หน้าแรกการเมือง'มาร์ค' ชี้ ประเทศไทย ต้องมองหาการเมือง 4.0

‘มาร์ค’ ชี้ ประเทศไทย ต้องมองหาการเมือง 4.0

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการไปร่วมเสวนา เมื่อวานนี้ (7 ก.พ.)  ในหัวข้อ “ผู้นำกับสังคมไทย : ผู้นำเพื่ออนาคตประเทศไทย” หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 21 สถาบันพระปกเกล้าว่า ตนไม่ได้เอาผู้นำแต่ละยุคไปเปรียบเทียบกัน แต่เป็นการบรรยายทางวิชาการ โดยเปรียบเทียบยุค 4.0 ในมุมหนึ่ง ซึ่งระบบและผู้นำในระบบการเมืองไทย ก็ผ่านยุคมาคลายๆ 1 – 2 – 3 – 4 เหมือนกัน 

โดยนายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ตั้งแต่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ยุค 1.0 ก็คือเวลาที่เราอยู่ภายใต้การรัฐประหาร ไม่ว่าจะเป็นจอมพล ป. จอมพลสฤษดิ์ จอมพลถนอม ไล่มาเรื่อยจนถึงปัจจุบัน ก็ต้องบอกว่า มาถึงวันนี้เรามองเห็นแล้วว่า รูปแบบแบบนี้มันไม่ได้สอดคล้องกับโลกปัจจุบัน แต่ว่ามันเกิดขึ้นเพราะว่าเราบอกว่ามันมีสถานการณ์ เกิดข้อยกเว้น เกิดความจำเป็นชั่วคราว ใครจะเห็นด้วย – ไม่เห็นด้วยอีกเรื่องหนึ่ง 

ยุค 2.0 ก็คือ ตอนที่เราพยายามจะก้าวมาสู่ความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น เราก็มีการทำแบบค่อยเป็นค่อยไป 2.0 นี้รูปธรรมชัดเจนที่สุดก็สมัยยุคของท่าน พล.อ.เปรม นั่นก็คือว่า มีการเลือกตั้ง นายกฯ ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่นายกฯ ใช้ทั้ง เราใช้ศัพท์ว่า Technocrat หรือกลุ่มราชการ หรือผู้เชี่ยวชาญมาทำงานร่วมกับพรรคการเมือง ซึ่งในขณะนั้นก็ประคับประคองสถานการณ์ได้ แต่ขณะเดียวกันถ้ามามองถึงโลกในปัจจุบัน เราก็พบความเป็นจริงว่า รูปแบบแบบนั้นอาจจะไม่ตอบสนองสังคมที่มันมีความตื่นตัวเรื่องสิทธิ เสรีภาพ การมีส่วนร่วมอีกต่อไป

มาถึงยุค 3.0 เราบอกว่า เรามีประชาธิปไตยที่คิดว่าเต็มใบ เรามีรัฐธรรมนูญที่ก้าวหน้ามาก ปี 40 ปี 50 เราได้คนที่มาจากการเลือกตั้ง รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แล้วเราก็พบความจริงว่า การมีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้งนั้นมันไม่เพียงพอที่จะได้ประชาธิปไตย หรือการเมืองที่ดี เพราะถ้ามีการคอร์รัปชั่น มีการโกงกิน มีการใช้อำนาจในทางไม่ชอบ และมีการไปทำลายหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตยด้วย เช่น การแทรกแซงสื่อ องค์กรอิสระ สุดท้ายก็ไปไม่ได้ 

ดังนั้นตนจึงบอกว่า ที่กล่าวมาทั้งหมดเหมือนกับตอนนี้ที่เรากำลังพูดว่าประเทศไทย หรือเศรษฐกิจจะต้องเป็น 4.0 วันนี้เราก็ต้องมองหาการเมือง 4.0 ที่ไม่ไปเป็นแบบ 1.0 หรือ 2.0 หรือ 3.0 ซึ่งมันไปใช้ในสถานการณ์ปัจจุบัน และในอนาคตไม่ได้ แต่ไม่ใช่ไปเจาะจงเรื่องบุคคลคนใดคนหนึ่ง


 

RELATED ARTICLES

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img