สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นภายใต้หัวข้อ “ประชาชนคิดอย่างไร? กับ การดูด ส.ส.ของพรรคการเมืองไทย” จากกระแสข่าวการดูด ส.ส. กลายเป็นประเด็นร้อนทางการเมืองในช่วงนี้ โดยเฉพาะกรณีที่มีนักวิชาการ และนักการเมืองออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นเรื่องที่ขัดหลักประชาธิปไตยหรือไม่ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน กรณี ส.ส. ที่ย้ายพรรคหรือถูกดูด “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,158 คน ระหว่างวันที่2-5 พฤษภาคม 2561 สรุปผลได้ ดังนี้

1. ประชาชนคิดอย่างไร? กรณี การดูด ส.ส.ของแวดวงการเมืองไทย ณ วันนี้

อันดับ 1 เป็นเรื่องปกติของการเมืองไทย ที่ผ่านมาก็เคยเกิดขึ้น 50.94%
อันดับ 2 แต่ละพรรคมีการแข่งขันกัน เสนอผลประโยชน์ให้กับ ส.ส. 24.82%
อันดับ 3 ไม่น่าเกิดขึ้น ไม่สร้างสรรค์ ท าให้การเมืองไม่พัฒนา 21.79%
อันดับ 4 มีทั้งผลดีผลเสีย ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน 15.87%
อันดับ 5 พรรคการเมืองต้องการรักษาอำนาจ ต้องการคนที่น่าจะชนะการเลือกตั้ง 11.83%

2. “ข้อดี” ของการดูด ส.ส. ตามระบอบประชาธิปไตย คือ

อันดับ 1 พรรคการเมืองได้จำนวน ส.ส. เพิ่มมากขึ้น ได้ฐานเสียงตามที่ต้องการ 41.51%
อันดับ 2 เกิดการแข่งขัน มีความหลากหลาย ประชาชนมีตัวเลือกมากขึ้น 37.83%
อันดับ 3 เป็นการหมุนเวียน ส.ส. ทำให้พรรคมีคนเก่งมากขึ้น 27.61%

3. “ข้อเสีย” ของการดูด ส.ส. ตามระบอบประชาธิปไตย คือ

อันดับ 1 เกิดความขัดแย้งทางการเมือง ทะเลาะเบาะแว้ง โจมตีกัน 54.36%
อันดับ 2 การเมืองไม่เข้มแข็ง ไม่มีจุดยืน ขาดอุดมการณ์ 36.92%
อันดับ 3 ขาดความน่าเชื่อถือ ภาพลักษณ์ไม่ดี 29.06%

4. ในความคิดของประชาชน การดูด ส.ส. เป็นเรื่องที่ขัดหลักประชาธิปไตยหรือไม่?

อันดับ 1 ไม่ขัดหลักประชาธิปไตย 44.21%
เพราะ เป็นเรื่องที่มีมานาน เคยเกิดขึ้น ทุกครั้งที่มีการเลือกตั้งมักจะมีการย้ายพรรค นักการเมืองมีสิทธิ
ที่จะเลือก เป็นความสมัครใจ ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 35.15%
เพราะ ต้องดูว่าผิดกฎหมายหรือไม่ ไม่รู้ข้อมูลข้อเท็จจริง มีทั้งข้อดีข้อเสีย ต้องพิจารณาหลายด้าน ฯลฯ
อันดับ 3 ขัดหลักประชาธิปไตย 20.64%
เพราะ ไม่ควรทำ เป็นการใช้อำนาจในทางที่ไม่เหมาะสม ควรแข่งขันอย่างเป็นธรรมเท่าเทียม นักการเมือง
ควรมีอิสระ ฯลฯ

5. ผลจากการดูด ส.ส. ครั้งนี้ สะท้อนการเมืองไทยในลักษณะใด

อันดับ 1 การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจและผลประโยชน์ 45.82%
อันดับ 2 เห็นแก่ประโยชน์ของตนเอง ต้องการสืบทอดอำนาจ 32.58%
อันดับ 3 การเมืองไม่พัฒนา เหมือนอดีตที่ผ่านมา ประชาธิปไตยไม่ก้าวหน้า 20.21%
อันดับ 4 พฤติกรรมนักการเมืองเหมือนเดิม ไม่มีอุดมการณ์ 15.85%
อันดับ 5 ถึงเวลาต้องปฏิรูปการเมืองให้มีคุณภาพ เข้มแข็ง 12.72%

6. กรณี ส.ส. ที่ย้ายพรรคหรือถูกดูด มีผลต่อการตัดสินใจเลือก ส.ส.ของประชาชนหรือไม่?

อันดับ 1 ไม่มีผล 58.81%
เพราะ ดูที่ตัวบุคคล เลือกจากพรรคที่ชอบ สามารถพิจารณาตัดสินใจเองได้ ดูจากประวัติ ผลงานที่ผ่านมา ฯลฯ
อันดับ 2 มีผล 41.19%
เพราะ ต้องพิจารณาตัดสินใจ เกิดความลังเล ไม่แน่ใจ รู้สึกไม่เชื่อมั่นในตัว ส.ส. ที่ย้าย ทำให้เบื่อหน่าย ฯลฯ