ณ กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 6(บช.ภ.6 )จังหวัดพิษณุโลก ผู้สื่อข่าวรายงงานว่า พล.ต.อ.เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน รอง ผบ.ตร.(ปป) พร้อมด้วย พล.ต.ท.พรหมธร ภาคอัต ผู้ช่วย ผบ.ตร.(ปป2) พล.ต.ต.ประหยัชว์ บุญศรี รรท.จตร. และ พล.ต.ท.สุธีร์ เนรกัณฐี รรท.ผบช.ภ.6 มอบนโยบายการปฏิบัติราชการงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้แก่ข้าราชการตำรวจในสังกัด
พล.ต.อ.เฉลิมเกียรติ เปิดเผยว่า ตามคำสั่ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 562/2561 ลง 28 ก.ย.61 งานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม มอบหมาย พล.ต.อ.เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นหัวหน้า โดยมี ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รวม 6 ท่าน เป็นผู้ช่วย ควบคุม กำกับ ดูแล
กำหนดภารกิจหลักคือ งานควบคุมและการจัดสายตรวจ (งานป้องกัน) งานวิเคราะห์อาชญากรรมคดีอาญา 4 กลุ่ม (งานปราบปราม) และงานการมีส่วนร่วมของประชาชน (งานชุมชนสัมพันธ์) ตลอดจนงานนโยบายของ ผบ.ตร. และนโยบายสำคัญที่รัฐบาลกำหนดไว้ในปีงบประมาณ 2562 ได้กำหนดแนวทางการขับเคลื่อนงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ไว้ 3 ด้าน ดังนี้
1. งานควบคุมและการจัดสายตรวจ (งานป้องกัน)
มุ่งเน้นการป้องกันอาชญากรรมเชิงรุก ป้องกันไม่ให้มีเหตุเกิดขึ้น ด้วยการควบคุมและการจัดระบบสายตรวจตามที่ ตร.กำหนดไว้ การจัดทำนาฬิกาอาชญากรรมให้เป็นปัจจุบัน การวิเคราะห์อาชญากรรมที่สามารถควบคุมได้ เพื่อกำหนดแผนการตรวจ การตั้งจุดตรวจ จุดสกัด ด่านตรวจ ให้สอดคล้อง เหมาะสมกับสภาพแต่ละพื้นที่ เพื่อควบคุมอาชญากรรม ทั้งในมิติของการเกิดเหตุ และลดระดับความรุนแรง ให้ประชาชนรู้สึกหวาดกลัวภัยอาชญากรรมน้อยลง สร้างความเชื่อมั่น ความศรัทธาให้กับประชาชนอย่างแท้จริง
ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น จะต้องศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ประจำปีงบประมาณ 2559 (แก้ไข 16 ก.ย.59) ให้เป็นแนวทางเดียวกัน เพื่อใช้เป็นคู่มือในการควบคุมและจัดสายตรวจ ตลอดจนแนวทางประเมินผลการปฏิบัติ
2. งานวิเคราะห์อาชญากรรมคดีอาญา 4 กลุ่ม (งานปราบปราม)
เน้นการควบคุมอาชญากรรมจากการวิเคราะห์สถิติคดีอาญา 4 กลุ่ม โดยการ กำหนดให้ทุกสถานีตำรวจ ระดมกวาดล้างอาชญากรรม ห้วงเวลาการปฏิบัติไม่น้อยกว่า 10 วันต่อเดือน และทำการปิดล้อมตรวจค้นทุกวันที่ 10 20 และ 30 ของทุกเดือน ภายใต้การขับเคลื่อนของตำรวจภูธรภาค 1-9 ตำรวจนครบาล โดยการควบคุม สั่งการของ ผู้ช่วย ผบ.ตร. ที่ได้รับมอบหมาย ด้วยการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ อย่างใกล้ชิด
3. งานการมีส่วนร่วมของประชาชน (งานชุมชนสัมพันธ์)กองแผนงานอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ โดยการควบคุม และสั่งการของ ผู้ช่วย ผบ.ตร. ที่ได้รับมอบหมาย สรุปแผนงาน โครงการ กิจกรรม ประจำปี 2562 เพื่อมอบหมายให้หน่วยปฏิบัติ ตั้งแต่ระดับกองบัญชาการ ตำรวจภูธรภาค กองบังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัด ขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน โดยทั้งนี้ ให้ตระหนัก และสร้างจิตสำนึกด้านคุณธรรม จริยธรรม เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการป้องกันอาชญากรรม ทุกมิติ ได้มอบหมายผู้รับผิดชอบ พล.ต.ท.ศักดา ชื่นภักดี เป็นหัวหน้า งานควบคุมและการจัดสายตรวจ
