นอกจากนี้ในการ จัดตั้งทีมฟื้นฟูอุทกภัย (one team for all jobs) มอบหมาย เกษตรจังหวัดและเกษตรอำเภอ ในฐานะประธานคณะทำงานปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญและแก้ไขปัญหาภาคเกษตร ทั้งระดับจังหวัดและระดับอำเภอ ในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย อำนวยการและบูรณาการการทำงาน การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ลงพื้นทีสำรวจความเดือนร้อน และการช่วยเหลือเกษตรกรด้านต่างๆ เพื่อหยุดยั้งความเสียหาย เช่น การเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่มต่ำ การบำบัดน้ำเสียในพื้นที่เกษตร การให้บริการคลินิกเกษตร (พืช ประมง ปศุสัตว์) การสำรวจความเสียหายและเยียวยาหลังการเกิดภัย และประสานงานกับกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระดับพื้นที่ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันและลดผลกระทบจากสถานการณ์ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในห้วงระยะเวลาดังกล่าว
นอกจากนี้ยังได้สั่งการให้ทุกสำนักงานเกษตรจังหวัด ดำเนินการ ดังนี้
1.เฝ้าระวังและแจ้งเตือนเกษตรกร ให้ทราบสถานการณ์เพื่อเตรียมความพร้อม และติดตามประกาศเตือนภัยจากหน่วยงานราชการอย่างใกล้ชิด
2.ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรให้เป็นปัจจุบัน เพื่อเป็นฐานข้อมูลหากกรณีเกิดภัย จะได้ทำการช่วยเหลือต่อไป
3.ประเมินสถานการณ์และวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงในพื้นที่เกษตรและแจ้งให้กรมทราบได้ทันทีผ่านไลน์แอพพลิเคชั่น
4.รายงานสถานการณ์ การช่วยเหลือ ความต้องการของเกษตรกร ปัญหาอุปสรรค ทุกวันจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ
5.หลังจากผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศเขตให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ให้เร่งแจ้งสิทธิ์ให้เกษตรกรทราบและดำเนินการตามขั้นตอนการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ โดยเร็ว