หน้าแรกกระบวนการยุติธรรมปปส.จุดประเด่นวิชาการสารเสพติดระดับชาติ ครั้งที่11 สภาวการณ์นานาชาติที่มีผลต่อการใช้ยาเสพติด (Internationel Influencer on Drug Abuse)

ปปส.จุดประเด่นวิชาการสารเสพติดระดับชาติ ครั้งที่11 สภาวการณ์นานาชาติที่มีผลต่อการใช้ยาเสพติด (Internationel Influencer on Drug Abuse)

เมื่อเวลา 09.00 น. ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฎ์ วิศษฎ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดประชุมวิชาการสารเสพติดระดับชาติ โดยมี ม.ล.ดิศปนัดดา ดิศกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ศ.ดร.สถิรกร พงศ์พานิช คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข นายนิยม เติมศรีสุข เลขาธการ ป.ป.ส. พร้อมด้วยนักวิชาการ เจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ทั้งในประเทศและต่างประทศ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ในหัวข้อ การอุบัติของสารเสพติดชนิดใหม่และการอุบัติซ้ำของสาร้สพตืดชนิดเดิม รวมถึงตลาดของยาเสพติดแบะอาชญากรรมบนโลกออนไลน์ อนุญาติให้ใช้กัญชาเพื่อการรักษาและกฎหมายการเปิดเสรี

ในการประชุมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-9 สิงหาคม 2562 ณ.โแรมมิราเคิล แกรนต์ คอนเวนชั่น ถนนวิภาวดีรังสิตกรุงเทพมหานคร
หลังจากนั้น นายนิยม เติมศรีสุข เรขาการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กล่าวว่า รัฐบาลถือว่าปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาด้านความมั่นคงของชาติที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศและมีการเกี่ยวพันกับปัญหาอื่นๆ ดังนั้นเพื่อให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดบรรลุผล จำเป็นต้องปรับความคิดให้สอดคล้องกับนโยบายโลก คือการสร้างการรับรู้ และ การพฒนาองศ์ความรู้ โดยให้สำนักงาน ป.ป.ส. ได้จัดระบบการเผยแพร่ความรู้ วิชาการ งานวิจัย และองศ์ความรู้ด้านยาเสพติดสู่สาธารณะ โดยร่วมกับเครือข่ายองศ์กรค์วิชาการสารเสพติดประกอบด้วยนักวิชาการ และคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยวงศ์ชวลิตกุล และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการประชุมวิชาการสารเสพติดระดับชาติขึ้นต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยครั้งนี้ได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 11

นายนิยม ได้กล่าวถึงการจัดประชุมในครั้งนี้ว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโอกาสในการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างนักวิชาการ นักวิจัย และผู้ปฏิบัติงานใยการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศไทยและต่างประทศ เพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจในการนำผลไปประยุกต์ใช้ในเชิงนโยบายรวมถึงแนวทางการปฏบัติทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอื่น โดยเฉพาะภาคพื้นอาเซียนเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการศึกษาเกี่ยวกับยาเสพติดแก่นักวิจัยและนักวิชาการที่ทำงานด้านสารเสพติดอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักวิชาการรุ่นใหม่ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้สร้างความสัมพันธ์สร้างโอกาสการศึกษาวิจัยร่วมกันในอนาคต ให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะที่เกี่ยวข้องในงานวิชาการสารเสพติดที่ทันสมัย นอกจากนี้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมรับรู้ในเนื้อหาวิชาการด้านยาเสพติดทีถูกต้องและมีองศ์ความรู้ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเพิ่มยิ่งขึ้นในอนาคต


RELATED ARTICLES
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img