หน้าแรกกระบวนการยุติธรรม'ตำรวจจราจร' เผย สถิติผู้บาดเจ็บ-เสียชีวิต บนถนนลดลง หลายพื้นที่การจราจรไหลลื่นขึ้น!

‘ตำรวจจราจร’ เผย สถิติผู้บาดเจ็บ-เสียชีวิต บนถนนลดลง หลายพื้นที่การจราจรไหลลื่นขึ้น!

ที่ห้องประชุมแสงสิงแก้ว กองบังคับการตำรวจจราจร พล.ต.ต.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร รอง ผบช.น.พร้อมด้วย พล.ต.ต.ธีรศักดิ์ สุริวงศ์ ผบก.จร.ได้ร่วมแถลงข่าวผลการปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาการจราจร และลดอุบัติเหตุบนถนน ตามนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติตามนโยบายรัฐบาล พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้สั่งการในที่ประชุมบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 พ.ค ณ ห้องประชุมตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล โดยมอบหมายให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดำเนินการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุการจราจร และการเพิ่มประสิทธิภาพของศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร โดยบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาการจราจรในภาพรวม ซึ่งกองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้รวบรวมผลการปฏิบัติในรอบ 1 เดือน ที่ผ่านมาดังนี้

การกวดขันข้อหาไม่สวมหมวกนิรภัยจากสถิติยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุในเขตกรุงเทพมหานคร ในรอบปี 2560 พบว่า มีรถยนต์เกิดอุบัติเหตุร้อยละ 40 และ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 36 ซึ่งผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บส่วนใหญ่จะเกิดจากการใช้รถจักรยานยนต์ โดยในรอบ 1 เดือน (5 -31 พ.ค.61) มีผลการระดมกวดขันจับกุมข้อหา ไม่สวมหมวกนิรภัย จำนวน 172,056 ราย และจากสถิตอุบัติเหตุ เมื่อเปรียบเทียบในเดือนเดียวกับของปี 2560 และ 2561 พบว่าสถิติอุบัติเหตุผู้บาดเจ็บจนทุลภพภาพและผู้เสียชีวิต มาสถิติลดลง สอดคล้องกับการเปรียบเทียบในเดือนเมษายน และพฤษภาคม ปี 61 ก่อนเริ่มและหลังโครงการ จึงยืนยันได้ว่าการรณรงค์ดังกล่าวส่งผลโดยตรงกับการลดอุบัติเหตุ จากสถิติผลการจับกุมพบว่า จำนวนผู้ฝ่าฝืนลดลงตามลำดับ เนื่องจากผู้ขับขี่ตระหนักถึงการสวมหมวกนิรภัยในระหว่างขับขี่​ การเพิ่มประสิทธิภาพในศูนย์ควบคุมการจราจร​ ได้มีการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กรุงเทพมหานคร องค์การขนส่งมวลชน การรถไฟแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง รวมถึง ตำรวจภูธร ปริมณฑลและตำรวจทางหลวง รวมกันบูรณาการแก้ไขปัญหา โดยในช่วงที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการดังนี้

การแก้ไขปัญหาการจราจรถนนแจ้งวัฒนะขาเข้า ในช่วงเร่งด่วนเช้า บริเวณปากซอยแจ้งวัฒนะ 14 ซึ่งเดิม มีการวางกรวยกั้นแบ่ง 2 ช่องจราจร ตั้งแต่เวลา 07.00 – 08.45 น. เพื่อให้รถที่ใช้สะพานข้ามแยกคลองประปาไม่ตัดกระแสกับรถช่องคู่ขนาน 2 ช่องซ้ายสุด ซึ่งรถ 2 ช่องซ้ายที่จะเข้าศูนย์ราชการฯ ให้ใช้ประตูทางเข้าทางอาคาร เอ ส่วนรถ 2 ช่องขวา ให้เข้าศูนย์ราชการฯ โดยต้องไปกลับรถที่จุดกลับรถหน้าไปรษณีย์ไทย ปัจจุบันได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนใช้สะพานข้ามแยกคลองประปามากขึ้น โดยเปิดกรวยบริเวณปากซอยแจ้งวัฒนะ 14 เพื่อให้รถ 2 ช่องขวา ที่จะเข้าศูนย์ราชการฯ เบี่ยงออกเพื่อเข้าศูนย์ราชการฯ ประตูทางเข้าทางอาคาร เอ ได้ และเปิดจุดกลับรถหน้าไปรษณีย์ไทยเป็น 2 ช่องทาง ส่งผลให้การจราจรในช่วงเร่งด่วนเช้า ไหลลื่นได้ดีขึ้น

