ศาลฯมีคำสั่ง ยกฟ้องคดีนายอัจฉริยะ เป็นโจทย์ฟ้อง เจ้าหน้าตำรวจคณะทำงานคดี แตงโม รวม 48 นายไม่ได้เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 157
คำพิพากษาคดีนายอัจฉริยะ ฟ้องพลตำรวจตรีธวัชชัย นาคฤทธิ์ ที่ 1 กับพวกรวม 48 คน จำเลย ข้อหาความผิดต่อเจ้าพนักงาน, ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ, ความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม, ความผิด
ต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม (ชั้นตรวจฟ้อง)
วันนี้ (6 มิถุนายน 2566 ) เวลา 9.00 นาฬิกา ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษา ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อท .208 /2566คดีหมายเลขแดง ที่ อท 118 /2566 ระหว่าง นายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ โจทก์ พลตำรวจตรีธวัชชัย นาคฤทธิ์ ที่ 1 กับพวกรวม 48 คน จำเลย ในข้อหาข้อหาความผิดต่อเจ้าพนักงาน, ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ,ความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม, ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องว่า
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ถึงที่ 37 เป็นเจ้าพนักงานและเจ้าพนักงานในการยุติธรรม ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนตามคำสั่งตำรวจภูธรภาค 1 และคำสั่งตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี มีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำเลยที่ 48 เป็นเจ้าพนักงาน
ในตำแหน่งแพทย์ สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ มีหน้าที่ทำการซันสูตรพลิกศพร่วมกับ คณะพนักงานสืบสวนสอบสวนดังกล่าว จำเลยที่ 12 ที่ 19’ที่ 38 ถึงที่ 47 เป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงานสอบสวน มีอำนาจหน้าที่สอบสวนตามประมวลกฎหมายวิรีพิจารณาความอาญา ในคดีที่จำเลยที่ 1
ถึงที่ 39 เป็นคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนตามคำสั่งตำรวจภูธรภาค 1 และคำสั่งตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี แจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีต่อโจทก์ ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2565 ถึงวันที่ 1พฤศจิกายน 2565 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยที่ 1 ถึงที่ 48 ร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ รู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาว่า โจทก์ได้มีการกระทำความผิด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และร่วมกันกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใด ๆ ในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบ เพื่อจะช่วยบุคคลหนึ่งบุคคลใดมิให้ต้องรับโทษหรือให้รับโทษน้อยลง
หรือเพื่อจะแกล้งให้โจทก์ ต้องรับโทษหรือรับโทษหนักขึ้น ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 43, 46 , 90, 91, 137, 157 , 173 , 200 พิเคราะห์แล้ว คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า คดีมีมูลเป็นความผิดตามฟ้องหรือไม่
โจทก์บรรยายฟ้องมีข้อความที่เป็นการกล่าวหาจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 48 เป็นเจ้าพนักงานและเจ้าพนักงานในการยุติธรรมในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
ในการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ 200 ว่า จำเลยที่ ถึงที่ 37 เป็นเจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามคำสั่งตำรวจภูธรภาค 1 ที่ 87/2565 หรือคำสั่งตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี ที่ 114 /2565 และที่ 119/2565 ให้เป็นคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน และจำเลยที่ 48 เป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งแพทย์ สถาบันนิติเวซวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ มีหน้าที่ทำการชันสูตรพลิกศพร่วมกับคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน โดยหนังสือของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ข้อมูลและจัดส่งสำเนาคำสั่งตำรวจภูธรภาค 1 ที่ 87/2565 และคำสั่งตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี ที่ 118/2565 และที่ 119/2565 ตามที่โจทก์ชี้ช่องพยานหลักฐานได้ความว่าคำสั่งตำรวจภูธรภาค 1 ที่ 87/2565 และคำสั่งตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี ที่ 114/2565 และที่119 /2565 เป็นคำสั่งมอบหมายให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 37 ปฏิบัติหน้าที่ราชการสืบสวนสอบสวน และรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ เพื่อที่จะทราบ
