หน้าแรกทั่วไทยด่วน! 'บิ๊กตู่' แถลงประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีผลบังคับใช้ 26 มี.ค.นี้

ด่วน! ‘บิ๊กตู่’ แถลงประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีผลบังคับใช้ 26 มี.ค.นี้

https://youtu.be/44dmFqlUw2U

<![CDATA[

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ว่า:

ได้มีการประกาศใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เพื่อแก้ไขการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 26 มีนาคมนี้ ขั้นแรกเป็นขอความร่วมมือ ส่วนจะปิดหรือบังคับเป็นระยะต่อไป พร้อมเตือนว่าหากมีการใช้สื่อโซเซียลที่ปิดเบือนจะมีความผิด รวมถึงการขึ้นราคาสินค้าก็จะถูกดำเนินคดีด้วย

นายกฯระบุว่าจะมีการยกระดับศูนย์โควิดเป็นศูนย์ฉุกเฉินในการแก้ไขปัญหา เป็น “ศอฉ.โควิด”  มีหน้าที่รวมกฎหมายทุกอย่างทีมีมาอยู่ที่นายกรัฐมนตรี เพื่อบูรณาการอย่างแท้จริง  โดยจะมีการประชุมทุกเช้า เพื่อนำข้อเสนอจากทุกส่วน มารายงานและกำหนดข้อกำหนดเมื่อประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน จะมีการจัดตั้งผู้รับผิดชอบภายในศูนย์ว่าจะจัดตั้งและมีข้อกำหนด ที่ออกข้อกำหนดได้ตลอดเวลา ออกได้ทุกวัน
“จะประกาศในวันมะรืน เพื่อทำให้ลดการแพร่ระบาด ในการขอความร่วมมือและบังคบ ส่วนการจะปิดเปิดอะไรจะเป็นมาตรการระยะต่อไป ผมไม่อยากให้ใครเดือดร้อน ในสถานการณ์สุขภาพโดยรวม รัฐบาลจะดูแลให้มากที่สุดก็ขอความร่วมมือก็แล้วกัน อย่าเพิ่งเดินทางกลับภูมิลำเนา หากกลับจะต้องเจอมาตรการต่างๆในการตรวจสอบระหว่างทางอีกมากมาย”

นายกฯ ย้ำว่า อยากให้เน้นการกักตัวที่บ้าน ในพื้นที่ และจะมีสถานที่กักตัวของรัฐเพิ่มเติมขึ้น หากพบการติดเชื้อมากขึ้นต้องหามาตรการรองรับ โรงพยาบาลสนาม เวชภัณฑ์ต้องจัดหาให้เพียงพอ ต้องจัดซื้อเพิ่มเติมเพราะทุกประเทศยังมีความต้องการ ขอทุกคนอย่างตื่นตระหนกก็คือปัญหา

ส่วนการให้ข่าวแต่ละวัน นายกระบว่า จะมีการให้ข้อมูลทั้งวันในสื่อโซเชียล ทวิตเตอร์ ที่มีศูนย์ของกระทรวสาธารณสุขและ ของแต่ละกระทรวงจะมีช่องทางให้สอบถาม โทรสอบถาม ส่วนการสรุปเป็นเรื่องของโฆษกศอฉ. ที่จะรายงานให้รับทราบ  ทั้งนี้การดำเนินการกับสื่อโซเชียลตามเดิมใช้กฎหมายปกติ แต่ต่อไปจะใช้กฎหมายนี้ และกฎหมายจะใช้ทหารในการตั้งด่านตรวจสกัดต่างๆ และปรับมาตรการให้เข้มขึ้น หากไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้

ผู้สื่อข่าวไทยแทบลอยด์รายงานว่าในการประกาศ พรก.ฉุกเฉินระยะแรกยังไม่มีการเคอร์ฟิวห้ามออกจากบ้าน

ผู้สื่อข่าวไทยแทบลอยด์ รายงานว่า”ร่าง” พ.ร.ก.ที่คาดว่า จะประกาศมีผลบังคับใช้ในวันที่ 26 มีนาคมนี้มีสาระสำคัญของพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548

มาตรา 4 ในพระราชกำหนดนี้ “สถานการณ์ฉุกเฉิน” หมายความว่า สถานการณ์อันกระทบ หรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรืออาจทำให้ประเทศ หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศตกอยู่ในภาวะคับขัน หรือการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา การรบ หรือการสงคราม ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต ผลประโยชน์ของชาติ การปฏิบัติตามกฎหมาย ความปลอดภัยของประชาชน การดำรงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชน การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ความสงบเรียบร้อยหรือประโยชน์ส่วนรวม หรือการป้องปัดหรือแก้ไขเยียวยาความเสียหายจากภัยพิบัติสาธารณะอันมีมาอย่างฉุกเฉินและร้ายแรง

มาตรา 5 วรรคสอง การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับตลอดระยะเวลาที่นายกรัฐมนตรีกำหนด “แต่ต้องไม่เกินสามเดือนนับแต่วันประกาศ”ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องขยายระยะเวลาให้นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศขยายระยะเวลาการใช้บังคับออกไปอีกเป็นคราวๆ คราวละไม่เกินสามเดือน

มาตรา 5 วรรคสาม เมื่อสถานการณ์ฉุกเฉินสิ้นสุดลงแล้วหรือเมื่อคณะรัฐมนตรีไม่ให้ความเห็นชอบ หรือสิ้นสุดกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้นายกรัฐมนตรีประกาศยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น

มาตรา 6 ให้มีคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินคณะหนึ่ง ประกอบด้วย รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ

มาตรา 9 ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติลงได้โดยเร็ว หรือป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น ให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกข้อกำหนด

(1) ห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้น

(2) ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ หรือกระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย

(3) ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉิน

(4) ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะหรือกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ

(5) ห้ามการใช้อาคาร หรือเข้าไปหรืออยู่ในสถานที่ใดๆ

(6) ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของประชาชนดังกล่าว หรือห้ามผู้ใดเข้าไปในพื้นที่ที่กำหนด

มาตรา 18 ผู้ใดฝ้าฝืนข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกมาตรา 9 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


 

บทความก่อนหน้านี้
บทความถัดไป
RELATED ARTICLES
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img