การแก้ไขปัญหาการจราจร ถนนนครราชสีมา ถนนสามเสน ถนนราชวิถี สะพานกรุงธนบุรี ต่อเนื่องถนนสิรินธร ได้ประสาน สจส.กทม. รื้อเกาะกลางถนนราชวิถี เชิงสะพานกรุงธนบุรี ฝั่งบางพลัด ซึ่งยาวประมาณ 50 เมตร เพื่อรองรับการเร่งระบายรถที่มาจากสะพานกรุงธนบุรี จำนวน 4 ช่องทาง ในช่วงเวลาเร่งด่วนเย็น และ ขอเปิดเกาะกลางถนนหน้าศูนย์บริการรถยนต์อีซูซุ ถนนสิรินธร ประมาณ 15 เมตร เพื่อเปิดช่องทางพิเศษ (Reversible Lane) ส่งรถที่มาจากสะพานกรุงธนบุรีบางส่วน ขึ้นต่างระดับบรมราชชนนี

การแก้ไขปัญหาการจราจรถนนราชพฤกษ์ (ขาออกเชิงสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์) ในช่วงเวลาเร่งด่วนเย็น ได้สั่งการให้ สน.ตลิ่งชัน นำกรวยมาวางเพื่อปิดกั้นรถที่ใช้ทางคู่ขนานไม่ให้มาใช้ช่องทางด้านใน ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการชะลอตัวของรถในถนนราชพฤกษ์ และจัดเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรตรวจสอบสภาพปัญหาการจราจรตลอดเวลา

การแก้ไขปัญหาที่เกิดจากไม้กั้นรถไฟชำรุด เนื่องจากเกิดปัญหาไม้กั้นรถไฟชำรุด เพราะไฟฟ้าดับ และเฟืองหมุนไม้กั้นรถไฟไม่ทำงานในชั่วโมงเร่งด่วน จึงประสานการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้ตรวจสอบสภาพไม้กั้นทางรถไฟในกรุงเทพมหานครทุกจุด ให้สามารถใช้งานได้ในกรณีไฟดับ พร้อมทั้งให้จัดชุดแก้ปัญหาฉุกเฉินให้เข้าถึงจุดเกิดเหตุได้อย่างรวดเร็วเพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัด​ การแก้ไขปัญหาถนนตัดผ่านทางรถไฟซึ่งมีสภาพไม่เรียบเสมอกัน โดยในระยะเร่งด่วน ขอให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ดำเนินการในถนนที่ตัดผ่าน จำนวน 13 จุด

การแก้ไขปัญหาการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ เนื่องจากผู้รับเหมาโครงการนำสายไฟฟ้าลงดิน ปล่อยปละละเลย ไม่คืนผิวการจราจรภายในเวลาที่กำหนด ส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด จึงได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมหาแนวทางแก้ไข โดยให้กำชับไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอีก และให้นำส่งแผนการดำเนินงานเพื่อพิจารณาทุก 3 เดือน รวมถึงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สีชมพู และสีส้ม ซึ่งจะต้องมีการส่งแผนการดำเนินการเพื่อพิจารณาทุก 3 เดือนเช่นกัน


 

RELATED ARTICLES

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img