ดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการ ธนาคารออมสิน (GSB) เปิดเผยถึงแผนการดำเนินงานในปี 2563 ว่า ธนาคารดำเนินนโยบายที่จะมุ่งมั่นภายใต้แนวคิด”เติบโต ยั่งยืน ตอบแทนคืนสู่สังคม” พร้อมกับการขับเคลื่อน GSB Sustainable Banking โดยแบ่งเป็น 4 มิติ ที่มุ่งเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืน ดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคมและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม และในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาธนาคารมีการเติบโตที่ดีเยี่ยมในทุกมิติภายใต้แผนงานและยุทธศาสตร์เพื่อความแข็งแกร่งขององค์กรอย่างยั่งยืนพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานะการณ์และวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของธุรกิจอยู่ตลอดเวลาเพื่อสร้างความยั่งยืน ด้วยการขับเคลื่อนผ่านกลไก 3 Banking ได้แก่ Traditional Banking , Socail Development Banking และ Digital Banking เพื่อเป็นการผลักดันไปสู่ธนาคารที่มุ่งเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืน
สำหรับยุทธ์ศาสตร์ 3 ธนาคาร มุ่งสู่การเป็น”ธนาคารเพื่อความยั่งยืน ประกอบด้วย Traditional Banking ธนาคารจะปรับปรุงความสามารถการแข่งขันของธนาคารในรูปแบบปกติ ด้วยการเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้า ขณะเดียวกันได้เตรียมพัฒนาศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ หรือ GSB Contact Center เพื่อยกระดับการให้บริการ ในส่วนของด้าน Socail Development Banking จาก 3 ออมสร้างโลกสีชมพู สู่ 3 สร้างประกอบด้วย สร้างความรู้/อาชีพ สร้างตลาด/รายได้ และสร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งทุน
และกลยุทธ์ Digital Banking ซึ่งธนาคารจะพัฒนาให้เป็น Ecosystem โดยในปีนี้ธนาคารมีแผนที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการและช่องทางต่างๆให้มีบริการที่รวดเร็วและทันสมัยมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีแผนพัฒ ดิจิทัล นาแพลตฟอร์มใหม่ๆ ผ่านการพัฒนา New Feature ของโมบายด์ แอพพลิเคชั่น “MyMo” อย่างไรก็ตามธนาคารตั้งเป้าหมายเพิ่มจำนวนผุ้ใช้บริการ MyMo จาก 8 ล้านราย เป็น 13 ล้านรายในปี 2563 และเป็น 18 ล้านราย ในปี 2564
อย่างไรก็ตามในปี 2563 ธนาคารตั้งเป้าหมายมีสินทรัพย์รวมเพิ่มขึ้น 2.9 ล้านล้านบาท หรือเติบโตเพิ่มขึ้น 3.5% รวมถึงการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยการให้กู้เพิ่มกว่า 550,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิกว่า 80,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 4-5% เงินฝากสุทธิ 75,000 ล้านบาท เติบโต 3% และตั้งเป้าหมายลูกค้าเพิ่มเป็น 41% ของประชากรทั้งประเทศ โดยใช้แนวคิด” GSB Sustainable Banking เป็นกลไกผลักดันยุทธศาสตร์ 3 ธนาคารมุ่งเป็น”ธนาคารเพื่อความยั่งยืน” และธนาคารจะปรับปรุงความสามารถการแข่งขันของธนาคารในรูปแบบปกติ ด้วยการเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้ามากยิ่งขึ้นโดยปรับเปลี่ยนการให้บริการแบบเดิมไปสู่”Delivery Banking” ผ่านบริการ “QUEUE Application” ซึ่งจะออกไปให้บริการตามที่ลูกค้านัดหมายผ่าน app ซึ่งสามารถเลือกบริการได้ไม่ว่าจะเป้นรถยนต์บริการเคลื่อนที่ เรือออมสิน หรือให้พนักงานออกไปให้บริการยังจุดที่ลูกค้าสะดวก ด้วยเครื่องมือให้บริการในชื่อ SUMO โดยสามารถให้บริการได้ตั้งแต่การรับฝากเงิน เปิดบัญชีเงินฝาก ฝากสลากออมสิน ฝากเงินกองทุนต่างๆ เปิดบัตรอิเล็กทรอนิกส์ รับชำระสินเชื่อ เป็นต้น ซึ่งปีนี้จะมีจำนวนถึง 3,700 เครื่องออกไปให้บริการ ทั้งนี้ธนาคารตั้งเป้าหมายภายในปี 5 จะขยายฐานลูกค้าเพิ่มเป็น 41 ล้านราย ขณะเดียวกันธนาคารได้เตรียมพัฒนาศูนย์สัมพันธ์ (GSB Contact Center) เพื่อนกระดับการให้บริการและตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยจะเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมทุกความคิดเห็น ข้อร้องเรียน และคำเสนอแนะของลูกค้าจากทุกรูปแบบช่องทางการสื่อสารและเป็นศูนย์กลางในการให้บริการจ้อมูลข่าวสาร ผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคารฯ ผ่านทุกช่องทางสำคัญ ซึ่งธนาคารยังมีความพร้อมที่จะเป็นองค์กรหลักที่ให้บริการในรูปแบบ ATM White Label กับสถาบันการอื่น ทั้งธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ซึ่งธนาคารได้เตรียมติดตั้ง ATM ใหม่กว่า 5,000 เครื่อง ทั้งทดแทนเครื่องเดิมและเพิ่มเติมในจุดที่มีศักยภาพครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ
ทั้งนี้ในปี 2562 ที่ผ่านมาธนาคารมีอัตราการเติบโตปีละ 20% ซึ่งเป็นการเติบโตตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา ในด้านของจำนวนลูกค้า ได้แก่ กลุ่มลูกค้าบุคคล มีจำนวนลูกค้าอยู่ที่ 7.8 ล้านคน เป็นสัดส่วน 39% ของลูกค้าธนาคาร แบ่งเป็น นักเรียนนักศึกษา 50% มีอัตราการเติบโต 41% และกลุ่มลูค้ารายได้ระดับปานกลาง 32% มีอัตราการเติบโต 33% ในส่วนของกลุ่มลูกค้าธุรกิจและภาครัฐ มีจำนวนลูกค้าอยู่ที่ 90,000 ราย มีสัดส่วน 0.5% ของลูกค้าธนาคาร แบ่งเป็นลูกค้า SMEs 54% มีอัตราการเติบโตมากกว่า 8%
ในส่วนของผลการดำเนินงานของผลิตภัณฑ์ทางด้านการเงิน ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัล โดยเฉพาะผ่านช่องทางโมบายด์แอพพลิเคชั่น MyMo ที่มีจำนวนฐานผู้สมัครใช้งาน 3 แสนรายในปี 2558 เพิ่มขึ้นเป็น 7.9 ล้านคนในปี 2562 ส่วนผลิตภัณฑ์ เดบิต การ์ด มีลูกค้ารวม 6.7 ล้านบัตร GSB Credit Card มีจำนวน 478,987 บัตร และในส่วนของ QR Code Payment มีร้านค้า QR Payment รวมกว่า 307,877 ร้านค้า