หน้าแรกเศรษฐกิจ-การเงินไทยพาณิชย์ เปิดสูตรสำเร็จช่วยเอสเอ็มอีพิชิตทุกเป้าหมายให้เป็นจริง

ไทยพาณิชย์ เปิดสูตรสำเร็จช่วยเอสเอ็มอีพิชิตทุกเป้าหมายให้เป็นจริง

ไทยพาณิชย์ เปิดสูตรสำเร็จช่วยเอสเอ็มอีพิชิตทุกเป้าหมายให้เป็นจริง เสริมแกร่งผู้ประกอบการทุกมิติ หนุนลูกค้าอัพไซส์ธุรกิจจากร้อยล้านสู่พันล้าน

ธนาคารไทยพาณิชย์ ตอกย้ำวิสัยทัศน์ ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง สร้าง SME Ecosystem ขับเคลื่อนเป้าหมายของลูกค้าเอสเอ็มอีให้เป็นจริง ด้วยสูตรสำเร็จ 4 ปัจจัยที่เอสเอ็มอีต้องมี คือ องค์ความรู้ (Academy) ผลิตภัณฑ์และการบริการทางการเงิน (Banking product and service) เครือข่ายธุรกิจ (Connection) และ ดิจิทัลโซลูชั่น(Digital solotion) พร้อมถอดรหัสความสำเร็จเพื่อเอสเอ็มอีเป็นที่ 1 สร้างการเติบโตให้ธุรกิจจากร้อยล้านสู่พันล้าน ผ่านชุมชนความรู้ทางธุรกิจ SCB SME Academy หลักสูตรบ่มเพาะศักยภาพเอสเอ็มอีแบบ 360 องศา จากความรู้ประสบการตรงของ 19 นักธุรกิจผู้ประสบความสำเร็จตัวจริงร่วมเป็นที่ปรึกษา ซึ่งขณะนี้ได้พัฒนา 4 หลักสูตรหลักที่ได้รับการออกแบบร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดและสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจของตัวเองให้ได้มากที่สุด

นางพิกุล ศรีมหันต์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารตั้งเป้าสิ้นปีนี้พอร์ตสินเชื่อเอสเอ็มอีคงค้างแตะที่ 370,000 ล้านบาท จากปัจจุบันอยู่ที่ 345,551 ล้านบาท หรือเติบโต 8 % โดยคิดเป็นเม็ดเงิน 30,000 ล้านบาท ซึ่งครึ่งปีแรกสินชื่อเอสเอ็มอีเติบโตสุทธิที่ 1.5% หรือคิดเป็นเม็ดเงิน
5,000 ล้านบาท ซึ่งโดยเฉลี่ยธนาคารจะปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีประมาณ 100,000 ล้านบาทต่อปี ส่วนสินเชื่อเอสเอ็มอีขนาดเล็กที่มียอดขายต่อปีไม่เกิน
75 ล้านบาท ส่วนสินเชื่อเอสเอ็มอีขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่มียอดขายต่อปีอยู่ที่ 75-500 ล้านบาท โดยปัจจุบันบันสัดส่วนสินเชื่อเอสเอ็มอีขนาดเล็กจะอยู่ที่ 85,000 ล้านบาท และ สินเชื่อเอสเอ็มอีขนาดกลางและใหญ่จะอยู่ที่ 255,000 ล้านบาท

ส่วนธุรกิจที่ยังเติบโตได้ดี คือ ค้าปลีกและค้าส่ง มีสัดส่วนอยู่ที่ 11-12% ของยอดสินเชื่อคงค้าง นอกนั้นธุรกิจ โรงแรม เกษตร อาหาร และก่อสร้าง กระจายตัวใกล้เคียงกันเฉลี่ยประมาณที่ 3%-7% ซึ่งส่วนใหญ่ลูกค้าจะใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสูงถึง 70% ซึ่ง 6 เดือน เราได้ปล่อยสินเชื่อรายกลางและรายใหญ่ไป 30,000 ล้านบาท และรายเล็ก 12,000 ล้านบาท รวมทั้งหมดร่วมประมาณ 40,000 ล้านบาท ซึ่งลูกค้าได้ชำระคืนกลับมา 35,000 ล้านบาท เท่ากับเราเหลือ Net สุทธิที่ ทำได้แค่ 5,000 ล้านบาท ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติที่ครึ่งปีแรกจะโตน้อย ลูกค้าคืนเยอะกว่าแต่ครึ่งปีหลังก็จะโตได้เยอะ โดยรัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งก็จะเป็นเรื่องที่ดี เพราะแต่ละกระทรวงจะมีงบประมาณอยู่แล้วเมื่อเกิดการลุงทุนก็จะส่งต่อมายังเอสเอ็มอี เพราะรายใหญ่ก็ต้องกระจายงานมาลงมา จึงยังทำให้แบงก์ไม่ได้ปรับเป้า โดยตอนนี้เราได้เตรียมเงินไว้ 70,000 ล้านบาท เพื่อรองรับความต้องการในครึ่งปีหลัง

ด้านหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของสินเชื่อเอสเอ็มอีสิ่นปีนี้ธนาคารจะควบคุมให้ไม่เกิน 8% ซึ่งในปัจจุบันอยู่ที่ 7.80% ซึ่งลดลงจากสิ้นไตรมาสที่ 1/62 อยู่ที่ 7.82% เป็น NPL ที่เป็นของเก่า ส่วน NPL ใหม่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยที่ 0.75% ซึ่งสิ้นปีนี้จะควบคุมไม่ให้เกิน 1%
ส่วนนโยบายการปรับเพิ่มค่าแรงของรัฐบาลนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการเพราะผู้ประกอบการสามารถปรับเพิ่มราคาสินค้าและได้นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้แทนต้นทุนที่มาจากแรงงานโดยอย่าอิงแต่กับยอดขายเพียงอย่างเดียวซึ่งตัวผู้ประกอบการเองก็ต้องปรับตัวด้วย


RELATED ARTICLES

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img