ในการฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ เฉลี่ยเพียงปีละ 6 นัด/คน เท่านั้น ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาให้มีกระสุนปืนใช้งานอย่าง เพียงพอ และสามารถพึ่งพาตนเองได้
สํานักงานตํารวจแห่งชาติ จึงได้จัดทําโครงการสร้างโรงงานผลิตกระสุนประจํา ศูนย์ฝึกอบรมและโรงเรียนตํารวจทั่วประเทศ โดยได้รับความเห็นชอบและอนุมัติจากสํานักงบประมาณ ตามกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง เป็นเงินจํานวน 186,402,000 บาท ตามเหตุผลความจําเป็นดังกล่าวข้างต้น เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนในการผลิตกระสุนจากศูนย์ฝึกฯ จํานวน 12 แห่ง มีต้นทุนการผลิตกระสุนขนาด 9 มิลลิเมตร เฉลี่ยนัดละ 15 บาท แต่ถ้าหากซื้อกระสุนในท้องตลาด มีราคาเฉลี่ยนัดละ 24 บาท ซึ่งจะทําให้ประหยัดงบประมาณ ได้ถึง 64,800,000 บาทต่อปี
กรณีการสร้างโรงงานผลิตกระสุนปืน สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สามารถดําเนินการกิจการโรงงานผลิตอาวุธได้ ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตต่อรัฐมนตรี ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.โรงงานผลิตอาวุธของเอกชน พ.ศ.2550 อีกทั้งสามารถทํา ซื้อ มีใช้ สั่ง หรือนําเข้าซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนได้ ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอ อนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ ตามมาตรา 5 (1) แห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 สามารถสั่งเข้ามา นําเข้ามา ผลิต หรือมีซึ่งยุทธภัณฑ์ได้ ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตจากปลัดกระทรวงกลาโหม ตามมาตรา 6 (1) แห่ง พ.ร.บ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ.2530 และตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 มาตรา 4 พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่โรงงาน ของทางราชการที่ดําเนินการโดยทางราชการ เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศฯ
ขั้นตอนการดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องผลิตกระสุนและอุปกรณ์ประกอบ พร้อมอาคารผลิตกระสุน สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ได้โอนงบประมาณแห่งละ 12 ล้านบาท รวม 12 แห่ง รวมเป็นเงิน 144,000,000 บาท เพื่อให้หน่วยต่างๆ ไปดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างตาม พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฯ พ.ศ.2560 และระเบียบที่เกี่ยวข้อง ส่วนเครื่องผลิตกระสุนปืน จัดหาโดย กองสรรพาวุธ สํานักงานส่งกําลังบํารุง ในราคาเครื่องละ 3,191,100 บาท จํานวน 12 เครื่อง และเครื่องมือตรวจคุณภาพกระสุน ราคา 328,900 บาท จํานวน 12 เครื่อง รวมเป็นเงิน 42,240,000 บาท ผลการดําเนินการจัดหาอาคารผลิตกระสุน พบว่าบริษัทคู่สัญญาทุกแห่งได้มีการส่งงานและ ตรวจรับงานเรียบร้อยแล้ว โดยไม่มีบริษัทที่ได้งานมากกว่า 1 แห่ง โดยดําเนินการเป็นไปตาม พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฯ และไม่มีการฮั้วประมูลกัน แต่อย่างใด ซึ่งขณะนี้ได้ใช้โรงงานผลิตกระสุนสําหรับฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของแต่ละหน่วยให้เกิดความชํานาญ โดยใช้วัตถุดิบจากกองสรรพาวุธไปพลางก่อน ระหว่างรองบประมาณประจําปี 2567
#Thaitabloid #สำนักข่าวไทยแทบลอยด์