หน้าแรกการเมือง'สวนดุสิตโพล' เผย ประชาชนมีความตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น

‘สวนดุสิตโพล’ เผย ประชาชนมีความตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สวนดุสิตโพล เผยแพร่การทำสำรวจ สืบเนื่องจากการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปี 2562 ทำให้ทั้งนักการเมือง พรรคการเมือง ต่างก็มีการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่การเลือกตั้ง ในขณะที่ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะเลือกผู้สมัครคนใด  พรรคการเมืองใด เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการตัดสินใจเลือก ส.ส. ระหว่าง “ผู้ที่กำลังจะมีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก” กับ “ผู้ที่เคยเลือกตั้งมาแล้ว” “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,083 คน ระหว่างวันที่ 15-18 สิงหาคม 2561 สรุปผลได้ ดังนี้

1) ความตั้งใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. (ปี 2562)
1.ไปแน่นอน 77.56%  ผู้ที่กำลังจะมีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก  69.87%  ผู้ที่เคยใช้สิทธิเลือกตั้งมาแล้ว   84.70%
2.ไม่แน่ใจ  19.67%    ผู้ที่กำลังจะมีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก  26.10%  ผู้ที่เคยใช้สิทธิเลือกตั้งมาแล้ว   13.70%
3.ไม่ไป     2.77%     ผู้ที่กำลังจะมีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก    4.03%  ผู้ที่เคยใช้สิทธิเลือกตั้งมาแล้ว      1.60%

2) ความสนใจต่อข่าวการเลือกตั้ง ส.ส. ในครั้งต่อไป (ปี 2562)
1. ค่อนข้างสนใจ    43.40%    ผู้ที่กำลังจะมีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก  42.23% ผู้ที่เคยใช้สิทธิเลือกตั้งมาแล้ว 44.48%
2.ไม่ค่อยสนใจ    28.25%    ผู้ที่กำลังจะมีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก  31.09% ผู้ที่เคยใช้สิทธิเลือกตั้งมาแล้ว 25.62%
3. สนใจมาก    24.10%      ผู้ที่กำลังจะมีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก  22.84% ผู้ที่เคยใช้สิทธิเลือกตั้งมาแล้ว 25.27%
4.ไม่สนใจ     4.25%         ผู้ที่กำลังจะมีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก    3.84% ผู้ที่เคยใช้สิทธิเลือกตั้งมาแล้ว 4.63%

3)“ผู้ที่กำลังจะมีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก” กับ “ผู้ที่เคยใช้สิทธิเลือกตั้งมาแล้ว” ให้ความสำคัญกับประเด็นต่อไปนี้อย่างไร
ประเด็นที่ใช้ประกอบการตัดสินใจเลือก ส.ส.
1.คุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์   93.71% ผู้ที่กำลังจะมีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก 93.47% ผู้ที่เคยใช้สิทธิเลือกตั้งมาแล้ว 93.93%
2.ความรู้ ความสามารถ        89.21%          ผู้ที่กำลังจะมีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก 89.14% ผู้ที่เคยใช้สิทธิเลือกตั้งมาแล้ว 89.29%
3.นโยบายพรรค      85.46%                    ผู้ที่กำลังจะมีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก 85.26%    ผู้ที่เคยใช้สิทธิเลือกตั้งมาแล้ว 85.64%
4.ประวัติการทำงาน ผลงานที่ผ่านมา   83.65% ผู้ที่กำลังจะมีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก 84.27% ผู้ที่เคยใช้สิทธิเลือกตั้งมาแล้ว 83.08%
5.พื้นฐานการศึกษา    81.43%                      ผู้ที่กำลังจะมีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก 80.88% ผู้ที่เคยใช้สิทธิเลือกตั้งมาแล้ว 81.93%

4)ระหว่าง“ผู้สมัครที่เคยได้รับเลือกเป็น ส.ส. มาแล้ว” กับ “ผู้สมัครที่ยังไม่เคยได้รับเลือกเป็น ส.ส.”
1.มีผล    54.91%     ผู้ที่กำลังจะมีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก 58.72% ผู้ที่เคยใช้สิทธิเลือกตั้งมาแล้ว    51.29%  เพราะ  เป็นที่รู้จัก มีผลงาน มีประสบการณ์ ใกล้ชิดกับประชาชน มีเครือข่ายในการทำงาน รู้ปัญหาในพื้นที่ ช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ฯลฯ
2.ไม่มีผล    45.09%      ผู้ที่กำลังจะมีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก  41.28% ผู้ที่เคยใช้สิทธิเลือกตั้งมาแล้ว    48.71% เพราะ  อยากเปิดโอกาสให้กับคนใหม่ ๆ พิจารณาจากประวัติส่วนตัว การศึกษา บุคลิกภาพ นิสัยส่วนตัว เป็นคนที่สังคมให้การยอมรับ ฯลฯ


 

RELATED ARTICLES

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img