หน้าแรกการเมืองตร.วางมาตราการเข้ม รับมือม๊อบ นัดชุมนุมธรรมศาสตร์ 19 ก.ย.นี้

ตร.วางมาตราการเข้ม รับมือม๊อบ นัดชุมนุมธรรมศาสตร์ 19 ก.ย.นี้

ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกตร. กล่าวถึงแนวทางกรดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ต่อการชุมนุมในวันที่ 19 ก.ย.นี้ ว่า ในการชุมนุมที่ผ่านมา เดิมที่เราใช้แผนกรกฎ 52 ในการดำเนินการควบคุมสถานการณ์ แต่ด้วยความที่เราใช้มาตั้งแต่ปลายปี 2551 ซึ่งเป็นระยะเวลานานแล้ว จึงมีการปรับปรุงมาเป็นแผนการชุมนุม 63 ด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป อีกครั้งในปัจจุบันเรายังคงอยู่ภายใต้การประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ว่าด้วยการป้องการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด19 จึงมีความจำเป็นต้องประสานงานกับหน่วยร่วมปฏิบัติต่างๆ เช่นการตั้งจุดคัดกรอง ประการสำคัญของแผนการชุมนุม 63 จะมีการปรับให้เข้ากับ พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ โดยจะมีการกำหนดขั้นตอน ระเบียบ แนวทางการปฏิบัติของผู้เข้าร่วมชุมนุม และแนวทางการปฏิบัติของทางเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะยังคงยึดแนวทางการดำเนินการจากเบาไปหาหนัก เราไม่ได้มุ่งเน้นในการใช้กำลัง เบื้องต้นได้ทยอยวางกำลังเจ้าหน้าที่ทั้งในเครื่องแบบและนอกเครื่องแบบไว้ตามพื้นที่ต่างๆ ส่วนการปิดถนนทาง บช.น.ได้ประชาสัมพันธ์ให้ทราบไปแล้ว ว่าจะมีการปิดกั้นในบริเวณใดบ้าง สำหรับกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ครั้งนี้ เป็นกำลังของกองร้อยควบคุมฝูงชนทั่วประเทศ โดยใช้กำลังประมาณ 1 หมื่นกว่าคน สำหรับจำนวนผู้เข้าร่วมชุมนุมจะมีจำนวนเท่าไหร่ไม่ใช่ประเด็น แต่ประเด็นคือว่าแม้จะมีผู้ชุมนุมจำนวนมากแต่ไม่ทำผิดกฎหมาย ไม่กระทบสิทธิ์ของผู้อื่นก็สามารถทำได้ แต่ถ้ามาน้อยแต่ไปละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่นหรือละเมิดกฎหมาย ซึ่งจุดนี้เป็นประเด็นสำคัญกว่า ส่วนการเฝ้าระวังบุคคลที่ 3 จะเข้ามาสร้างสถานการณ์ ถือเป็นนโบบายสำคัญของ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร.ที่รับนโยบายมาจากรัฐบาล ที่ต้องดำเนินการดูแลอย่างเต็มที่ หัวใจสำคัญของเจ้าหน้าที่ตำรวจคือการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ทั้งกลุ่มผู้เข้าร่วมชุมนุมและพี่น้องประชาชนโดยทั่วไป

