หน้าแรกการเมือง"นายกฯ" แจงสภาอีกรอบยินดีรับฟังคำอภิปรายไปปรับปรุง

“นายกฯ” แจงสภาอีกรอบยินดีรับฟังคำอภิปรายไปปรับปรุง

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ชี้แจงต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ระหว่างพิจารณาร่าง พ.ร.บ.โอนงบประมาณรายจ่าย วงเงินกว่า 88,000 ล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาโควิด -19 อีกครั้งว่า หลังจากที่ฟังการอภิปรายของ ส.ส. หลายคน เป็นประโยชน์ พร้อมนำไปปรับปรุงพิจารณา อะไรที่ไม่เป็นประโยชน์ จะรับฟังแต่จะให้เข้าหูซ้ายทะลุหูขวาไปยืนยันว่า จะนำไปใช้จ่ายให้สอดคล้องกับ สภาพความเป็นจริง อยากย้ำว่ากฎหมายวันนี้เป็นคนละฉบับ กับ พ.ร.ก.กู้เงิน ซึ่งงบประมาณที่พิจารณาวันนี้มีทั้งงบบุคลากร งบการดำเนินงาน งบการลงทุน และงบอุดหนุน และงบใช้จ่ายอื่นๆ

ส่วนกรณีที่มีการอภิปรายโจมตีการใช้จ่ายงบกลาง ยืนยันว่างบส่วนนี้ ไม่ใช่นายกรัฐมนตรีคนเดียวที่เป็นผู้พิจารณา ซึ่งงบกลางส่วนนี้ ต้องนำไปใช้เป็นเบี้ยหวัดบำนาญ สำหรับปรับเงินเดือนข้าราชการและเงินสมทบลูกจ้างประจำ กว่า 5.1แสนล้านบาท เป็นเงินสำรองกรณีฉุกเฉิน 96,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ใช้จ่ายไปแล้วเหลือเพียง 400 ล้านบาทเท่านั้น โดยแบ่งออกเป็นค่าใช้จ่าย 4 กลุ่ม คือเงินสำหรับการแก้ปัญหาสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 จำนวน กว่า 56,000 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งและอุทกภัยกว่า 18,000 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายด้านเศรษฐกิจและสังคม กว่า 11,000 ล้านบาท และค่าใช่จ่ายในการบริหารจัดการภาครัฐ กว่า 9,000 ล้านบาท ซึ่งเหตุผลที่จำเป็นต้องใช้ไปก่อนเพราะ พ.ร.บ.โอนงบ และพ.ร.ก.กู้เงินยังไม่ออก โดยรวมที่ใช้ไปแล้ว กว่า 95,000 ล้านบาท จึงขอให้เข้าใจสัดส่วนงบกลางให้ดีก่อน ย้ำว่าการบริหารเงินไม่ใช่อำนาจการบริหารของนายกฯเพียงอย่างเดียว และไม่ใช่เงินของนายกฯ และตามกฎหมายการจะโอนงบกลางออกจากส่วนราชการต้องทำเป็นพระราชบัญญัติเท่านั้น จึงได้เสนอร่างพ.ร.บ.โอนงบประมาณฯ ในวันนี้ (4มิ.ย.) และการจะจัดสรรงบกลางให้กับหน่วยงานต่างๆ นั้นเป็นอำนาจการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีตามความจำเป็น

ขณะที่เหตุผลที่ไม่เสนอ พ.ร.บ.โอนงบฯ ก่อน พ.ร.ก.กู้เงินนั้น นายกรัฐมนตรีชี้แจงว่า จัดทำได้เร็วกว่า เพราะแม้จะกู้เงินก็เชื่อว่าไม่เพียงพอ เนื่องจากมีปัญหาหลายมิติไม่ใช่เพียงสถานการณ์โควิด-19 เท่านั้น โดยจากการประมาณการณ์ ค่าใช้จ่ายเยียวยาประชาชน ถึง 55,000 ล้านบาท ซึ่งเงินสำรองจ่ายที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ย้ำว่าเงิน 2 ก้อนทั้งจาก พ.ร.ก. และพ.ร.บ.จะเข้ามาอยู่ในกรอบการใช้จ่าย ที่รัฐบาลกำหนด ว่าจะเอาไปใช้จ่ายส่วนใดบ้าง ตามความจำเป็นของสถานการณ์ ซึ่งมีแผนการใช้จ่ายชัดเจน โดยเงินที่มีการโอนกลับมาในครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นงบจากโครงการที่ยังทำสัญญาไม่ได้ โครงการที่แผนรายละเอียดที่ยังไม่สมบูรณ์ ทำให้จำเป็นต้องหยุดโครงการดังกล่าวไว้ก่อน แต่ไม่ได้ตัดโครงการทั้งหมด เมื่อมีความพร้อมให้นำเสนอกลับมาใหม่

RELATED ARTICLES
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img