หน้าแรกเศรษฐกิจ-การเงินผู้เลี้ยงสัตว์น้ำยื่นนายกฯขอบคุณแก้โควิด-19

ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำยื่นนายกฯขอบคุณแก้โควิด-19

ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ถนนพิษณุโลก กรุงเทพฯ) ผู้แทนองค์กรสำคัญการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ นำโดย นายบรรจง นิสภวาณิชย์ ประธานสมาพันธ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย, ดร. สมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทย, นายสมชาย ฤกษ์โภคี นายกสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทย, นางสาวพัชรินทร์ จินดาพรรณ นายกสมาคมกุ้งตะวันออกไทย, นายสมาน พิชิตบัญชรชัย นายกสมาคมผู้เพาะเลี้ยงปลาไทย, นายสุทธิ มะหะเลา, นายกสมาคมผู้เพาะเลี้ยงปลาทะเลไทย, นายปกครอง เกิดสุข อุปนายกสมาคมกุ้งไทย-ประธานที่ปรึกษาชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดกระบี่ ได้เดินทางไปเข้ายื่นจดหมายเปิดผนึก ถึง พล.อ.เอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เพื่อขอบคุณที่ช่วยแก้ไขสถานการณ์ฯโควิด-19 ให้กับประเทศดีขึ้น เป็นที่ชื่นชมของนานาประเทศทั่วโลก และ ขอให้เพิ่มมาตรการเฝ้าระวัง ตรวจเข้มการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำ อาหารทะเล และอื่นๆ จากประเทศ/กลุ่มประเทศที่มีการระบาดของ โควิด-19 อย่างเข้มแข็ง รัดกุมที่สุด เพื่อความปลอดภัยของพลเมืองไทย และภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ

โดยประธานสมาพันธ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย เปิดเผยว่า ภายหลังจากมีรายงานข่าวในสื่อทั่วโลกและสื่อต่างๆในประเทศไทย เกี่ยวกับประเด็นที่บริษัทส่งออกปลาแซลมอนรายใหญ่ในนอร์เวย์ ได้ออกมาเปิดเผยว่า จีนขอยุตินำเข้าปลาแซลมอน หลังจากตรวจพบเชื้อโควิด-19 บนเขียงแล่ปลาในตลาดซินฟาตี้ ที่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่เกี่ยวข้องกับตลาดแห่งนี้จำนวนมาก โดยเชื้อโรคดังกล่าวอาจปนเปื้อนมากับอาหาร ซึ่งได้เพิ่มความวิตกกังวลให้กับผู้บริโภคและเชื่อว่าข้อมูลดังกล่าวได้สร้างความตกใจให้กับคนในประเทศ

ดังนั้น จึงอยากขอให้นายกรัฐมนตรี พิจารณาสั่งการปฏิบัติการเชิงรุก ในการเฝ้าระวัง ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ อาหาร สินค้าสัตว์น้ำ อาหารทะล และอื่นๆที่นำเข้ามา จากประเทศกลุ่มเสี่ยงที่มีการระบาดของโควิด-19 มีการตรวจย่างเข้มข้น เพื่อความปลอดภัย

ขณะเดียวกันในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผู้ส่งออกกุ้งไทยได้รับผลกระทบไม่สามารถส่งออกกุ้งได้ กว่า 30,000 หมื่นตัน เนื่องจากมีการปิดประเทศ เพื่อสกัดการแพร่ระบาด แต่ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดดีขึ้น ทำให้ไทยเริ่มกลับมาส่งออกได้อีกครั้ง โดยในปีนี้ทางสมาพันธ์ตั้งเป้าผลิตกุ้งเพื่อส่งออกอยู่ที่ 250,000-300,000 ตัน หากโรคระบาดโควิด-19 ไม่ยืดเยื้อและเกษตรกรกลับมาเลี้ยงกุ้งได้จะมียอดส่งออกตามเป้าหมายแน่นอน

RELATED ARTICLES
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img