รายละเอียดแห่งความผิด ทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิดและเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องหรือลงโทษในคดีเกี่ยวกับตามคดีอาญาที่ 234/2565 ของสถานีตำรวจภูธรเมืองนนทบุรี อันเป็นคดีที่เกี่ยวกับนางสาวภัทรธิดา พัชรวีรพงษ์ ตายโดยผิดธรรมชาติ มิได้เป็นคำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการสืบสวนสอบสวน และรวบรวมพยานหลักฐานต่าง ๆ เพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด ทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิดและเพื่อจะเอาตัวโจทก์มาฟ้องหรือลงโทษความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงาน หรือฐานหมิ่นประมาท ทั้งได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดี
ตามคำแถลงของโจทก็ในชั้นตรวจฟ้องว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่ได้มีคำสั่งใดแต่งตั้งหรือมอบหมายให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 37 และที่ 48 แจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่โจทก์ เห็นว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 200 บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่ประสงค์ลงโทษแก่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่โดยตรงตามที่ได้รับมอบหมาย ที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 20 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 37 ร้องทุกข์ดำเนินคดีแกโจทก์กับพวกว่าร่วมกันดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่หรือเพราะได้กระทำการตามหน้าที่ และร่วมกันหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา เป็นคดีอาญาที่ 434/2565 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ถึงที่ 20 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 37 ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่โจทก์ว่าดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่หรือเพราะได้ กระทำการตามหน้าที่ และหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา เป็นคดีอาญาที่ 409/2565 ของสถานีตำรวจนครบาล พหลโยธิน จำเลยที่ 1 ที่ 7 ถึงที่ 9 ที่ 18 และที่ 21 ถึงที่ 36 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 37 ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่โจทก์ว่าดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่หรือเพราะได้กระทำการตามหน้าที่ และหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา เป็นคดีอาญาที่ 422/2565 ของสถานีตำรวจนคร บาลพหลโยธิน
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 36 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 37 ร้องทุกข์ดำเนินคดีแกโจทก์ว่าดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่หรือเพราะได้กระทำการตามหน้าที่ และหมิ่นป ระมาทผู้อื่นโดยการโฆษณาเป็นคดีอาญาที่ 409 /2565 ของสถานีตำรวจนครบาลประชาชื่น เป็นการใช้สิทธิอันเนื่องมาจากกฎหมายบัญญัติความผิดและกำหนดโทษความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 เพื่อคุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน และความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 เพื่อคุ้มครองเกียรติและชื่อเสียงผู้อื่น เมื่อมีการกระทำความผิดทางอาญาเกิดขึ้น บุคคลผู้ได้รับความเสียหายย่อมมีสิทธิในฐานะผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์และย่อมมอบอำนาจให้ผู้อื่นร้องทุกข์แทนตนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4 ),3 ดังนั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่37 และที่ 48 ใช้สิทธิของผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์ตามกฎหมาย ไม่ใช่การปฏิบัติหน้าทีราชการของเจ้าพนักงาน จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ 20