ด้าน พลตำรวจโทภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เปิดเผยถึงการดูแลความปลอดภัย การชุมนุมในวันที่19-20 กันยายน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ว่า สถานการณ์โดยทั่วไปยังไม่น่าเป็นห่วง และยอมรับว่าจนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานเรื่องการขออนุญาตจัดการชุมนุมต่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ส่วนกรณีแผนการดูแลความสงบเรียบร้อยที่จากเดิมมีการกำหนดใช้แผน “กรกฎ52” เป็นแนวทางหลักในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ก่อนที่จะมีการปรับไปใช้ “แผนชุมนุม 63” ที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพิ่งลงนามอนุมัติคำสั่งใช้ไปเมื่อวันที่ 15 กันยายน ชี้แจงว่าแผนที่ปรับเปลี่ยนไป เป็นเพียงกรอบการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในสถานการณ์ต่างๆ เท่านั้น เป็นเรื่องภายในของตำรวจ โดยยืนยันว่าในการปฏิบัติก็จะดำเนินการภายใต้กรอบของกฎหมาย ทั้งนี้ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้กำชับไม่ให้ใช้ความรุนแรงและเน้นย้ำดูแลความปลอดภัยของผู้ชุมนุมและประชาชนทั่วไปอย่างเข้มงวด
ส่วนเรื่องการให้ข้อมูลภาพรวมการชุมนุม รวมถึงมาตรการดูแลความปลอดภัยการชุมนุม ตลอด 2 วันนี้ เนื่องจากการชุมนุมไม่ได้จำกัดแค่ในพื้นที่กรุงเทพฯ เพียงที่เดียว แต่มีขึ้นพร้อมกันในหลายจังหวัด ดังนั้นจึงต้องให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้ให้รายละเอียด

สำหรับ แผนรักษาความสงบชุมนุมสาธารณะ หรือ แผนการชุมนุม 63 มีความแตกต่างจากแผนกรกฎ 52 ตรงที่แผนเดิม เป็นเพียงการกำหนดแผนการปฏิบัติของตำรวจ ว่าจะมีกรอบการปฏิบัติต่อสถานการณ์การชุมนุมอย่างไร ส่วนแผนการชุมนุม 63 เป็นการนำแผนการดังกล่าว ยกโครงสร้างไปปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดให้ทันสมัย สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การชุมนุมในที่สาธารณะ และนำไปบรรจุในกฎหมาย เพื่อให้มีผลบังคับใช้

หลีกเลี่ยง 11 เส้นทางรอบ มธ.-สนามหลวงที่อาจกระทบ ยังไม่ชัดม็อบมีแผน

พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก รอง ผบช.น.
แนะประชาชน หลีกเลี่ยงเส้นทางการจราจรระหว่างวันที่ 19 – 20 กันยายน 2563 เนื่องจากจะมีการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มธรรมศาสตร์และการชุมนุม และคณะประชาชาปลดแอก บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และอาจมีการเคลื่อนขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาล โดย9เ​ส้นทาง 2 สะพาน เส้นทางที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ ถนนราชดำเนินใน / ถนนหลานหลวง / ถนนราชดำเนินกลาง
/ ถนนดินสอ / ถนนราชดำเนินนอก / ถนนตะนาว / ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า / สะพานพระราม 8 / ถนนวิสุทธิกษัตริย์ / สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า /ถนนจักรพรรดิพงษ์

ส่วนเส้นทางที่แนะนำให้ประชาชนไปใช้เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านการจราจร ได้แก่ เส้นทางจากฝั่งพระนคร ไปฝั่งธนบุรี หากลงจากทางด่วนยมราช สามารถเลี่ยงเส้นทางไปใช้ถนนสวรรคโลก เข้าถนนราชวิถี ข้ามสะพานกรุงธนบุรี หรือสะพานซังฮี้

หากมาจากทางถนนพระราม 6 สามารถเลี่ยงเข้าทางถนนพระราม 1 ไปทางถนนเลียบคลองผดุงกรุงเกษม เข้าถนนเยาวราช – ถนนจักรวรรดิ์ ไปขึ้นสะพานพระปกเกล้า

หากมาทางถนนพระราม 4 สามารถเข้าทางถนนเยาวราช ไปทางถนนจักรวรรดิ์ เพื่อข้ามสะพานพระปกเกล้า หรือไปทางถนนสาทรใต้ ข้ามสะพานตากสิน ข้ามไปฝั่งธนบุรีได้เช่นกัน

