หน้าแรกกระบวนการยุติธรรม"จตช. วิษณุ" ยัน มีการอมเบี้ยเลี้ยงโควิดจริง ย้ำชัดเจน ตร. ไม่มีนโยบาย คืนเงินทอน

“จตช. วิษณุ” ยัน มีการอมเบี้ยเลี้ยงโควิดจริง ย้ำชัดเจน ตร. ไม่มีนโยบาย คืนเงินทอน

เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) พล.ต.อ.วิสนุ ปราสาททองโอสถ จเรตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีสั่งตรวจสอบข้อเท็จจริงตำรวจถูกอมเบี้ยเลี้ยงโควิด หลังมีกลุ่มตำรวจบางส่วนเผยแพร่ข้อมูลเรียกร้องความเป็นธรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ในหลายพื้นที่กองบัญชาการทั่วประเทศ ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการให้กองบัญชาการแต่ภาคเร่งทำรายงานข้อเท็จจริงขึ้นมาพิจารณารวมถึงมีการตั้งชุดจเรตำรวจตรวจสอบเรื่องนี้แบบคู่ขนาน มีระยะเวลากำหนดให้ได้ข้อสรุปภายใน 10 วัน นับตั้งแต่มีการออกคำสั่งเมื่อวันที่ 6 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยเชื่อว่าเรื่องนี้ไม่ใช่การกระทำความผิดเป็นขบวนการแต่เป็นความผิดรายบุคคล ซึ่งหากพบว่าใครเข้าข่ายการกระทำความผิดจะสรุปสำนวนส่งให้คณะกรรมการป้องกันการทุจริตแห่งชาติ ชี้มูลความผิดตามมาตรา 157 ต่อไป

พล.ต.อ.วิสนุ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้รับงบกลางจากรัฐบาลมาเพื่อแก้ปัญหาสถานการณ์ฉุกเฉินโควิด-19 มาจำนวน 2,521 ล้านบาท แบ่งเป็นหลายส่วน โดยแต่ละกองบัญชาการที่มีภารกิจการตั้งด่าน การจัดเตรียมวัสดุทางการแพทย์ จัดทำแผนเสนอมาเพื่อเบิกจ่าย โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะพิจารณาจัดสรรงบประมาณไปตามที่แต่ละกองบัญชาการเสนอมา ซึ่งในการเบิกจ่ายลงไปในพื้นที่นั้น แต่ละกองบัญชาการ จะพิจารณาย่อยลงไปในระดับกองบังคับการ และระดับสถานีตำรวจ

ซึ่งที่เป็นข่าวเป็นส่วนของเบี้ยเลี้ยงการตั้งด่าน ที่ต้องได้รับชั่วโมงละ 60-70 บาท วันละไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน แต่ไปไม่ถึงตำรวจที่ทำงานจริง โดย พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. สั่งการให้หน่วยที่มีหน้าที่เบิกงบประมาณทั้งหมด ไปตรวจสอบว่าการเบิกจ่ายเป็นไปตามระเบียบถูกต้องหรือไม่ และมีชุดทำงานของจเรตำรวจลงไปตรวจสอบคู่ขนานกันไป ทั้งนี้การเรียกเงินเบี้ยเลี้ยงคืนไม่ใช่นโยบายของ ตร. แน่นอน เป็นไปตามข้อเท็จจริงว่าใครไปทำงานตั้งด่าน ต้องได้รับเบี้ยเลี้ยงนั้น เบื้องต้นจากที่ได้รับฟังมาจะทำในลักษณะโอนเงินให้ก่อน และให้ตำรวจกดเงินมาคืน ซึ่งหากตรวจสอบแล้วมีเหตุการณ์ทอนเงินเกิดขึ้นจริง ถือว่าเป็นเรื่องทุจริต และเรื่องนี้ต้องมีผู้รับผิดชอบ

จเรตำรวจแห่งชาติ ยังกล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่มีตำรวจชั้นผู้น้อยใน สภ.เมืองลำปาง ให้ข้อมูลว่าเริ่มมีการสร้างพยานหลักฐานเท็จโดยการขอให้ตำรวจชั้นผู้น้อยถอนเงินสดจากธนาคารมาคืนให้กับตำรวจ โดยจะมีการทำเอกสารในลักษณะชดใช้เงินที่มีการกู้ยืมจากทางโรงพักเรื่องนี้ อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริง หลังจากเรื่องนี้เป็นข่าวขึ้นมา อาจมีความพยายามในการตกแต่งบัญชี หรือใช้วิธีการปิดอำพรางการกระทำ เพื่อหลบเลี่ยงการตรวจสอบ ซึ่งในส่วนนี้มั่นใจว่า น่าจะมีพยานหลักฐานเพียงพอเอาผิดได้

อย่างไรก็ตามสำหรับการแชร์พยานเอกสารหลักฐานทางการเงินหรือการร้องเรียนทางโซเชียลมีเดีย ก็จะมีฝ่ายตรวจสอบรวบรวมข้อมูลดังกล่าวมาให้จเรตำรวจพิจารณา พร้อมกันนี้ยังพร้อมเปิดรับเรื่องราวร้องทุกข์ทางช่องทางต่างๆ ด้วย

RELATED ARTICLES
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img