ส่วนที่โจทก์ระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 39 และที่ 48 แจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ทำให้โจทก์เสียหายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และรู้ว่ามิได้มีการกระทำผิดเกิดขึ้น แจ้งข้อความแก่พนักงานสอบสวนว่า ได้มีการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 นั้น ได้ความตามคำร้อง ส่วนที่โจทก์อ้างว่า จำเลยที่ 22 แจ้งความร้องทุกข์ เป็นคดีอาญาที่ 746/2565 ของสถานีตำรวจนครบาลประชาชื่นพหลโยธิน มีข้อความในวันที่ 9 พฤษภาคม 2565 ว่า
“นอกจากนั้นจะเปิดชื่อกุนซือที่เป็นหัวหน้าขบวนการนี้เป็นตำรวจชื่อย่อ ต. เต่า นะครับผม ที่ยังอยู่ในราชการอีกด้วยนะฮะ ซึ่งคนนี้เป็นคนเดียวกับคนที่อยู่เบื้องหลังคุณบอสอยู่วิทยาด้วยนะครับผม ท่านผู้ชมยังจำกันได้นะฮะ ซึ่งเป็นทายาทเครื่องดื่มชูกำลัง กรณีได้มีการขับรถชน เอ่อตำรวจเสียชีวิตอีกด้วยนะครับท่านผู้ชม”
เห็นว่า องค์ประกอบความผิดตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 137 และ 173,ในส่วนของการกระทำคือ การแจ้งความ มีพฤติการณ์ประกอบคือเป็นข้อความเท็จ หมายความว่าเป็นข้อเท็จจริงในอดีตหรือปัจจุบันที่ไม่ตรงต่อความจริง ไมใช่เพียงความเห็นหรือการแปลความในปัญหาข้อกฎหมาย และข้อความถอดบันทึกเสียงของโจทก์เอกสารท้ายคำร้องขอแก้ฟ้องฉบับลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2565 เป็นพยานหลักฐานของโจทก์ได้ความว่า
วันที่ 9 พฤษภาคม 2565 โจทก์กล่าวถ้อยคำที่โรงแรมนนทบุรีพาเลซ โดยการเผยแพร่เป็นคลิปวิดีโอผ่านช่องทางยูทูป มีการเปิดคลิปวิดีโอรายการอื่นประกอบการกล่าวถ้อยคำของโจทก์หลายรายการ มีข้อความ โดยสรุปตรงกับสภาพที่จำเลยที่ 22 พบเห็นมาทำนองเดียวกับที่จำเลยที่ 22 ร้องทุกข์ดำเนินคดีแกโจทก์เป็นคดีอาญาที่ 746 /2565 ของสถานีตำรวจนครบาลประชาชื่นและพหลโยธิน เป็นสาระสำคัญของการแจ้งข้อเท็จจริง ส่วนเวลาหรือสถานที่เกิดเหตุที่อาจคลาดเคลื่อนจากการเผยแพร่หรือรับชมย้อนหลังเป็นเพียงรายละเอียดไม่ได้เป็นสาระสำคัญของข้อเท็จจริงอันเป็นถ้อยคำกล่าวของโจทก์จริง จำเลยที่ 1 ถึงที่ 37 และที่ 48 จึงไม่มีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 137 และฐานรู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แจ้งข้อความแก่พนักงานสอบสวนว่า
ได้มีการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เมื่อการกระทำดังกล่าวไม่เป็นความผิดแล้ว จำเลยที่ 12 ที่ 19 ที่ 38 ถึงที่ 47 เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับคำร้องทุกข์จึงไม่อาจร่วมกระทำความผิดได้ ส่วนที่โจทก์บรรยายห้องมีข้อความที่เป็นการกล่าวหาจำเลยที่ 12,และที่ 19 เป็นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองนนทบุรีและเป็นคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนได้รับการแต่งตั้งตามคำสั่งตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี ที่ 114/2565 และที่ 119/2565 จำเลยที่ 38’ถึงที่ 43 และที่ 49 เป็นพนักงานสอบสวนสถานตำรวจนครบาลประชาชื่น จำเลยที่ 44 ถึงที่ 64 เป็นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพหลโยธิน กระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแกโจทก์ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงานสอบสวน กระทำการหรือไม่ กระทำการอย่างใด ๆ ในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบ เพื่อจะช่วยบุคคลหนึ่งบุคคลใดมิให้ต้องรับโทษหรือให้รับโทษน้อยลง หรือเพื่อจะแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษหรือรับโทษหนักขึ้น เห็นว่า การกระทำอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 มีองค์ประกอบของการกระทำสองลักษณะประการแรกเจ้าพนักงานผู้กระทำต้องมีเจตนาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา 59 และต้องมีเจตนาพิเศษซึ่งเป็นเจตนาโดยตรงเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดในขณะที่ลงมือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบนั้น