เมื่อวันที่ 14 ก.ย.2563 ที่ศาลล้มละลายกลาง นัดฟังคำสั่งคดีหมายเลขดำที่ ฟฟ๑๐/๒๕๖๓ ระหว่าง บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ลูกหนี้ผู้ ร้องขอ กับเจ้าหนี้ผู้คัดค้าน โดยมีรายละเอียดดังนี้
คดีนี้ ลูกหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการและขอให้ศาลตั้งบุคคลที่ ลูกหนี้ผู้ร้องขอเสนอเป็นผู้ทำแผน ศาลประกาศนัดไต่สวนตาม กฎหมายแล้ว มีเจ้าหนี้ยื่นคำคัดด้าน รวม ๑๖ ราย ขอให้ศาลยก คำร้องขอฟื้นฟูกิจการ และคัดค้านผู้ทำแผนที่ลูกหนี้ผู้ร้องขอเสนอ ระหว่างพิจารณา ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้คัดค้านที่ ๕ ที่ ๗ ที่ ๙ และที่ ๑๖ ถอนคำคัดค้าน
ศาลไต่สวนพยานลูกหนี้ผู้ร้องขอ รวม ๕ ปาก และไต่สวนพยาน เจ้าหนี้ผู้คัดค้าน รวม ๓ ปาก โดยใช้เวลาพิจารณาคดี รวม ๓ นัด ศาลพิเคราะห์คำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ คำคัดค้าน และ พยานหลักฐานในสำนวนคดีแล้ว คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยประการแรก ว่า ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่สามารถที่จะชำระหนี้ตามกำหนดได้ หรือไม่ ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อพิจารณางบแสดงฐานะทางการ เงิน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 และวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ลูกหนี้มี หนี้สินมากกว่าสินทรัพย์และส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ ซึ่งงบแสดงฐานะ ทางการเงินได้ตรวจสอบและสอบทานตามมาตรฐานการบัญชีโดยผู้ สอบบัญชีรับอนุญาตแล้ว ประกอบกับสินทรัพย์ในงบแสดงฐานะการ เงินของลูกหนี้บางรายการมิได้เป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าที่สามารถยึด หรือบังคับชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายได้ เป็นเพียงการบันทึกตาม มาตรฐานทางบัญชีเท่านั้น นอกจากนั้น ปัจจุบันลูกหนี้มีหนี้สินที่ถึง กำหนดชำระ โดยลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ที่ถึงกำหนดได้ ซึ่งในเรื่อง นี้เจ้าหนี้ผู้คัดค้านในคดีก็ไม่ได้นำสืบเป็นอย่างอื่น ลูกหนี้จึงมีหนี้สิน ล้นพ้นตัวและไม่สามารถที่จะชำระหนี้ตามกำหนดได้ โดยเป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนรวมกันเป็นจำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่าสิบล้าน บาท
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยประการที่สองว่า มีเหตุอันสมควรและช่อง ทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้หรือไม่ ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า โครงสร้างธุรกิจของลูกหนี้เป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้ และมีความจำเป็นต่อระบบการคมนาคมและขนส่งทางอากาศ ลูกหนี้มี ทรัพยากรในการดำเนินธุรกิจที่มีมูลค่าและบุคลากรที่มีความ เชี่ยวชาญ รวมทั้งมีชื่อเสียงและประสบการณ์จากการประกอบกิจการ มานาน ปัจจุบันลูกหนี้ยังคงมีความสามารถในการสร้างรายได้ สาเหตุ ที่ทำให้ลูกหนี้ประสบปัญหาทางการเงิน มิได้เกิดจากพื้นฐานธุรกิจของ ลูกหนี้อย่างแท้จริง แต่เกิดจากสภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรมการ บินที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะผลกระทบจากการแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เกิดขึ้น อย่างรุนแรง ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยภายนอก ทำให้การประกอบกิจการการ บินพาณิชย์ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของลูกหนี้และธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องต้องลด การให้บริการลงอย่างฉับพลัน เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมการบินใน ต่างประเทศ หากลูกหนี้ไม่ได้รับการฟื้นฟูกิจการ กรณีย่อมเกิดความ เสียหายต่อลูกหนี้ เจ้าหนี้ทั้งหลาย ลูกจ้าง ผู้ลงทุนในกิจการของลูกหนี้ ประชาชน และกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
ส่วนช่องทางการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้นั้น เจ้าหนี้ผู้ให้เช่าหรือผู้ ให้เช่าซื้อเครื่องบินหลายรายสนับสนุนให้ลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการ ฟื้นฟูกิจการ และยินยอมให้ลูกหนี้ใช้เครื่องบินที่ให้เช่าหรือให้เช่าซื้อ โดยพักหรือขยายระยะเวลาการชำระหนี้บางส่วน เพื่อสนับสนุนให้ ธุรกิจของลูกหนี้ดำเนินต่อไปได้ อีกทั้งลูกหนี้ยังมีหนังสือสนับสนุนการ เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการและไม่ประสงค์คัดค้านคณะผู้ทำแผนที่ ลูกหนี้เสนอมาแสดงเป็นหลักฐานยืนยันว่า ลูกหนี้ได้เจรจาประนอมหนี้ เรื่อยมาและได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหนี้ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้สถาบัน
การเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผู้ให้เช่าและให้เช่าซื้อเครื่องบิน ผู้ให้บริการด้านอากาศยาน สายการบินคู่ค้า ผู้ถือหุ้นกู้รายใหญ่ และ หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบธุรกิจของลูกหนี้ ทำให้ข้อกล่าวอ้างของลูกหนี้มีน้ำหนัก
ดังนี้ หากได้มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โครงสร้างองค์กร และ การบริหารจัดการของลูกหนี้ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ เพื่อให้ สอดคล้องกับความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดในอนาคตตาม ความเหมาะสมภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละ ลายฯ ลูกหนี้ย่อมมีโอกาสดำเนินธุรกิจต่อไป และมีรายได้สามารถ ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้อย่างเป็นธรรมในจำนวนที่ดีขึ้นกว่าเดิมหรือ อย่างน้อยจะไม่ได้รับความเสียหายเพิ่มเติมจากการคงสภาพกิจการ ของลูกหนี้ไว้ ทั้งสามารถรักษาการจ้างงานจำนวนมาก ซึ่งเป็น ประโยชน์มากกว่าการปล่อยให้กิจการของลูกหนี้ต้องล้มละลาย ข้อ เท็จจริงจึงฟังได้ว่า มีเหตุอันสมควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของ ลูกหนี้
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยประการที่สามว่า ลูกหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟู กิจการโดยสุจริตหรือไม่ ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อลูกหนี้เป็นผู้มีหนี้ สินล้นพ้นตัวและไม่อาจชำระหนี้ตามกำหนดได้ ลูกหนี้ย่อมมีสิทธิยื่น คำร้องขอได้ตามกฎหมาย
ทั้งเจ้าหนี้ผู้คัดค้านในคดีไม่ได้นำสืบพยาน หลักฐานใดให้รับฟังได้ว่า ลูกหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการโดยไม่ สุจริต นอกจากนี้ การที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ย่อมมีผล เป็นเพียงการจัดตั้งกระบวนการบังคับเจ้าหนี้ทั้งหลายและลูกหนี้ ให้ เจรจาตกลงกันในเรื่องมูลหนี้ โดยมีผู้ทำแผนเป็นผู้แทนของลูกหนี้ใน การจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ เพื่อหาวิธีการรักษามูลค่าทรัพย์สินของลูก หนี้ และเพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้มากที่สุดด้วยความเป็นธรรม จาก ข้อเท็จจริงที่วินิจฉัยข้างต้นจึงรับฟังได้ว่า ลูกหนี้มีคุณสมบัติครบถ้วน
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙๐/๓ และได้ความ จริงครบถ้วนตามมาตรา ๙๐/๑๐ คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยประการสุดท้ายว่า บุคคลที่ลูกหนี้เสนอ สมควรเป็นผู้ทำแผนหรือไม่ ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า ตามเจตนารมณ์ ของพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ผู้ทำแผนต้องตรวจสอบรายละเอียด และความเป็นไปได้จากการปรับโครงสร้างหนี้ภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการ ของลูกหนี้บนหลักการที่ว่าแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จะต้องก่อให้เกิด ความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย และเจ้าหนี้จะต้องได้รับชำระหนี้ ภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการมากกว่ากรณีที่ลูกหนี้ล้มละลาย ซึ่งแผนฟื้นฟู กิจการต้องจัดทำขึ้นโดยความยินยอมของเจ้าหนี้และผู้ทำแผน หากผู้ ทำแผนจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการที่ไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าหนี้ที่มี สัดส่วนหนี้ข้างมากตามกฎหมาย หรือทำให้เจ้าหนี้ได้รับความเสีย หายเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม แผนฟื้นฟูกิจการเช่นว่านั้นย่อมไม่ได้รับความ เห็นชอบให้มีผลบังคับและผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหลายได้
ด้วยหลักการดังกล่าว บุคคลซึ่งลูกหนี้เสนอเป็นผู้ทำแผน ย่อมไม่ สามารถจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการไปตามที่ตนเองต้องการโดยปราศจาก ความร่วมมือจากเจ้าหนี้อื่นได้ ทั้งเจ้าหนี้ผู้คัดค้านในคดีก็ไม่ได้นำสืบ พยานหลักฐานอื่น เพื่อสนับสนุนข้อกล่าวอ้างให้รับฟังได้ตามคำ คัดค้าน และไม่ได้เสนอบุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นผู้ทำแผน เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ผู้ที่ลูกหนี้เสนอขาดคุณสมบัติที่เหมาะสม หรือไม่สมควรเป็นผู้ทำแทน จึงเห็นสมควรตั้งบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ทำ แผนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙๐/๑๗
ศาลจึงมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ลูกหนี้ผู้ร้องขอ โดยตั้งบริษัท อีวาย คอร์ปอเรท แอดไวซอรี่ เซอร์วิสเซส จำกัด ร่วมกับพลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน นายพี ระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค นายบุญทักษ์ หวังเจริญ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล และนายชาญศิลป์ ตรีนุชกร เป็น ผู้ทำแผน