ในภาพรวม โดยมี พล.ต.ท.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ เป็นผู้ช่วย
พล.ต.ท.พรหมธร ภาคอัต เป็นหัวหน้า งานวิเคราะห์อาชญากรรมคดีอาญา 4 กลุ่ม ในภาพรวม โดยมี พล.ต.ท.ชนสิษฎ์ วัฒนวรางกูร เป็นผู้ช่วย
พล.ต.ท.มนู เมฆหมอก เป็นหัวหน้า งานการมีส่วนร่วมของประชาชน ในภาพรวม โดยมี พล.ต.ท.วิสนุ ปราสาททองโอสถ เป็นผู้ช่วย
พล.ต.อ.เฉลิมเกียรติ ยังได้เปิดเผยอีกว่า “ในส่วนการมอบหมายพื้นที่กำกับดูแล
1. พล.ต.ท.ศักดา ชื่นภักดี รับผิดชอบพื้นที่ กองบัญชาการตำรวจนครบาล, ตำรวจภูธรภาค 7
2. พล.ต.ท.พรหมธร ภาคอัต รับผิดชอบพื้นที่ ตำรวจภูธรภาค 5, 6 และ สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ
3. พล.ต.ท.มนู เมฆหมอก รับผิดชอบพื้นที่ ตำรวจภูธรภาค 1, 2
4. พล.ต.ท.วิสนุ ปราสาททองโอสถ รับผิดชอบพื้นที่ ตำรวจภูธรภาค 8, 9
5. พล.ต.ท.ชนสิษฎ์ วัฒนวรางกูร รับผิดชอบพื้นที่ ตำรวจภูธรภาค 4 และ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
6. พล.ต.ท.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รับผิดชอบพื้นที่ ตำรวจภูธรภาค 3 และ กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด
สำหรับ การรายงานคดีสำคัญนั้น มอบหมาย ผบก. พื้นที่ เป็นผู้รับผิดชอบในการรายงานคดีสำคัญทุกคดีที่เกิดขึ้น ให้ รอง ผบ.ตร.(ปป) และ ผู้ช่วย ผบ.ตร.(ปป) ที่รับผิดชอบพื้นที่ ทราบ
กรณีเกิดอาชญากรรมคดีสำคัญในพื้นที่ รอง ผบ.ตร.(ปป) อาจพิจารณามอบหมาย ผู้ช่วย ผบ.ตร.(ปป) ท่านใดท่านหนึ่ง เข้าไปร่วมเร่งรัดติดตาม หรือสนับสนุนการทำงานสืบสวนสอบสวน เพื่อคลี่คลายคดี และร่วมกำหนดมาตรการในการป้องกันอาชญากรรมกับ ผู้ช่วย ผบ.ตร.(ปป) ที่รับผิดชอบพื้นที่นั้นๆ ได้ตามที่เห็นสมควรและเหมาะสม
ขอให้ ผู้ช่วย ผบ.ตร. ในสายงาน ปป. ที่ได้รับมอบหมาย ให้เป็นหัวหน้า และผู้ช่วย ตลอดจนที่รับผิดชอบพื้นที่ ร่วมกับ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และตำรวจภูธรภาค 1-9 ควบคุม กำกับ ดูแลการปฏิบัติ ให้หน่วยระดับ กองบังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัด ต้องลงไปร่วมขับเคลื่อนการทำงานกับสถานีตำรวจ ให้เป็นไปตามนโยบายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อย่างใกล้ชิด
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ในการปฏิบัติตามนโยบายงานป้องกันปราบปราม อาชญากรรม ทั้งหมดตามที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพ ของผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น ตั้งแต่ หัวหน้าสถานีตำรวจ ผู้บังคับการ รองผู้บังคับการ จะต้องนำเอากรอบแนวทางดังกล่าว ไปเป็นทิศทางในการขับเคลื่อน ด้วยการระดมความคิดทุกส่วนที่มีส่วนร่วม ให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้การสนับสนุน กำกับ ดูแล ของผู้บังคับบัญชาระดับกองบัญชาการ อย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนทุกระดับชั้น และเป็นหลักประกันความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ที่มีมาตรฐานสากล สมกับ เป็นตำรวจมืออาชีพ เพื่อความผาสุกของประชาชน ได้อย่างแท้จริง
