หน้าแรกการเมืองกกต. แน่นเอี๊ยด! หลังพรรคการเมืองหลาย10 แห่ จดทะเบียนจองชื่อ-ยังไร้เงาพรรค กปปส.

กกต. แน่นเอี๊ยด! หลังพรรคการเมืองหลาย10 แห่ จดทะเบียนจองชื่อ-ยังไร้เงาพรรค กปปส.

ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ทางกกต.ได้เปิดจดแจ้งจัดตั้งพรรคการเมืองเป็นวันแรก โดยจะไปสิ้นสุดในวันที่ 31 มี.ค.61 ซึ่งมีกลุ่มการเมืองหลากหลายกลุ่มเดินทางมาอย่างคึกคักตั้งแต่ช่วงเช้า ในขณะที่นายศุภชัย สมเจริญ ประธานกกต. นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. พร้อมด้วยนายแสวง บุญมี รองเลขาธิการกกต. เดินมาตรวจความพร้อมก่อนเปิดจดแจ้งตั้งพรรคการเมืองใหม่ ทั้งนี้ ปรากฏว่ามีความเคลื่อนไหวอย่างคึกคักจากกลุ่มการเมืองต่างๆ ที่เดินทางไปยื่นจองชื่อ เพื่อจดทะเบียนตั้งพรรคการเมืองเป็นจำนวนมาก โดยพรรคที่ได้ยื่นจดแจ้งชื่อเป็นพรรคแรก คือ พรรคพลังชาติไทย ต่อมาเป็นพรรคประชาไทย พรรคพลังประชารัฐ พรรคประชาชนปฏิรูป พรรคสังคมประชาธิปไตยประชาชน พรรคประชาชาติ พรรคชาวนาไทย พรรคพัฒนาไทย พรรคเครือข่ายประชาชนไทย พรรคเครือข่ายประชาชนไทย พรรคเศรษฐกิจใหม่ พรรคพลังพลเมืองไทย พรรคพลังธรรมใหม่ พรรคไทยเอกภาพ พรรคประชาภิวัฒน์ พรรคสหประชาไทย พรรคทางเลือกใหม่ พรรคชาติพันธุ์ไทย พรรครักษ์แผ่นดินไทย พรรคแผ่นดินธรรม พรรคเพื่อชาติไทย พรรคกรีน พรรคประชานิยม พรรคพลังสยาม พรรคสยามธิปัตย์ พรรคของประชาชน พรรคพลังอีสาน พรรครวมใจไทย พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคประชามติ และพรรคพลังไทยยุคใหม่

ในขณะเดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า จากกระแสข่าวของกลุ่มการเมือง ที่ประกาศจะสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ให้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนนอกในการเลือกตั้งครั้งหน้า โดยเฉพาะกลุ่ม กปปส. ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ออกมาประกาศยืนยันว่าได้ตัดสินใจตั้ง “พรรคมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” และ ยังมีกลุ่มของ พล.ต.ทรงกลด ทิพย์รัตน์ ที่มีกระแสข่าวว่าได้เตรียมตั้งพรรคชาติไทยเพื่อเป็นพรรคทหาร เช่นเดียวกับ นางอัมพาพันธ์ ธเนศเดชสุนทร ภรรยาคนสุดท้ายของ พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ หรือ บิ๊กจ๊อด อดีต ผบ.สส.และอดีตประธานคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ที่ได้ออกมาประกาศก่อนหน้านี้ว่าจะมีการจัดตั้งพรรคการเมือง และไม่ปฏิเสธที่จะสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีเช่นกัน ซึ่งทุกกลุ่มจะเดินทางมายื่นในวันที่ 2 มี.ค.

นายแสวง เปิดเผยว่า วันนี้เป็นวันแรกที่เปิดให้พรรคการเมืองใหม่เข้ามาจองการจดแจ้งตั้งพรรคการเมือง ซึ่งแต่ละกลุ่มจะต้องมีผู้ร่วมก่อตั้งเดินทางมายื่นแสดงความจำนง 15 คน พร้อมเอกสาร 5 รายการที่ทางกกต.ได้กำหนดไว้ ซึ่ง ซึ่งหากเอกสารครบถ้วน กกต.จะออกใบพ.ก.7/1 ใบรับคำแจ้งการเตรียมการตั้งพรรคการเมือง กับพรรคการเมืองพร้อมกับคู่การดำเนินการ หลังจากนี้เพื่อนำไปใช้ขออนุญาต คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ดำเนินการประชุมพรรค และหาสมาชิกอีก 500 คน เพื่อมาจดแจ้งจัดตั้งพรรคการเมืองต่อนายทะเบียบพรรคการเมืองอีกครั้ง ขณะที่กกต.จะใช้เวลาไม่เกิน 30 วันในการประสานกับ 19 หน่วยงานเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ร่วมจัดตั้งพรรคการเมืองหากคุณสมบัติครบถ้วนกกต.จะออกใบพ.ก.7/2 หนังสือรับแจ้งการตั้งพรรคการเมืองโดยคุณสมบัติจัดตั้งจะเทียบเท่ากับคุณสมบัติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.)

