สมาคมธนาคารไทย มองมาตรการช่วยเหลือของภาครั ฐมาเร็ว จัดใหญ่ จัดเต็ม เป็นยาดีช่วยลดผลกระทบวิกฤตโควิ ด-19 ชี้เร่งช่วยด้านสาธารณสุข อาชีพและปากท้อง เสถียรภาพเศรษฐกิจ ตลาดการเงิน หากสถานการณ์สงบเร็วกระทบจีดีพี 7.7% หากยืดเยื้อความเสียหายอาจรุ นแรงขึ้น
นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า จากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กระทรวงการคลัง และสถาบันการเงิน ออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่ วยเหลือ SMEs และดูแลเสถียรภาพตลาดตราสารหนี้ เอกชน เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิ จจากเชื้อโควิด-19 เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 ซึ่งทำให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติพระราชกำหนด (พรก.)
ให้อำนาจ ธปท.ออกซอฟท์โลน (Soft Loan) เพื่อดูแลภาคธุรกิจ พรก.ดูแลเสถียรภาพภาคการเงิน ตลอดจน พรก.กู้เงินเพื่อการเยี ยวยาและดูแลเศรษฐกิจ ซึ่งรวมแล้วคือ มาตรการเยียวยาระยะที่ 3 ที่มีวงเงินรวม 1.9 ล้านล้านบาทนั้น ถือว่ามีทั้ง ‘ความสำคัญ’ และ ‘ความจำเป็นอย่างยิ่ง’ ทั้งนี้ หากมองผลกระทบจากวิ กฤตการระบาดของไวรัสฯ ในรอบนี้ สามารถประเมินเบื้องต้นเป็นเม็ ดเงินสุทธิราว 1.3 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 7.7% ของจีดีพี โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวรายได้ หายไปถึง 1.1 ล้านล้านบาท อันทำให้เศรษฐกิจไทยมีโอกาสหดตั วลึกใกล้เคียงกับปี 2540 และอาจจะลึกกว่านั้น หากการระบาดไม่สามารถควบคุมได้ ภายในไตรมาส 2 ของปีนี้ อันจะทำให้ผลกระทบในเชิงตัวเงิ นใหญ่ขึ้นอีกจนอาจจะแย่กว่าวิ กฤตต้มยำกุ้งในปี 2540
อย่างไรก็ตามจุดแตกต่างที่สำคั ญระหว่างวิกฤตการระบาดของเชื้ อโควิด-19 กับวิกฤตปี 2540 คือ ในรอบนี้ ทางการไทยออกมาตรการให้ความช่ วยเหลือที่ ‘เร็ว’ และมี ‘ขนาดใหญ่’ เพื่อยับยั้งไม่ให้เหตุการณ์ทรุ ดลงแรงกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งสิ่งที่ต้องจัดการเป็นลำดั บแรกๆ คือ การจัดการด้านสาธารณะสุขเพื่อยั บยั้งการระบาดของโรคและดูแลผู้ ป่วยในวงที่กว้างขึ้น รวมถึงการดูแลเรื่องอาชี พและปากท้องของประชาชน ซึ่งทั้งสองส่วนนี้ มาตรการด้านการคลังจะเข้ามาเป็ นกลไกหลัก ทำให้การอนุมัติ พรก.กู้เงินฯ เพิ่มเติมอีก 1 ล้านล้านบาท เป็นกระบวนการทางกฎหมายที่ต้ องเร่งทำ เพื่อดึงงบประมาณจากหน่ วยงานภาครัฐต่าง ๆ มาเป็นทรัพยากรเพิ่มเติมสำหรั บตอบวัตถุประสงค์ข้างต้น หลังจากที่งบกลางเดิมได้จั ดสรรไปหมดแล้ว
ในอีกด้านหนึ่ง การดูแลเสถียรภาพของเศรษฐกิ จตลาดการเงินก็เป็นสิ่งสำคัญที่ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพราะปัจจุบันตลาดการเงินไทยเชื่ อมโยงกับต่างประเทศมากขึ้นกว่ าในปี 2540 มาก ทำให้ความตื่นตระหนก ไม่ว่าจะจากทั้งในและต่างประเทศ ก็สามารถฉุดให้อัตราดอกเบี้ ยและอัตราผลตอบแทนในตลาดการเงิ นปรับตัวแรง จนกระทบความมั่นคงของระบบสถาบั นการเงิน ตลอดจนสถานะทางการเงินลูกค้าธุ รกิจและครัวเรือนได้ โดย การรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิ จและตลาดการเงินนี้ ถือเป็นหน้าที่ของมาตรการด้ านการเงิน ซึ่งควรเร่งอุดรูรั่วและเร่งสร้ างความเชื่อมั่นของตลาดก่อนเป็ นอันดับแรก ดังนั้น มาตรการ 9 แสนล้านบาทในรอบนี้ จึงจำเป็นต้องพุ่งเป้าหมายไปที่ การจัดตั้งกองทุนเพื่อดู แลตลาดตราสารหนี้เอกชนที่มี ขนาดใหญ่ราว 22% ของ จีดีพี ซึ่งจะช่วยทั้งตัวกิจการที่ต้ องการระดมทุนไปชำระคืนหนี้เดิ มและเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ รวมถึงช่วยผู้ลงทุนสถาบั นและรายย่อย ซึ่งต้องยอมรับว่าในระยะหลัง ผู้ฝากเงินรายย่อยหันมาออมเงิ นทั้งทางตรงและทางอ้ อมในตราสารหนี้มากขึ้น
นอกจากนี้ ความช่วยเหลือในครั้งนี้ ยังประกอบด้วยมาตรการช่วยภาคธุ รกิจ โดยเฉพาะ SMEs ที่ครอบคลุมกว่า 99% ของจำนวนกิจการทั้งหมด และการจ้างงานกว่า 85% ของการจ้างงานทั้งประเทศ หรือกว่า 13 ล้านคน ผ่านการให้ซอฟท์โลนเพิ่มเติม นอกเหนือไปจากการพักชำระหนี้ทั้ งเงินต้นและดอกเบี้ยแบบอัตโนมั ติ ซึ่งทั้งหมดนี้ ก็คาดหวังว่าการต่อลมหายใจทางธุ รกิจ จะช่วยพยุงจ้างงานและกลไกของห่ วงโซ่ธุรกิจบางส่วนให้พอเดินต่ อไปได้ ในระหว่างที่ทุกคนรวมพลังอยู่บ้ าน หยุดเชื้อเพื่อชาติ
“ผมเชื่อมั่นว่า การดำเนินการต่าง ๆ ทั้งด้านการเงินและการคลั งของภาครัฐ น่าจะทำให้การหดตัวของเศรษฐกิ จไทยในปีนี้อยู่ในขอบเขตจำกัด และไม่น่าจะลุกลามจนกลายเป็นวิ กฤตที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ แม้ว่าในที่สุดแล้ว สถานการณ์ต่าง ๆ จะยังคงขึ้นอยู่กับว่า การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 จะยุติลงเมื่อใด แต่ก็เชื่อว่า หากมีความจำเป็น ทางการไทยยังมีทรัพยากรอี กมากเพียงพอที่จะประคั บประคองเศรษฐกิจให้ผ่านพ้ นภาวะวิกฤตครั้งนี้ไปได้อย่ างแน่นอน” นายปรีดี กล่าวในตอนท้าย