เปิดเทอมนับเป็นช่วงเวลาที่สร้างทั้งความตื่นเต้นและกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ไม่แพ้ลูกหลาน เพราะในขณะที่ได้เห็นเด็กๆ โตขึ้นอีกหนึ่งปี และได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ แต่ก็ต้องกุมขมับกับค่าใช้จ่ายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นค่าเทอม ค่าหนังสืออุปกรณ์การเรียน ไปจนถึงค่าเสื้อผ้า ล่าสุด ผลการสำรวจโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยว่า ผู้ปกครองเกือบร้อยละ 40 มีเงินไม่พอต่อค่าเล่าเรียนของบุตรหลาน และมองหาวิธีการกู้ยืมเงินจากแหล่งต่างๆ เพื่อให้เด็กๆ ได้มีการศึกษาที่ดี
ปัจจุบัน มีแหล่งเงินทุนให้เลือกหลากหลาย แต่ผู้ปกครองหลายคนอาจไม่แน่ใจว่าสินเชื่อประเภทใดเหมาะกับตนเองมากที่สุด “คาร์ ฟอร์ แคช” ผู้นำตลาดสินเชื่อเพื่อคนมีรถ จึงขอเปรียบเทียบแหล่งเงินทุนประเภทต่างๆ เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่สามารถวางแผนการเงินได้อย่างสบายใจ ยิ้มได้จนจบเทอม
1. โรงรับจำนำ
การนำทรัพย์สินส่วนตัวไปจำนำยังคงเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยเลือก เพราะหลายคนมองว่ามีข้อจำกัดน้อย สามารถนำทรัพย์สินใดๆ ก็ได้ไปค้ำประกัน และอัตราดอกเบี้ยไม่ได้สูงเกินไป เช่น โรงรับจำของรัฐกำหนดไว้ที่ร้อยละ 0.25 – 1.25 ต่อเดือน นอกจากนี้ โรงรับจำนำของเอกชนเองก็ยังพัฒนาบริการให้น่าเชื่อถือ มีมาตรฐาน และทันสมัยอีกด้วย แต่ต้องอย่าลืมว่าตั๋วจำนำมีอายุ 4 เดือน 30 วัน ดังนั้น ในกรณีที่เงินต้นมีมูลค่าสูง คุณพ่อคุณแม่อาจไม่สามารถหาเงินมาไถ่ถอนทรัพย์สินได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด และต้องสูญเสียทรัพย์สินซึ่งหลายครั้งมีคุณค่าทางจิตใจไป
2. บัตรกดเงินสด
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่คุ้นเคยกับการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคลประเภทบัตรกดเงินสดคงเป็นตัวเลือกที่นึกถึง เพราะสะดวก เข้าถึงได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพียงกดเงินสดที่ตู้เอทีเอ็มทั่วไป ยิ่งไปกว่านั้น บัตรกดเงินสดยังมาพร้อมกับบริการที่ตอบโจทย์การใช้งานมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนวงเงิน ให้เลือกการแบ่งผ่อนชำระได้หลายรูปแบบ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแหล่งเงินทุนประเภทนี้ถือเป็นสินเชื่อที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยจึงค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับสินเชื่อประเภทอื่น โดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 28 ต่อปี ดังนั้น ถ้าไม่บริหารจัดการค่าใช้จ่ายอย่างรอบคอบ อาจทำให้เกิดภาระหนี้สินเกินตัวได้
3. สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์
พิโกไฟแนนซ์ เป็นสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัด วงเงินไม่เกิน 50,000 บาท สำหรับใช้อเนกประสงค์ สินเชื่อประเภทนี้ให้บริการโดยบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วน ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โดยผู้ประกอบกิจการสามารถปล่อยสินเชื่อให้แก่บุคคลที่เป็นคนในพื้นที่ (ทำงานหรือมีถิ่นที่อยู่) ภายในจังหวัด แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะสูงอยู่สักนิดที่ไม่เกินร้อยละ 36 ต่อปี รวมค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใดๆ แต่ก็มีความโปร่งใส่ เป็นธรรม พร้อมทางเลือกแบบมีหลักประกันหรือไม่มีก็ได้ และแม้วงเงินจะไม่สูงมาก แต่ก็มากพอที่จะช่วยแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบได้ ทำให้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้ปกครองในช่วงเปิดเทอมได้เช่นกัน
4. สินเชื่อเพื่อคนมีรถ
แหล่งเงินทุนที่อาจไม่ใช่ตัวเลือกแรก แต่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ คือ สินเชื่อเพื่อคนมีรถ เพราะมีอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นที่ร้อยละ 3.18 ต่อปี (แบบคงที่) ซึ่งถือว่าค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับสินเชื่อประเภทอื่นในวงเงินเท่ากัน และระยะเวลาผ่อนชำระค่อนข้างนาน สูงสุดถึง 84 เดือน ทำให้ภาระค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนของผู้ปกครองไม่สูงเกินไป นอกจากนี้ ผู้บริการหลายแห่งยังเสนอเงื่อนไข “โปะ” โดยสามารถชำระค่างวดในแต่ละเดือนได้มากกว่าที่กำหนดเมื่อมีความพร้อม ดอกเบี้ยก็จะน้อยลง ผ่อนได้หมดเร็วขึ้น และไม่ต้องโอนเล่มทะเบียนอีกด้วย
หนึ่งในความกังวลของผู้ปกครองเกี่ยวสินเชื่อประเภทนี้ก็คือ ขั้นตอนซับซ้อน มีข้อจำกัดเยอะ แต่ปัจจุบันขั้นตอนการพิจารณาสินเชื่อมีความรวดเร็วขึ้นมาก เช่น “คาร์ ฟอร์ แคช” ก็สามารถอนุมัติและรับเงินได้ภายใน 1 วัน อีกทั้งยังครอบคลุมทั้งรถยนต์ และบิ๊ก ไบค์ นอกจากนี้ ยังให้วงเงินสูงสุดถึงร้อยละ 100 ตามราคาประเมินรถ สำหรับประเภท “โปะ” สูงสุดถึง 1 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 12 ต่อปี (แบบลดต้นลดดอก) ทำให้มีเงินทุนไปใช้เพิ่มเติมในกรณีที่ต้องการเสริมสภาพคล่องในครอบครัวหรือธุรกิจได้อีกด้วย
5. เงินกู้นอกระบบ
เรารู้ถึงความเสี่ยงของเงินกู้นอกระบบ และไม่สนับสนุนให้เลือกใช้สินเชื่อประเภทนี้ เพราะนอกจากจะมีอัตราดอกเบี้ยสูงแล้ว ยังมีกฎเกณฑ์ที่ไม่เป็นธรรมจากการไม่มีกฎหมายรองรับ แต่คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจยังคงนึกถึง ในสถานการณ์ที่วงเงินเต็มบ้าง หรือขอสินเชื่อในระบบไม่ผ่านบ้าง อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ทั้งสถาบันการเงินและองค์กรของรัฐเองมีมาตรการช่วยเหลือมากมาย ผู้ปกครองจึงควรปรึกษาหน่วยงานเหล่านี้เกี่ยวกับเงื่อนไขการผ่อนชำระ รวมถึงศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น สำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
แน่นอนว่าแหล่งเงินทุนเหล่านี้ไม่ใช่ทางออกที่จะแก้ไขปัญหาการเงินทุกอย่างของครอบครัว สิ่งที่ดีที่สุดคือการวางแผนแต่เนิ่นๆ รวมถึงควรเตรียมเงินออมไว้สำหรับค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ เพื่อให้มีเงินเพียงพอในยามฉุกเฉินนั่นเอง