หน้าแรกการเมือง'กรณ์' หวด 'ปตท.' กว้านซื้อบริษัทพลังงาน-จ่อสร้างอำนาจผูกขาด

‘กรณ์’ หวด ‘ปตท.’ กว้านซื้อบริษัทพลังงาน-จ่อสร้างอำนาจผูกขาด

นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊ค กล่าวถึงบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) โดยระบุว่า “ปตท. กับปัญหาการผูกขาดในประเทศไทย

ทันที่ที่ผมเห็นข่าวบริษัทลูกปตท. ซื้อหุ้นใหญ่บริษัทผลิตไฟฟ้า Glow ผมคิดทันทีว่า ‘เอาอีกแล้ว’

‘เอาอีกแล้ว’ ที่ปตท. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจผู้มีอำนาจผูกขาดในฐานะผู้ขายก๊าซจะมาทำธุรกิจแข่งกับเอกชน

ในอนาคตบริษัทผลิตไฟฟ้าที่ต้องใช้ก๊าซเจ้าอื่นเขาไม่เสียเปรียบปตท. แย่รึ?

ในอดีตปตท. ก็เคยกว้านซื้อปั๊มจากคู่แข่งทำให้ประชาชนมีทางเลือกน้อยลง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ชาวบ้านข้องใจเรื่องราคานํ้ามันในช่วงที่ผ่านมา

ปตท. เป็นบริษัทของรัฐ จึงมีประเด็นเรื่อง’รัฐธรรมนูญ’ ที่ต้องพิจารณา ซึ่งเป็นประเด็นที่ไม่เคยมีใครใส่ใจเท่าทีควร ทั้งๆที่รัฐธรรมนูญเขียนไว้ชัดห้ามรัฐทำธุรกิจแข่งกับเอกชน ลองอ่านดูครับ

“มาตรา ๗๕ รัฐพึงจัดระบบเศรษฐกิจให้ประชาชนมีโอกาสได้รับประโยชน์จากความเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจไปพร้อมกันอย่างท่ัวถึง เป็นธรรม และยั่งยืน สามารถพึ่งพาตนเองได้ตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ขจัดการผูกขาดทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรม และพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน ทางเศรษฐกิจของประชาชนและประเทศ
รัฐต้องไม่ประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่กรณีที่มีความจําเป็น เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ การรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม การจัดให้มีสาธารณูปโภค หรือการจัดทําบริการสาธารณะ”

หากพูดถึงเรื่องรัฐทำธุรกิจแข่งกับเอกชนเราอาจต้องศึกษาแม้แต่การเปิดร้านกาแฟโดยรัฐวิสาหกิจ ซึ่งการที่ปตท. เปิด Amazon ตามปั๊มนํ้ามันของตนเองเราอาจจะมองว่าเป็นเรื่องที่รับได้ (และกาแฟก็อร่อยดี ราคาก็ไม่แพง) แต่ระยะหลังเริ่มมีการเปิดร้าน Amazon นอกปั๊มอย่างแพร่หลายแล้ว ซึ่งปตท. ได้เปรียบร้านกาแฟทั่วไปด้านกำลังทุนแน่นอน

ทั้งหมดไม่เคยเป็นปัญหาเพราะไม่มีใครร้องเรียน และอีกอย่างหนึ่งก็คือผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มีความพึงพอใจกับกาแฟอเมซอนที่รสชาติดี และวันนี้ก็ยังมีร้านกาแฟอื่น (นอกปั๊ม)ให้เลือก

แต่หลักการที่ห้ามไม่ให้รัฐแข่งกับเอกชนเป็นหลักการที่ถูกต้อง

ปตท. ไม่ได้เป็นกรณีเดียวที่รัฐวิสาหกิจแข่งขันกับเอกชน ยกตัวอย่างกรณีธนาคารกรุงไทย ซึ่งแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์อื่นๆ แต่เราก็ไม่รู้สึกเดือดร้อน เพราะเราสามารถเลือกใช้บริการธนาคารของเอกชนได้ กรุงไทยไม่ได้มีอำนาจผูกขาดจึงไม่มีผลเสี่ยงต่อประชาชนมากเท่ากรณีปตท.

มีบางคนบอกว่าการให้รัฐวิสาหกิจในบทบาทเช่นนี้คือการใช้รัฐวิสาหกิจทอนอำนาจผูกขาดของทุนใหญ่เอกชน ผมยอมรับว่าประเด็นนี้มีเหตุผลในบางกรณี(เช่นธนาคารของรัฐที่ช่วยผู้มีรายได้น้อย) แต่จริงๆแล้วการแก้ปัญหาที่ถูกต้องคือการปิดช่องทางการผูกขาดโดยเอกชน ด้วยการช่วยให้เอกชนเจ้าอื่นมีโอกาสแข่งขัน มากกว่าที่จะมาบิดเบือนกลไกตลาดเพิ่มเติมด้วยการใช้ทุนรัฐ เพราะหากแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้ ผู้ประกอบการขนาดเล็กขนาดกลางก็จะไม่มีโอกาสอยู่ดี

โดยสรุป ผมเชื่อว่าเราต้องป้องกันไม่ให้หน่วยงานรัฐบีบพื้นที่ของเอกชน และผลักดันนโยบายที่ลดการผูกขาดโดยทั้งรัฐและเอกชน เพราะเมื่อเกิดการผูกขาด (ไม่ว่าโดยรัฐหรือเอกชน) ผู้เสียประโยชน์คือประชาชน

ส่วนกรณีปตท. ซื้อ Glow คงต้องขึ้นกับรัฐบาลนี้พิจารณา นอกจากจะมีคู่แข่งยื่นร้องเรียนศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งคงไม่มี เพราะผู้ประกอบการทุกคนเกรงใจ ปตท.”

https://www.facebook.com/KornChatikavanijDP/posts/10156503192354740


 

RELATED ARTICLES

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img