เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562 ผู้สื่อข่าว รายงานว่า สำนักงานประธานศาลฎีกา ได้มีหนังสือแถลงการณ์ว่า “ตามที่ปรากฏข่าวตามสื่อมวลชนว่า เมื่อวันท่ี 30 กันยายน 2562 นายวัส ติงสมิตร ประธาน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ยื่นคำกล่าวหาขอให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติพิจารณาดำเนินการไต่สวนและดำเนินการอื่นๆต่อประธานศาลฎีกา กรณี เป็นเจ้าพนักงานละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และยังปรากฏว่าประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติให้ข่าวแก่สื่อมวลชนอีกหลายครั้งในทำนองว่า ประธานศาลฎีกาไม่ดาเนินการแต่งตั้งบุคคลให้ทำหน้าที่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นการชั่วคราว เป็นเหตุให้คณะกรรมการสิทธิมนุษย์ชนแห่งชาติไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ทำให้ประเทศชาติ ประชาชนและ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับความเสียหาย นั้น
เลขาธิการประธานศาลฎีกาและเลขาธิการสานักงานศาลปกครอง ขอชี้แจงสรุปขั้นตอน การดาเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งบุคคลที่จะมาทำหน้าที่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของประธานศาลฎีกา ดังนี้ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีหนังสือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ด่วนที่สุด ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2562 เรื่อง ขอให้แต่งต้ังบุคคลเพื่อทำหน้าที่เป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นการชั่วคราว กราบเรียนมายังประธานศาลฎีกา ประธานศาลฎีกาจึงโปรดมีดำริให้สำนักประธานศาลฎีกา ดำเนินการดังต่อไปนี้
1. มีหนังสือสอบถามไปยังสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพื่อ ขอทราบ ประวัติและผลงานของกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป เพื่อ มาประกอบการ พิจารณาแต่งต้ังบุคคลให้ทำหน้าที่เป็นการชั่วคราว เพราะการแต่งตั้งบุคคลให้ทำหน้าที่ชั่วคราวดังกล่าว จะต้องเป็นไปตามมาตรา 8 คือต้องแต่งต้ังบุคคลซึ่งมีประสบการณ์ในด้านต่างๆตามที่ระบุในมาตรา 8 (1) ถึง (5) ด้านละอย่างน้อยหนึ่งคนแต่จะเกินด้านละสองคนไม่ได้ จึงมีความจำเป็นที่ต้องทราบประวัติและ ผลงานของกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเสียก่อน เมื่อสำนักงาน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีหนังสือแจ้งประวัติและผลงานของกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่ยังคงปฏิบัติหน้าที่กลับมา สานักประธานศาลฎีกาจึงกราบเรียนความเห็นต่อประธานศาลฎีกาว่า กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่สามคนอาจจัดว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา 8 อนุมาตราใด เพื่อจะได้ไม่แต่งตั้งบุคคลเข้าทำหน้าที่เป็นการชั่วคราวเกินจากที่กฎหมายกำหนด
2. มีหนังสือสอบถามไปยังเลขาธิการวุฒิสภาเพื่อขอทราบ
2.1 รายชื่อ ข้อมูล และคุณสมบัติของบุคคลซึ่งได้รับการสรรหาจาก
คณะกรรมการสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพื่อแต่งตั้งให้ดารงตาแหน่งกรรมการสิทธิ มนุษยชนแห่งชาติแต่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
2.2 รายชื่อบุคคลที่ได้รับการสรรหาจากคณะกรรมการสรรหากรรมการสิทธิ มนุษยชนแห่งชาติเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตาแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและผ่านความเห็นชอบ จากวุฒิสภาหรือสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว และ
2.3 รายชื่อประวัติและคุณสมบัติของผู้สมัครหรือผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการ สรรหาซึ่งฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการสรรหาได้พิจารณากลั่นกรองและเห็นว่าเปน็ผู้ที่มีคณุสมบัติและไม่ มีลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติล่าสุด เพื่อประกอบการพิจารณาของประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองสูงสุดในการแต่งตั้งบุคคลเพื่อ ทำหน้าที่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นการชั่วคราว
