ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวานนี้ (10 พ.ค.) ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มูลนิธิหมอเสม พริ้งพวงแก้ว ร่วมกับคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา35 จัดเสวนา ประชาธิปไตยแบบ ล่างขึ้นบนกับการกระจายอํานาจและการบริหารราชการแผ่นดินไทย โดยมีนายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา35 นายอุดร ตันติสุนทร ประธานมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นางสมศรี หาญอนันทสุข ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนปฏิรูปตํารวจ นายเชื่อ ฮันจินดา อดีต ประธานสมาพันธ์ปลัดอบต.แห่งประเทศไทย นายกษิต ภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ร่วมเสวนา

โดยมีตอนหนึ่ง นายกษิต กล่าวว่า หลายประเทศที่ปกครองในระบบประชาธิปไตย ประสบความสําเร็จในการกระจายอํานาจไปในส่วนท้องถิ่น ไปให้ประชาชน ให้สมาคมวิชาชีพเขาดูแล ควบคุมกันเอง อาทิ ในเยอรมัน มีการโอนงานด้านสังคมสงเคราะห์ไปให้ภาคประชาชนดูแล ไม่ต้องอยู่เป็นส่วนหนึ่งในกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือในกระทรวงสาธารณสุข ในบ้านเราก็ควรมีการกระจายอํานาจให้มากขึน

“ขอเสนอให้ยุบองค์การส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะผู้ว่าราชการจังหวัด มีอิทธิพลต่อองค์กรแห่งนี้มากในการจะลงนามให้ทำหรือไม่ทำเรื่องใด หลายพื้นที่เลยมีปัญหาด้านการทุจริตคอร์รัปชัน  ในต่างประเทศเช่น  ญี่ปุ่น มีการกระจายอำนาจที่ประสบความสำเร็จ มีการโอนให้ตำรวจขึ้นตรงต่อผู้ว่าในจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ในประเทศเรา การเลือกตั้งผู้ว่าราชการ มีการเลือกปฏิบัติกันระหว่าง คนกทม.กับคนต่างจังหวัด เหตุใดคนกทม.จึงเลือกผู้ว่าราชการได้ แต่คนต่างจังหวัดเลือกไม่ได้”

นายกษิต กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้การกระจายอํานาจในญี่ปุ่นเอง เหลือกระทรวงหลักที่ส่วนกลางควบคุมเพียงไม่กี่แห่ง อาทิ กระทรวงกลาโหม ยุติธรรม ต่างประเทศ ทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรมและศาสนา ส่วนที่เหลือโอนให้ทางท้องถิ่นบริหารจัดการ ในประเทศไทยเองก็ควรเป็นเช่นนั้น กระทรวงที่เคยมี 20 กระทรวง หากโอนไปอาจ เหลือเพียง 10 กระทรวง อีก 10กระทรวงเปลี่ยนเป็นสํานักงาน ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรีเท่านั้น หากเป็นเช่นนั้น เชือว่าการบริหารงานจะคล่องตัวมากขึ้น นอกจากนี้ไม่ควรให้ รัฐมนตรีลงนามสําหรับการจัดซื้อจัดจ้าง ควรเพียงแค่ดําเนินนโยบายเท่านั้น ไม่ใช่มาอนุมัติงบประมาณ