ส่วนเส้นทางที่จะมาจากฝั่งธนบุรี ข้ามไปฝั่งพระนคร หากใช้เส้นคู่ขนานลอยฟ้า สามารถเข้าทางด่วนศรีรัช – ไปแจ้งวัฒนะ หรือ จตุจักร หรือลงถนนสิรินธร ข้ามสะพานกรุงธน หรือสะพานซังฮี้ เพื่อเข้าถนนพระราม 6

หากมาจากทางสะพานพระปกเกล้า สามารถเข้าทางถนนจักรเพชร ไปทางถนนมหาไชย ผ่านแยกสามยอด เข้าถนนเจริญกรุง เพื่อออกไปยังถนนพระราม 4 หรือจากแยกสามยอด เข้าถนนเจริญกรุง ไปทางแยกเอสเอบี ผ่านถนนวรจักร ถนนบำรุงมือง เพื่อเข้าถนนพระราม 1

หากมาทางสะพานพุทธยอดฟ้า ก็สามารถเข้าถนนจักรเพชร ถนนอัษฎางค์ – ถนนบำรุงเมือง ไปถนนพระราม 1

รอง ผบช.น.กล่าวว่า เบื้องต้น จะยังไม่มีการปิดจราจร ยกเว้นกรณีที่กลุ่มผู้ชุมนุมเต็มพื้นที่และลงมายังพื้นผิวการจราจร ก็จะเสนอให้มีการปิดการจราจรในจุดนั้น ส่วนกรณีที่มีการเคลื่อนขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาล อาจจะมีการพิจารณาปิดการจราจรชั่วคราวบางจุด ซึ่งตำรวจเตรียม 2เส้น คือ ถนนราชดำเนินนอก และถนนนครสวรค์ ส่วนกรณีกลุ่มผู้ชุมนุมจะเคลื่อนขบวนแบบดาวกระจายไปในพื้นที่ต่างๆและอาจมีการเคลื่อนขบวนในเวลากลางคืนนั้น ตำรวจวางมาตรการไว้ตลอด 24 ชม.อยู่แล้วและไม่ว่าจะดาวกระจายไปจุดไหนสามารถรองรับได้ โดยจะใช้กำลังตำรวจจราจร กว่า 300นาย เข้าประจำจุดทันที พร้อมกันนี้ตำรวจได้กำหนดเส้นทาง กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินเพื่อนำคนเจ็บส่ง รพ.ใกล้เคียงให้เร็วที่สุด ประกอบด้วย ถ.พระอาทิตย์, สนามไชย, และถนนดินสอ เนื่องจากคำนึงถึงชีวิตและความปลอดภัยของประชาชน

ส่วนบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พื้นที่ชุมนุมหลัก ได้กำหนดจุดตรวจคัดกรองไว้ 4 จุด เพื่อตรวจคัดกรองโควิด รวมถึงตรวจอาวุธและสิ่งผิดกฎหมาย โดยจะมีกำลังตำรวจ 16 นาย ปฎิบัตินหน้าที่ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งเจ้าหน้าที่ กทม.และสาธารณสุข

รอง ผบช.น.กล่าวว่า จนถึงขณะนี้แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมยังไม่ประสานขออนุญาตใช้พื่นที่ชุมนุม หรือใช้เครื่องขยายเสียงในการเคลื่อนขบวน ซึ่งฝ่ายความมั่นคงอยู่ระหว่างการประสานกับทางแกนนำ ส่วนกรณีประชาชนที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดนั้น ยืนยันตำรวจไม่มีการสกัดกั้น เนื่องจากการขุมนุมเป็นสิทธิ์ แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย

สำหรับจุดจอดรถของสื่อมวลชน ได้กำหนดไว้บริเวณ ถนนราชินี หน้าโรงละครแห่งชาติและบริเวณใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯยืนยันสามารถรองรับได้เพียงพอ

ส่วนกรณีฝนตกเนื่องจากมีพายุโนอึล และกรุงเทพฯจะได้รับผลกระทบด้วยนั้น ทางตำรวจได้มีการเตรียมความพร้อมเช่นกัน โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเตรียมแผนฉุกเฉินแล้ว

RELATED ARTICLES
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img