ขณะที่ผู้ประกอบการบางรายชะลอการผลิต การลงทุน และลดการจ้างงาน อีกทั้งยังประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง เนื่องจากขาดเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) นอกจากนี้ปัญหาภัยแล้งที่มีความรุนแรงส่งผลกระทบต่อรายได้และกำลังซื้อในภาคเกษตร ส่วนปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความกังวลลดลง ได้แก่ ความกังวลเกี่ยวกับสถานกาณ์ทางการเมืองในประเทศ ร้อยละ 4.9, อัตราแลกเปลี่ยน (บาทต่อดอลลาร์) ในมุมมองผู้ส่งออก ร้อยละ 39.2 ราคาน้ำมัน ร้อยละ 29.7 และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ร้อยละ 17.9 ตามลำดับ
สำหรับดัชนีฯ คาคการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 88.8 โดยลดลงจาก 96.0 ในเดือนมีนาคม โดยคำดัชนีต่ำที่สุดตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2552 เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อการประกอบกิจการในอนาคตที่มีความไม่แน่นอนสูง จากปัญหาเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวลงภายหลังจากกรระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่มีความรุนแรงขึ้นและขยายวงกว้างไปทั่วโลก และยังไม่แน่ชัดว่าวิกฤตโควิด-19 จะสิ้นสุดเมื่อใด
อย่างไรก็ตาม เอกชนมีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ ขอให้พิจารณาคืนเงินประกันไฟฟ้าให้กับธุรกิจ SMEs ที่ใช้มิเตอร์ขนาดไม่เกิน 50 แอมป์ เพื่อนำมาใช้หมุนเวียนในกิจการช่วงวิกฤตโควิด-19 ขอให้กรมสรรพากรยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลแก่ SMEs เป็นเวลา 3 ปี ทุกธุรกิจ