งานป้องกันปราบปรามยาเสพติดในปีงบประมาณ 2562 งานป้องกันปราบปรามยาเสพติด ได้มอบหมายให้ พล.ต.ท.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รรท.ผู้ช่วย ผบ.ตร.(ปป 6) รับผิดชอบร่วมกำหนดมาตรการและแนวทางในการขับเคลื่อน ซึ่งยังคงมาตรการเดิม 5 มาตรการ คือ (1) มาตรการสกัดกั้นการลำเลียง (2) มาตารการปราบปรามจับกุมผ้กระทำผิด ผู้ค้า ตลอดทั้ง สืบสวนขยายผล ทำลายเครือข่าย และยึดทรัพย์ผู้ค้ารายสำคัญอย่างเด็ดขาด (3) มาตรการสืบสวนติดตามจับกุมตามหมายจับ คดียาเสพติด 7 ข้อหาหลัก และ พ.ร.บ.มาตรการฯ เพื่อเป็นการทำลายเครือข่ายแบบถอนรากถอนโคน (4) มาตรการป้องกันโครงการครู D.A.R.E. ประเทศไทย โครงการตำรวจประสานโรงเรียน (1 ตำรวจ 1 โรงเรียน) และ โครงการจัดระเบียบสังคมรอบสถาบันการศึกษา ซึ่งจะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการจัดระเบียบสังคม (5) มาตรการดำเนินการกับเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้าไปเกี่ยวข้องยาเสพติด
ซึ่งในปีงบประมาณ 2562 นี้ ได้กำหนดเพิ่มอีก 2 มาตรการ คือ (1) มาตรการสร้างความเข้มแข็งในหมู่บ้าน ชุมชน เน้นโครงการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติด ซึ่งกำหนดให้หมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน เป็นหมู่บ้านเป้าหมายหลัก (2) มาตรการการจัดเก็บฐานข้อมูลผู้เกี่ยวข้องยาเสพติด ด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลผู้เสพ ผู้ค้า และรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง นำไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายและพื้นที่เสี่ยง ตลอดจนเพื่อรองรับการบังคับใช้กฎหมายตาม ร่าง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฉบับใหม่ ให้เกิดประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
การยกระดับบริการประชาชนของสถานีตำรวจ
ถือเป็นนโยบายสำคัญที่ ท่าน รอง นรม. (พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ) และท่าน ผบ.ตร. ต้องการให้เร่งรัดปรับปรุงการบริการประชาชนของสถานีตำรวจ เพื่อตอบสนองความต้องการ และสร้างความพึงพอใจแก่ประชาชน ให้บังเกิดผลการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม อย่างต่อเนื่องตลอด 2 ปี ที่ผ่านมา
ซึ่งท่าน ผบ.ตร. ได้มอบหมายให้ รอง ผบ.ตร.(ปป) เป็นหัวหน้าคณะทำงานขับเคลื่อนเรื่องนี้ และผมได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการยกระดับการบริการประชาชนของสถานีตำรวจระดับพื้นที่ มี รอง ผบ.ตร.(สส) เป็นรองหัวหน้า และ ผู้ช่วย ผบ.ตร. ในสายงาน ปป. และ สส. เป็นผู้ช่วย
ขอให้คณะทำงานระดับ ตร. ร่วมกับ ผบช.น.,ภ.1-9, รอง ผบช., ผบก.น.,ภ.จว. และ รอง ผบก. ที่รับผิดชอบ ออกตรวจสอบ ติดตาม การทำงานของสถานีตำรวจในความรับผิดชอบให้ครบทุกสถานีตำรวจ ตามนโยบายท่าน รอง นรม. และกรอบการประเมินผลทั้ง 7 ด้าน ที่ ตร. กำหนด อย่างจริงจัง ต่อเนื่อง แล้วรายงานผลให้ ตร. ทราบ ทุกเดือนตามวงรอบ “พล.ต.อ.เฉลิมเกียรติ กล่าว”