1) รับฟังปัญหาความเดือดร้อน และวิธีการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ ผ่านการรับฟังเสียงจากประชาชนจากการลงพื้นที่
2) รวบรวมประเด็นที่ได้รับฟัง และนำความคิดเห็นเหล่านั้น รวมไปถึงข้อมูลจริงในพื้นที่ของประชาชน มาประมวลให้เป็นกลุ่มของปัญหาและผลกระทบ
3) การศึกษาข้อมูลในพื้นที่มาอย่างดี จากบริบทจริงของประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน พร้อมแนวคิดในการร่วมหาทางออกจากวิกฤตในด้านต่างๆ ครั้งนี้ ของ ส.ส. จะเป็นการระดมมันสมองในการแก้ปัญหา และหารือในข้อเรียกร้องของประชาชน
และ 4) เมื่อกลไกลของ ส.ส. ทำงาน ระบบรัฐสภาเดินเครื่อง นายกรัฐมนตรีจะได้รับข้อมูลอีกหนึ่งชุดเพิ่มเติมขึ้นมา เป็นข้อมูลที่มีรูปแบบจากล่างขึ้นบน หรือแนวดิ่ง จากฐานขยับขึ้นสู่ยอด เพื่อนำไปเทียบเคียงกับข้อมูลชุดก่อนหน้านี้ที่นำมาใช้ในการปฏิบัติงานเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัส และการเยียวยาผลกระทบของประชาชน ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งน่าจะเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจสำหรับการบริหารจัดการในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และอาจต่อยอดไปถึงการวางแผนฟื้นฟูประเทศที่อาจจะครบถ้วนทุกมิติ และมีความครอบคลุมในแต่ละระบบมากกว่าเดิม”
โดยในตอนท้ายของบทความ อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำถึง หน้าที่ของ ส.ส. ว่า “การรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน รับทราบถึงความคาดหวังของชาวบ้านต่อแนวทางหรือมาตรการของรัฐบาล และรับรู้ถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาของประชาชน ที่มาจากเสียงของประชาชนโดยตรง แล้วทำหน้าที่ส่งผ่านสิ่งเหล่านั้น ไปยังผู้มีอำนาจในการบริหารประเทศ เพื่อเป็นส่วนประกอบในการตัดสินใจใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการบริหารราชการแผ่นดิน คือความสวยงามในระบอบประชาธิปไตย และเป็นเกียรติภูมิอันสำคัญของความเป็นผู้แทนราษฎรที่ต้องรักษาเอาไว้เพื่อประชาชน”