โจทก์อาจเป็นผู้เสียหายได้ ประการที่สอง เจ้าพนักงานผู้กระทำต้องมีเจตนาโดยทุจริต ซึ่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (1 ) บัญญัติว่า”โดยทุจริต” หมายความว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นซึ่งถือว่ารัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์ไม่อาจเป็นผู้เสียหาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเฉพาะการกระทำอันเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ส่วนการกระทำอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 20 มีองค์ประกอบเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงานสอบสวนผู้กระทำต้องมีเจตนากระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใด ๆ ในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 1 บัญญัติว่า พ้องต้องทำเป็นหนังสือมีข้อความตามที่ บัญญัติไว้ในมาตรา 158 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีข้อความที่เป็นการกล่าวหาเกี่ยวกับการกระทำอันเป็นความผิดคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ และต้องระบพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่ากระทำความผิดพร้อมทั้งชี้ช่องพยานหลักฐานให้ชัดเจนเพียงพอที่ จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ พฤติการณ์แห่งคดีและพยานหลักฐานที่โจทก์อ้างว่า จำเลยที่ 12 และที่ 19 เป็นผู้ร้องทุกข์เป็นคดีอาญาที่ 435/2565 และคดีอาญาที่ 509/2565 ของสถานีตำรวจนครบาลประชาชื่น และคดีอาญาที่ 409/2565 ของสถานีตำรวจนครบาลพหลโยธิน เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับคำร้องทุกข์คดีอาญาที่ 875 /2565 ของสถานีตำรวจนครบาลนนทบุรี จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีโดยตรงที่เป็นปรปักษ์กับโจทก์ และจำเลยที่ 12 ที่ 19 ที่ 38 ถึงที่ 47 รู้ว่าไม่มีอำนาจรับคำร้องทุกข์ ไม่มีอำนาจสอบสวน และไม่มีสิทธิแจ้งข้อกล่าวหา แก่โจทก์นั้น ได้ความตามฟ้องโจทก็ดังที่วินิจฉัยข้างต้นว่า ข้อความตามฟ้องปรากฎการแจ้งข้อความเป็นคำกล่าวถ้อยคำของโจทย์ก็ตามความจริง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7)บัญญัติว่า
“คำร้องทุกข์” หมายความถึงการที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่ามีผู้กระทำความผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษและมาตรา 122 บัญญัติว่า พนักงานสอบสวนจะไม่ทำการสอบสวนในกรณีต่อไปนี้ก็ได้ (1 ) เมื่อผู้เสียหาย ขอความช่วยเหลือ แต่ไม่ยอมร้องทุกข์ตามระเบียบ (2) เมื่อผู้เสียหายฟ้องคดีเสียเองโดยมิได้ร้องทุกข์ก่อน(3) เมื่อมีหนังสือกล่าวโทษเป็นบัตรสนเท่ห์หรือบุคคลที่ กล่าวโทษด้วยปากไม่ยอม บอกว่าเขาคือใคร หรือไม่ยอมลงลายมือชื่อในคำกล่าวโทษหรือบันทึกคำกล่าวโทษ ดังนั้น เมื่อบุคคลผู้ได้รับความเสียหาย มีสิทธิร้องทุกข์และมีสิทธิมอบอำนาจให้ผู้อื่นร้องทุกข์แทนตนได้ประสงค์ร้องทุกข์เป็นผู้กล่าวหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (7) พนักงานสอบสวนย่อมไม่อาจละเว้นไม่ทำการสอบสวน และมีหน้าที่ต้องรับคำร้องทุกข์ และเริ่มการสอบสวนโดยไม่ชักช้า ตามที่กล่าวหาว่าโจทก็ได้กระทำผิดแล้วจึงแจ้งข้อหาให้ทราบ ตามที่กล่าวหาว่าโจทก์ได้กระทำผิดแล้วจึงแจ้งข้อหาให้ทราบ ล้วนเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามขั้นตอนของการแจ้งข้อกล่าวหาตามกฎหมาย ประกอบข้อความ ตามคำกล่าวของโจทก์เป็นการโฆษณาที่ทำให้ปรากฏการกระจายภาพและเสียง และสามารถเผยแพร่ ย้อนหลังได้ทางระบบอินเทอร์เน็ตย่อมเป็นพยานหลักฐานมีเหตุอันควรให้จำเลยที่ 12 ที่ 19 ที่ 38 ถึงที่ 47 ในฐานะพนักงานสอบสวนมีเหตุอันควรเชื่อว่าโจทก์เป็นผู้กล่าวถ้อยคำแสดงข้อเท็จจริงซึ่งอาจเป็นการลดเกียรติและกระทบต่อชื่อเสียงของเจ้าพนักงาน ทั้งโจทก์แถลงข้อเท็จจริงในชั้นตรวจฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 37 และที่ 48 แจ้งความร้องทุกข์ต่อโจทก์ มีมูลจากการที่โจทก์แถลงข่าว หรือให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน หรือกล่าวเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตและผ่านช่องทางยูทูปของโจทก์เป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระตามคำร้องทุกข์เป็นคดีอาญาดังกล่าว ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์สามารถพิสูจน์คำกล่าว
ของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 37 และที่ 48 ร่วมกันสร้างพยานหลักฐานอันเป็นเท็จเกี่ยวกับคดีอาญาที่ 234 /2565 ของสถานีตำรวจภูธรนนทบุรี เป็นความจริง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและสามารถฟ้องผู้กระทำความผิดตามพยานหลั กฐานนั้น ได้ความแจ้งชัดตามคำแถลงของโจทก์ในชั้นตรวจฟ้องว่าพยานหลักฐานของโจทก์ประกอบด้วย พยานบุคคลเป็นพยานบอกเล่า และพยานผู้เชี่ยวชาญ ส่วนพยานเอกสารและพยานวัตถุ เป็นการสืบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานของโจทก์ก็และคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนในคดีอาญาที่ 234/2565 ของสถานีตำรวจภูธรนนทบุรี ซึ่งยังไม่ได้รับการพิสูจน์ความจริงจึงมีลักษณะเป็นการแสดงความคิดเห็นในระหว่างการสืบสวนสอบสวนของคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนตามคดีอาญาดังกล่าว เมื่อพิจารณาประกอบบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาและรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี แก่โจทก็เกี่ยวกับการกระทำตามที่กล่าวหาว่าโจทก์ได้กระทำผิดแล้วจึงแจ้งข้อหาให้ทราบ ให้โอกาสโจทก์ ที่จะแก้ข้อหาและที่จะแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์แก่ตนได้ โจทก็ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาโดยไม่แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธหรือแสดงพยานหลักฐานดังกล่าวเพื่อพิสูจน์ว่าข้อความตามคำกล่าวของโจทก์เป็นความจริงและแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต เพื่อให้จำเลยที่ 13 ที่ 19 ที่ 38 ถึงที่ 47 รวบรวมพยานหลักฐานและการดำเนินการทั้งหลายอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ซึ่งจำเลยที่ 12 ที่ 19 ที่ 38 ถึงที่ 47 ได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาเพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิดตามขั้นตอนกระบวนการของกฎหมาย ประกอบกับจำเลยที่ 12 และที่ 19’มิได้เป็นผู้ร้องทุกข์และ รับคำร้องทุกข์เป็นคดีอาญาเดียวกัน และเพื่อให้ได้ความซัดแจ้งในข้อเท็จจริงแห่งคดี สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ซี้แจงข้อเท็จจริงเป็นหนังสือว่า กรณีข้าราชการตำรวจร้องทุกข์กล่าวโทษดำเนินคดีกับผู้อื่นหรือประชาชนนั้น ไม่มีกฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ ประมวลจริยธรรมหรือแนวทางปฏิบัติในการดำเนินการดังกล่าว และไม่มีกฏ ระเบียบ หลักเกณฑ์ ประมวลจริยธรรม หรือแนวทางปฏิบัติ ห้ามข้าราชการตำรวจผู้รับคำร้องทุกข์ ปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนในสำนวนที่เกี่ยวข้องกับสำนวนที่แจ้งความร้องทุกข์ ดังนั้น แม้ผู้ร้องทุกข์เป็นข้าราชการตำรวจก็ดี พนักงานสอบสวนผู้รับคำร้องทุกข์มีหน้าที่ต้องรับคำร้องทุกข์และดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พฤติการณ์แห่งคดีตามที่โจทก์ชี้ช่องพยานหลักฐานฟั งได้ว่า จำเลยที่ 12 ที่ 19ที่ 38 ถึงที่ 47 เป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงานสอบสวนปฏิบัติหน้าที่โดยชอบตามประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา การกระทำของจำเลยที่ 12 ที่ 19 ที่ 38 ถึงที่ 47 จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ 200 เมื่อการกระทำดังกล่าวไม่เป็นความผิดแล้ว
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 8 ในฐานะผู้ร้องทุกข์จึงไม่อาจร่วมกระทำความผิดได้ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 48 มิได้กระทำความผิดตามฟ้อง คดีของโจทก์ไม่มีมูลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185 ประกอบพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 6 พิพากษายกฟ้อง ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางวันอังคารที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ศาลได้ดำเนินกระบวนพิจารณาจำนวน 5 นัดรวมระยะเวลาตั้งแต่วันพ้องถึงวันอ่านคำพิพากษา (ชั้นตรวจฟ้อง)เป็นเวลา 6 เดือน 6 วัน
#สำนักข่าวไทยแทบลอยด์ สื่อออนไลน์ ที่ยึดถือจรรยาบรรณครบถ้วน