เมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2566 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ได้มีคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 111/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการตรวงสอบข้อเท็จจริง โดยคำสั่งดังกล่าวระบุว่า “ด้วย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และตำรวจได้รับเรื่องร้องเรียนจาก ผู้ใช้นาม “ข้าราชการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง” ร้องเรียนว่าถูกสอบสวนดำเนินดีโดยไม่เป็นธรม โดยกล่าวอ้างว่าเป็นข้าราชการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง โดนกลั่นแกล้ง ถูกเรียกไปสอบสวน ซึ่งการสอบสวบเป็นการสอบสวนไม่ชอบ เป็นการสอบสวนเกินกว่าอำนาจ ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กำหนด ผู้สอบสวนมิใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามประมวลกฎหมายวิพิจารณาความอาญา มีเจตนามุ่งเน้น กลั่นแกลัง ยัดเยียดข้อกล่าวหาขู่เข็ญ ให้การ อันเป็นการจับผิด และกลุ่มข้่าราชการในสังกัดสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ร้องเรียนว่าถูกกลุ่มข้าราชการตำรวจอ้างเป็นคณะทำงานตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ซึ่งผู้ร้องเห็นว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบกระทำการโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม เจตนาจงใจกลั่นแกล้ง โดยแอบอ้างจูงใจ ข่มขู่ ให้กระทำการหรือให้การโดยมิชอบ รวมทั้งปกบิดข้อเท็จจริงโดยทุจริต ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายเพื่อให้ได้รายละเอียดประกอบการพิจารณาพฤติการณ์และหลักฐานในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการตำรวจที่ถูกร้องเรียนในเรื่องดังกล่าวข้างตัน นั้น กระทำผิดวินัยหรือไม่ตามมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 อาศัยอำนาจตามมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ในเรื่องดังกล่าว ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้ 1.) พลตำรวจโท สุรพงษ์ ชัยจันทร์ รองจเรตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานกรรมการ, 2.) พลตำรวจตรี ภรศักดิ์ นวนหนู รองจเรตำรวจ เป็นกรรมการ, 3.) พลตำรวจตรี โอภาส คงเมือง ผู้บังคับการ กองตรวจราชการ 6 สำนักงานจเรตำรวจเป็นกรรมการ, 4.) พันตำรวจเอก พิสุทธิ์ ศุกระตร รองผู้บังคับการ กองตรวจราชการ 4 สำนักงานจเรตำรวจเป็นกรรมการ
5.) พันตำรวจเอก บุญส่ง หนูรัตน์ รองผู้บังคับการ กองตรวจราชการ 7 สำนักงานจเรตำรวจเป็นกรรมการ, 6.) พันตำรวจเอก โอภาส ทั่งทอง รองผู้บังคับการ กองตรวจราชการ 8 สำนักงานจเรตำรวจเป็นกรรมการและเลขานุการ, 7.) พันตำรวจเอกวีร์พล ใหญ่รุณ รองผู้บังคับการ กองคคีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดีเป็นกรรมการสำนักงานจเรตำรวจ เป็นกรรมการ, 8.) พันตำรวจเอก ปภังกร ศรีวัญ ผู้กำกับการ ฝ่ายสืบสวนแนะดรวจรายการ ด กองตรวจราชการ 6 สำนักงานกฎหมายและคดี เป็นกรรมการ, 9.) ว่าที่ พันตำรวจเอก เศรษฐพงษ์ จิตตโกมุท ผู้กำกับการ กลุ่มงานวิชาการ กองกฎหมาย, 10.) ว่าที่ พันตำรวจเอก นภัสกร วงศ์ษา ผู้กำกับการ(สอบสวน) กลุ่มงานสอบส่วนกองบังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล เป็นกรรมการกองตรวจราชการ 3 สำนักงานจเรตำรวจ เป็นกรรมการ
11.) พันตำรวจโท ทรงเวทย์ ศรีธรม รองผู้กำกับการ ฝ้ายสืบสวนและตรวจราชการ กองตรวจราชการ & สำนักงานจเรตำรวจ เป็นกรรมการ, 12.) พันตำรวจโท ศิริพล บุญหนุน รองผู้กำกับการ ฝ้ายสืบสวนและตรวจราชการ, 13.) พันตำรวจโท ชินกฤต ไมตรีแพน รองผู้กำกับการ ฝ้ายสืบสวนและตรวจราชการ 1 กองตรวจราชการ 10 สำนักงานจเรตำรวจ เป็นกรรมการ, 14.) พันตำรวจโท เจนวิทย์ ตรีสุคนธ์ สารวัตร ฝ่ายสืบสวนและตรวจราชการ 3 กองตรวจราชการ 4 สำนักงานจเรตำรวจ เป็นกรรมการกองตรวจราชการ 9 สำนักงานจเรตำรวจ เป็นกรรมการ, 15.) พันตำรวจโท สากล รัศมีบรรพตกุล สารวัตร ฝ้ายสืบสวนและตรวจราชการ 2, 16.) พันตำรวจโท พัชระ รัตนประเสริฐ รองผู้กำกับการ ฝ้ายสืบสวนและตรวจราชการ กองตรวจราชการ 4 สำนักงานจเรตำรวจ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ทั้งนี้ให้คณะกรรมการตรจสอบข้อเท็จจริง ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ประธานกรรมการรับทราบคำสั่งนี้ แล้วเสนอสำนวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงมาเพื่อพิจารณาคำเนินการต่อไปสั่ง ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 คำ”สั่งดังกล่าว ระบุ”