นายแสวง กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ในการหาสมาชิกพรรค 500 คน ทางพรรคการเมืองจะต้องขออนุญาตจากคสช. โดยคสช.ได้ออกคำแนะนำและแนวทางในการปฏิบัติตั้งแต่นี้ไป ทั้งการขออนุญาตประชุมพรรคและการหาสมาชิก เพราะขณะนี้คำคสช.57/2557 ยังมีผลบังคับใช้อยู่ ซึ่งทางกกต.ก็จะดำเนินความสะดวกในเรื่องนี้ด้วย โดยยืนยันการมายื่นจดแจ้งตั้งพรรคการเมืองในวันนี้สามารถทำได้ เพราะการดำเนินเขิงธุรการตามที่กฎหมายกำหนดจึงไม่ขัดคำสั่งคสช. แต่คำสั่งคสช.เป็นการห้ามรวมตัวเพื่อชุมนุมเกิน 5 คน

พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา รองเลขาธิการ กกต.ในฐานะรักษาการเลขาฯ กกต.เปิดเผยถึงการเตรียมพร้อมเปิดให้กลุ่มการเมืองมาจดจองชื่อพรรคการเมืองในวันนี้ ว่า กกต.ได้เตรียมพร้อมในการจะอำนวยความสะดวก ให้ทุกคนเต็มที่ จะเริ่มเปิดเคาน์เตอร์ให้ยื่นคำขอ ได้ตั้งแต่เวลา 07.30 น.เป็นต้นไป ทั้งนี้ พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ฝากถึงกลุ่มการเมืองที่ประสงค์จะจองชื่อพรรค ศึกษา พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง เรื่องชื่อพรรค , ชื่อย่อพรรคให้ถี่ถ้วน รวมถึงเตรียมเอกสาร 7 ชุด ที่ กกต.ได้เชิญผู้แทนของแต่ละกลุ่ม มารับฟังรายละเอียด และขั้นตอนไปเมื่อต้นเดือน ก.พ.ที่ผ่านมาให้เรียบร้อย เพื่อความสะดวกในการดำเนินการจดจอง หลังจากนั้น กกต.จะใช้เวลาในการตรวจสอบไม่เกิน 30 วัน เพื่อให้แต่ละพรรคไปดำเนินการขออนุญาติ คสช.เพื่อจัดประชุม และดำเนินการในขั้นตอนต่างๆของการตั้งพรรคการเมืองให้สมบูณณ์ต่อไป ซึ่งคาดว่า จะมีประมาณ 20 กลุ่มการเมือง เข้าจดจองชื่อพรรค

นายศุภชัย กล่าวว่า ได้กำชับให้สำนักงาน กกต. อำนวยความสะดวกให้กับผู้มายื่นจดแจ้งตั้งพรรคการเมืองอย่างเต็มที่ รวมถึงขอให้พรรคการเมืองปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย และคำสั่ง คสช. อย่างเคร่งครัด ซึ่งภายหลังจากที่พรรคการเมืองใหม่มายื่นจดแจ้งจัดตั้งพรรคแล้ว ทางกกต.จะตรวจสอบเอกสารที่นำมาในวันนี้ ซึ่งบางเรื่องทาง กกต. ต้องขอให้หน่วยงานอื่นช่วยตรวจสอบ เช่น เรื่องล้มละลาย หรือต้องคำพิพากษาหรือไม่  โดยต้องไปสอบถามที่ศาลล้มละลาย หรือถามสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ทั้งนี้ หากพรรคการเมืองมายื่นจดแจ้งชื่อพรรคเป็นจำนวนมากก็ถือว่าประชาชนให้ความสนใจในเรื่องการเมือง และทุกคนอยากเลือกตั้ง  ซึ่งแต่ละพรรคที่มายื่นนั้นมีเจตจำนงที่ไม่เหมือนกัน


 

RELATED ARTICLES

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img