หน้าแรกกระบวนการยุติธรรม'ศรีวราห์' กำชับทุกหน่วย เตรียมพร้อม-รับมือลดอุบัติเหตุ สงกรานต์ 2561

‘ศรีวราห์’ กำชับทุกหน่วย เตรียมพร้อม-รับมือลดอุบัติเหตุ สงกรานต์ 2561

ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร.ได้มีหนังสือสั่งการกำชับให้ทุกกองบัญชาการ วางมาตรการด้านการจราจรและลดอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2561 โดยหนังสือสั่งการดังกล่าวระบุว่า : “เพื่อให้การเตรียมความพร้อมปฏิบัติในภาพรวมของ ตร. ในการอำนวยความสะดวกด้านการจราจรและการป้องกันและลดอุบัติเหตุช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2561 ของ ตร. เป็นไปด้วยความเรียบร้อยจึงกำหนดให้มีมาตรการเพิ่มเติมด้านการจัดการจราจรและลดอุบัติเหตุเทศกาลสงกรานต์ โดยให้ดำเนินการตามมาตรการ ดังนี้

1.มาตรการอำนวยความสะดวกด้านการจัดการจราจรให้ทุกหน่วยดำเนินการเปิดช่องทางพิเศษ (Reversible Lane) ทั้งขาขึ้นและขาล่อง เพื่อเร่งระบายรถให้ประชาชนสามารถเดินทางไปยังจุดหมายได้โดยสะดวกที่สุด ทั้งนี้ ให้ยึดถือการปฏิบัติ ตามประกาศ “ข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรทั่วราชอาณาจักรว่าด้วยการกำหนดช่องทางหรือแนวทางเดินรถขึ้นและล่อง ในถนนบางสาย ช่วงเทศกาลสงกรานต์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตรวจสอบสภาพรถก่อนการออกเดินทาง ขอความร่วมมือผู้ประกอบการขนส่งให้หยุดขนส่งสินค้าโดยรถบรรทุกขนาดใหญ่ และเพิ่มความเข้มงวดกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน

ดำเนินการกวดขันรถยนต์ที่จอดพักบริเวณสถานีบริการน้ำมันไม่ให้จอดล้ำเข้ามาในทางอันเป็นการกีดขวางการจราจร ประชาสัมพันธ์แนะนำการใช้เส้นทางลัดในการเดินทางไปยังภูมิภาคต่าง ๆให้ทุกหน่วยดำเนินการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดเตรียมกำลังพล ยานพาหนะ และอุปกรณ์ในการช่วยเหลือประชาชน กรณีรถกีดขวางการจราจรจากการเกิดอุบัติเหตุ หรือการเคลื่อนย้ายรถกรณีรถเสียฉุกเฉินออกจากช่องทางเดินรถ โดยให้จัดเตรียมรถยกให้เพียงพอต่อการให้บริการเมื่อเกิดอุบัติเหตุและในกรณีที่รถยกของทางราชการไม่เพียงพอ ให้ดำเนินการประสานกับรถยกของภาคเอกชนในพื้นที่ ให้เพียงพอต่อการให้บริการประชาชนให้ทุกหน่วยสำรวจจุดซ่อมสร้างผิวการจราจร และประสานเพื่อขอคืนพื้นที่ผิวการจราจรให้สามารถใช้การให้ได้มากที่สุด และประชาสัมพันธ์จุดซ่อมสร้างดังกล่าวเพื่อป้องกันอุบัติเหตุเมื่อพบการนั่งโดยสารท้ายกระบะรถ ให้พิจารณาใช้มาตรการการว่ากล่าวตักเตือน เว้นแต่ หากพบว่าการโดยสารอยู่ในลักษณะที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายให้บังคับใช้กฎหมาย

2.มาตรการด้านการบังคับใช้กฎหมายเพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนนให้ทุกหน่วยดำเนินการกวดขันจับกุมใน 10 ข้อหาหลัก ได้แก่ ไม่มีใบขับขี่ ไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย มอเตอร์ไซค์ไม่ปลอดภัย ความเร็วเกินกำหนด ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร ขับรถย้อนศร ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะขับรถ แซงในที่คับขัน เมาสุรา โดยให้เน้นกวดขันจับกุมใน 5 ข้อหาหลัก ได้แก่ ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ขับรถในขณะเมาสุรา ขับรถโดยไม่สวมหมวกนิรภัย ขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ และขับรถโดยไม่รัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัย ให้เกิดผลการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้เริ่มดำเนินการกวดขันจับกุม ตั้งแต่วันที่ 27 มี.ค. – 18 เม.ย.61 กรณีเกิดอุบัติเหตุจราจรเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ได้รับอันตรายสาหัส หรือถึงแก่ความตาย ให้พนักงานสอบสวนจัดให้มีการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ผู้ขับขี่ทุกราย หากไม่สามารถตรวจวัดทางลมหายใจได้ให้ดำเนินการแจ้งให้แพทย์เวรประจำโรงพยาบาลทราบ เพื่อดำเนินการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์จากเลือดของผู้ขับขี่ ตามแนวทางที่ ตร. ได้เคยสั่งการไว้แล้ว

ให้ดำเนินการระงับยับยั้งและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนรำคาญ อันตราย และความเสียหายอันเกิดจากการขับขี่ยานพาหนะ โดยบังคับใช้กับการแข่งรถในทางและผู้ขับขี่รถโดยสารสาธารณะหรือรถบรรทุกตั้งแต่หกล้อขึ้นไปที่ประมาทหรือมีปริมาณแอลกอฮอล์เกินกว่ากฎหมายกำหนด ตามคำสั่ง หน.คสช. เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาอันเกิดจากการขับขี่ยานพาหนะ ให้ดำเนินการควบคุมผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก โดยมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงและเพิกเฉยต่อการบังคับใช้ทางกฎหมายและมีการกระทำความผิดซ้ำในข้อหาแข่งรถในทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตและขับรถในขณะเมาสุรา ตามคำสั่ง หน.คสช.เรื่อง มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ให้ ทุก สภ. ทำการตรวจสอบจุดที่มีปัญหาการเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ที่มีสาเหตุมาจากปัญหาด้านวิศวกรรมจราจร แล้วรายงานให้ ผบก.ภ.จว. ทราบ นำเรียนผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะ หน.ศปถ.จว. พิจารณาสั่งการเพื่อแก้ไขปัญหาในส่วนที่เกี่ยวข้อง ต่อไป ดำเนินการสนับสนุนกำลังเจ้าหน้าที่ร่วมปฏิบัติกับกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท ในการเฝ้าระวังและกวดขันบังคับใช้กฎหมายในเส้นทางที่กระทรวงคมนาคมกำหนดจำนวน 30 สายทาง (พื้นที่ 29 จังหวัด) ในระหว่างวันที่ 27 มี.ค. – 18 เม.ย.61 ให้ บก.ทล., บก.จร. ร่วมกับ สน.,สภ. ดำเนินการจัดให้มีการสุ่มทดสอบสารเสพติดในผู้ขับขี่รถโดยสาธารณะ ในสถานีขนส่งต้นทาง สถานที่พักรถระหว่างทาง และสถานีขนส่งปลายทาง โดยให้กำหนดสถานที่ที่จะตรวจและรายงานผลการปฏิบัติให้ทราบทุก 7 วัน โดยให้รายงานผลครั้งแรกในวันที่ 31 มี.ค.61 ผ่าน ศปก.ตร.”

RELATED ARTICLES

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img