หน้าแรกกระบวนการยุติธรรม"เฮียชู" งานเข้า สารภาพต่อหน้าสื่อฯ ว่ารับเงินจำนวนหนึ่ง หากจริงตามที่ทนายตั้มแฉ จริง.? มีโทษหนักจำคุกถึง 10 ปี

“เฮียชู” งานเข้า สารภาพต่อหน้าสื่อฯ ว่ารับเงินจำนวนหนึ่ง หากจริงตามที่ทนายตั้มแฉ จริง.? มีโทษหนักจำคุกถึง 10 ปี

กูรูด้านกฎหมายของ ตร. ชี้เข้าข่ายผิด พรบ.ฟอกเงิน ถือว่าความผิดสำเร็จแล้ว

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2566 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) มีรายงานแหล่งข่าวระดับสูงด้านกฏหมายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) ได้กล่าวถึงกรณีที่ นายษิทรา เบี้ยบังเกิด ทนายคนดังได้ออกมาแถลงต่อสื่อมวลชนว่า มีคนของ สว.ซัว ได้นำเงินมามอบให้นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ นักแฉคนดังที่ออกมาเปิดโปงการทุจริตของเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมถึงการทุจริตของการสร้างโครงการรถไฟฟ้าของกระทรวงคมนาคม และกรณีทุจริตของหน่วยงานของรัฐอีกหลายหน่วยอย่างต่อเนื่องจนได้รับเสียงชื่นชมอย่างกระหึ่มจากสังคมโลกโซเชี่ยลนั้น

จากกรณีดังกล่าว ที่นายชูวิทย์ออกมายอมรับว่าได้รับเงินจำนวนหนึ่งมาจริง แต่ได้นำไปบริจาคให้กับ รพ.ศิริราช และ รพ.ธรรมศาสตร์ นั้น ต่อมามีการโพสน์แจ้งว่าทาง รพ.ทั้งสองแห่งจะนำเงินมาคืนนั้น

ซึ่งที่ชูวิทย์แถลงไลฟ์สดเมื่อวานเป็นการยอมรับสารภาพ ต่อสาธารณะ ว่าได้รับเงินผู้แทนของ สว ซัว ซึ่งเป็นเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิด เข้าข่ายตาเป็นความผิดตาม พรบ ฟอกเงิน มาตรา 5(3) ถือว่าความผิดสำเร็จแล้ว

แหล่งข่าวที่เชี่ยวชาญในข้อกฏหมายระดับสูงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังกล่าวอีก กรณีนี้ ต้องมีผู้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีซึ่งคดีนี้ปัจจุบันมีการดำเนินคดีความผิดมูลฐานอยู่ที่กองปราบ

จึงสามารถไปร้องทุกข์ต่อ พนักงานสอบสวนของพนักงานสอบสวนกองปราบ ต่อเนื่องได้เลยเพราะหากไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจท้องที่ จะต้องทำการสืบสวนสอบสวนความผิดมูลฐานก่อน ใช้เวลานานแต่ถ้าหากแจ้งต่อเนื่องที่กองปราบ ก็ไม่ต้องสืบสวน คดีจะรวดเร็วกว่า

ซึ่งตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินพ.ศ. 2542 ระบุว่า กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินพระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งชาติมาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บัคับมื่อนกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่นประกาศในราชกิจจานุมาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้”ความผิดมูลฐาน” หมายความว่า(1)ผิดเกี่ยวกับยาเสพติดกี่ยวกับยาเสพติดตามกฏหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

(2)ความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์หรือความผิดตามประมวลกฎหมาย

ในหมวดบททั่วไปมาตรา 5 ผู้ใด(1) โอน รับ โอน หรือเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเพื่อซุกซ่อนหรือปกปิดแหล่งที่มาของพย์สินนั้น หรือเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นไม่ว่าก่อน ขณะหรือหลังการกระทำความผิด มิให้ต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลงในความผิดมูลฐาน หรือ(2) กระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อปกปิดหรืออำพรางลักษณะที่แท้จริงการได้มาแหล่งที่ตั้ง การจำหน่าย การโอนได้สิทธิใด ๆ ซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดได้มา ครอบครอง หรือใช้ทรัพย์สิน โดยรู้ในขณะที่ได้มา ครอบครอง หรือใช้ทรัพย์สินนั้นว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด(3)L26 ]ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฟอกเงิน

สำหรับบทลงโทษหมวด 7 บทกำหนดโทษ ระบุใว้ว่าตาม มาตรา 6 ผู้ใดกระทำความผิดฐานฟอกเงิน ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 61[105 ]นิติบุคคลใดกระทำความผิดตามมาตรา * มาตรา 7 มาตรา 8 หรือมาตรา 9 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท “แหล่งข่าวระดับสูงกล่าว”

RELATED ARTICLES
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img