เมื่อเลขาธิการวุฒิสภาในฐานะเลขานุการคณะกรรมการสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชน แห่งชาติแจ้งรายละเอียดและข้อมูลดังกล่าวมายังสำนักประธานศาลฎีกาในวันที่ 30 สิงหาคม 2562 แล้ว ประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองสูงสุดได้ร่วมกันพิจารณามอบหมายให้เลขาธิการประธานศาล ฎีกาเป็นผู้ติดต่อไปยังบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2560 และเป็นบุคคลที่ได้รับการสรรหา จากคณะกรรมการสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติ แห่งชาติทำหน้าที่วุฒิสภาให้ดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแล้ว เพื่อสอบถามความ ประสงค์ในการได้รับการแต่งตั้งให้ทาหน้าที่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นการชั่วคราว แต่บุคคล ดังกล่าวทั้งสองคนไม่ประสงค์รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เป็นการชั่วคราว
ต่อมาวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองสูงสุดได้หารือที่ ประชุมคณะกรรมการสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาตคิรั้งที่6/2562 กรณีประธานกรรมการสทิธิ มนุษยชนแห่งชาติมีหนังสือแจ้งให้ประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองสูงสุดเร่งดำเนินการแต่งตั้ง บุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเช่นเดียวกับกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพื่อทำหน้าที่เป็น กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และที่ประชุมเสียงข้างมากเห็นชอบให้เลขาธิการวุฒิสภาในฐานะ
เลขานุการประธานศาลฎีกาเลขาการ ศาลปกครอง เลขานุการคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติดำเนินการเสนอชื่อบุคคลซึ่งมี คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเช่นเดียวกับกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่เป็นปัจจุบันต่อ ประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองสูงสุดภายใน 30 วัน (วันที่ 31 ตุลาคม 2562) บัดนี้ยังไม่ครบ กำหนดระยะเวลาดังกล่าว
กรณีดังกล่าว เลขาธิการ
พิจารณาแล้ว เห็นว่า การแต่งตั้งบุคคลให้ทาหน้าที่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นการชั่วคราวมีประเด็นข้อกฎหมาย ที่สาคัญอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาคือ จะต้องแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามกฎหมาย ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้เวลาและขั้นตอนในการตรวจสอบเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดอันอาจ ส่งผลเสียหายโดยรวมต่อประเทศชาติประชาชนและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหง่ชาติทั้งจะต้องได้ บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถและความเหมาะสม ตลอดจนความเสียสละในการเข้ารับหน้าที่ เพียงชั่วคราว ซึ่งอาจส่งผลในอนาคตต่อการเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการในองค์กรอิสระอื่นๆตาม และเมื่อประธานศาลฎีกาได้โปรดร่วมกันพิจารณากับประธานศาลปกครองสูงสุดให้สำนักประธานศาลฎีกา เชิญบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามมาสอบถามความประสงค์และความยินยอมในการรับ การแต่งตั้งให้ทำหน้าที่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นการชั่วคราวแล้ว ก็ไม่มีผู้ใดที่แจ้งความ ประสงค์และยินยอมที่จะได้รับการแต่งตั้ง กรณีจึงมีเหตุจาเป็นที่ทาให้การแต่งตั้งไม่แล้วเสร็จ อีกทั้ง ยังรอรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายที่เป็นปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตาม ขอชี้แจงเพิ่มเติมทาความเข้าใจมายังทุกฝ่ายว่า ประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองสูงสุด มิได้เพิกเฉยต่อการแต่งตั้งบุคคลในเรื่องดังกล่าว เมื่อได้รับรายชื่อของบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มี ลักษณะต้องห้ามเช่นเดียวกับกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่เป็นปัจุบัน จะได้ กราบเรียนประธานศาลฎีกา และประธานศาลปกครองสูงสุดเพื่อโปรดพิจารณาต่อไป”