หน้าแรกกระบวนการยุติธรรม“อดีตผู้พิพากษาฯ” รุดแจ้งความเอาผิด เว็บไซต์ LAW360.com กล่าว พาดพิงหาว่ามีเอี่ยวสินบนโตโยต้า

“อดีตผู้พิพากษาฯ” รุดแจ้งความเอาผิด เว็บไซต์ LAW360.com กล่าว พาดพิงหาว่ามีเอี่ยวสินบนโตโยต้า

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ที่กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) ผู้สื่อข่าวไทยแทบลอยด์รายงานว่า วันนี้ มีอดีตผู้พิพากษาทั้งสองคนให้การกับพนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปรามนานเกือบ 3 ชั่วโมง ได้เดินทางกลับ นายดิเรก อิงคนินันท์ อดีตประธานศาลฎีกา ให้ข้อมูลว่า คดีดังกล่าวจะมอบหมายให้พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามเป็นคนพิจารณาเรื่องการดำเนินคดีและข้อหาต่าง ๆ ซึ่งในเบื้องต้นมองว่า เป็นการหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา

ทั้งนี้ยังปฏิเสธข่าวกรณีที่เว็บไซต์ LAW360.com กล่าวพาดพิงนายดิเรก เข้าไปมีส่วนร่วมในการรับสินบนในคดีของบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ประเทศไทย โดยยืนยันว่าคดีดังกล่าวตนเองไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์ เพราะพ้นจากตำแหน่งไปก่อนที่คดีดังกล่าวจะมีคำพิพากษาทั้งสองศาล ซึ่งขณะนั้นอยู่ในช่วงปลายของการดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา และไม่ได้พิจารณาหรือเกี่ยวข้องกับคดี หรือวิ่งเต้นต่าง ๆ โดยข่าวดังกล่าวทำให้ได้รับความเสียหายอย่างมาก เพราะไม่ได้ทำผิด และรับสินบน

ภายในหนังสือแจ้งความร้องทุกข์ของอดีตผู้พิพากษาทั้งสองคน ระบุว่า ให้ดำเนินการสืบสวนตามกฎหมายกับสำนักข่าว Law360, นายแฟรงค์ ผู้เขียนบทความ, บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ประเทศไทย จำกัด , กรรมการผู้จัดการบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ประเทศไทย จำกัด, บริษัทโตโยต้า มอเตอร์สหรัฐอเมริกา และ บุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้หากผลการสืบสวนพบว่าบุคคลใดไม่ได้กระทำความผิดก็ขอให้กันไว้เป็นพยานและยังยืนยันความบริสุทธิ์และยินดีให้ตรวจสอบการเงินและทรัพย์สินว่ามิได้รับสินบนแต่อย่างใด

ด้าน พล.ต.ต.สุวัฒน์ แสงนุ่ม ผู้บังคับการกองปราบปราม (ผบก.ป.) เปิดเผยว่า หลังจากนี้จะให้ พ.ต.ต.หญิง พรพิมล ดอกไม้ พนักงานสอบสวน กองกำกับการ 1 กองบังคับการปราบปราม สอบปากคำนายดิเรก อิงคนินันท์ อดีตประธานศาลฎีกา และนาย ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม อดีตผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์ ซึ่งถูกพาดพิงจากข่าวที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ต่างประเทศ LAW360.com โดยมีเนื้อหาว่า มีผู้พิพากษา 3 คนมีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีภาษีของบริษัทโตโยต้าประเทศไทย โดยมีการจ่ายสินบนให้กับสำนักงานกฎหมายและผู้พิพากษาทั้ง 3 คนดังที่กล่าวมาข้างต้น โดยอดีตผู้พิพากษาทั้ง 2 ท่านได้นำภาพ และเนื้อหาภายในเว็บไซต์ ลิงค์เว็บไซต์ และ IP address ที่ปรากฏ มอบให้พนักงานสอบสวนไว้เป็นพยานหลักฐานในการสืบสวนสอบสวนเพื่อเอาผิดกับเว็บไซต์ ผู้ดูแลเว็บไซต์ และผู้โพสต์ข่าวดังกล่าว ในข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ซึ่งหลังจากนี้ตรวจสอบว่า คดีดังกล่าวเข้าข่ายเป็นคดีที่กองบังคับการปราบปรามสามารถรับทำคดีได้หรือไม่ เพราะอาจเข้าข่ายเป็นคดีที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักร ซึ่งกองบังคับการปราบปรามสามารถสืบสวนสอบสวนหาผู้กระทำผิดที่แท้จริงได้ ทั้งนี้คาดว่าจะใช้เวลาในการพิจารณาพยานหลักฐานและคำให้การของผู้แจ้งอีกสักระยะหนึ่ง

ส่วนนาย ไสลเกษ วัฒนพันธุ์ อดีตประธานศาลฎีกา ซึ่งประสงค์จะเข้าแจ้งความเพิ่มอีก 1 คนขณะนี้ทราบว่าได้มีการมอบอำนาจให้สำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้ตรวจสอบและดำเนินคดีการเผยแพร่ข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวและอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะเข้าแจ้งความกับกองบังคับการปราบปรามให้ช่วยดำเนินคดีกับเว็บไซต์ดังกล่าวมาพร้อมกันเหมือนกับผู้พิพากษาทั้ง 2 ท่านก่อนหน้านี้หรือไม่ ทั้งนี้หากได้สังเกตประสงค์จะแจ้งความพร้อมกันก็จะตรวจสอบข้อมูลพยานหลักฐานและติดตามตัวผู้ก่อความเสียหายในคราวเดียวกัน

RELATED ARTICLES
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img