หน้าแรกการเมืองราชกิจจานุเบกษา ระเบียบกกต.กันบุคคลทำผิดกฎหมายเลือกตั้งเป็น‘พยาน’ โดยไม่ดำเนินคดีอาญา

ราชกิจจานุเบกษา ระเบียบกกต.กันบุคคลทำผิดกฎหมายเลือกตั้งเป็น‘พยาน’ โดยไม่ดำเนินคดีอาญา

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการกันบุคคลไว้เป็นพยานโดยไม่ดำเนินคดีอาญา พ.ศ.2562 โดยให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

ทั้งนี้ มีรายละเอียดที่น่าสนใจ คือ ในระเบียบนี้ “พยาน” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนร่วมในการกระทำความผิด และได้ให้ถ้อยคำหรือแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลอันเป็นสาระสำคัญในการที่จะใช้เป็นพยานหลักฐาน

ในการวินิจฉัยการกระทำความผิดของผู้กระทำความผิดนั้น ซึ่งคณะกรรมการได้มีมติกันไว้เป็นพยาน โดยไม่ดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมือง

“เจ้าพนักงาน” หมายความว่า บุคคลที่คณะกรรมการแต่งตั้งให้มีอำนาจในการสืบสวน สอบสวน ไต่สวน หรือดำเนินคดี ตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๖๐

ข้อ๔ การกันบุคคลไว้เป็นพยานของคณะกรรมการให้กระทำได้ในขั้นตอนการสืบสวนการไต่สวน หรือการพิจารณาวินิจฉัย

ข้อ๕ บุคคลที่อาจถูกกันไว้เป็นพยานต้องมีลักษณะ ประกอบด้วย

(๑) มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนร่วมในการกระทำผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมือง

(๒) ได้ให้ถ้อยคำหรือแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลอันเป็นประโยชน์ในการพิสูจน์การกระทำความผิดของผู้กระทำความผิดคนอื่นที่เป็นตัวการสำคัญ และสามารถที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานในการวินิจฉัยการกระทำความผิดของผู้กระทำความผิดนั้น

(๓) สมัครใจที่จะให้ถ้อยคำหรือแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลตาม (๒) และรับรองว่าจะไปเบิกความเป็นพยานในชั้นศาลตามที่ให้ถ้อยคำหรือแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลไว้

ข้อ๖ ในการสืบสวนหรือการไต่สวนหรือการพิจารณาวินิจฉัย หากปรากฏว่าการให้ถ้อยคำหรือแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลของบุคคลซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมืองรายใดจะเป็นประโยชน์ในการพิสูจน์การกระทำความผิดของผู้กระทำความผิดคนอื่นที่เป็นตัวการสำคัญ และสามารถที่จะใช้เป็นพยานหลักฐาน ในการวินิจฉัยการกระทำความผิดของผู้กระทำความผิดนั้นได้ ให้กรรมการการเลือกตั้ง เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดหรือกรุงเทพมหานคร บุคคลหรือคณะบุคคลที่คณะกรรมการแต่งตั้งหรือมอบหมาย แล้วแต่กรณี เสนอความเห็นพร้อมเหตุผลประกอบ ให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยต่อไป

ข้อ๗ ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่ามีเหตุสมควรที่จะกันบุคคลใดไว้เป็นพยานโดยไม่ดำเนินคดี ให้คณะกรรมการมีมติกันบุคคลนั้นไว้เป็นพยานโดยไม่ดำเนินคดี โดยมติดังกล่าวจะต้องระบุเหตุผลของการกันบุคคลนั้นเป็นพยาน และให้นำมติของคณะกรรมการรวมไว้ในสำนวนการสืบสวนหรือไต่สวนด้วย

ข้อ๘ ผู้ถูกกันไว้เป็นพยานอาจร้องขอให้คณะกรรมการจัดให้มีการคุ้มครองตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการคุ้มครองพยานได้

ข้อ๙ เมื่อคณะกรรมการมีมติตามข้อ ๗ หากผู้ถูกกันไว้เป็นพยานเป็นผู้ที่ยังไม่ได้ถูกแจ้งข้อกล่าวหา ให้คณะกรรมการสืบสวนและไต่สวน หรือเจ้าพนักงาน แล้วแต่กรณี สอบปากคำบุคคลดังกล่าวนั้นไว้ในฐานะพยาน แล้วทำการแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานหรือพิจารณาวินิจฉัยต่อไป

หากผู้ถูกกันไว้เป็นพยานเป็นผู้ที่ถูกแจ้งข้อกล่าวหาและได้ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาแล้ว ให้คณะกรรมการสืบสวนและไต่สวน หรือเจ้าพนักงาน แล้วแต่กรณี แจ้งแก่บุคคลนั้นว่าคณะกรรมการได้มีมติให้กันบุคคลนั้นไว้เป็นพยานโดยไม่ดำเนินคดี แล้วสอบปากคำบุคคลนั้นไว้ในฐานะพยาน

ข้อ๑๐ เมื่อคณะกรรมการมีมติให้กันบุคคลใดไว้เป็นพยานโดยไม่ดำเนินคดีแล้ว หากปรากฏในภายหลังว่าผู้ถูกกันไว้เป็นพยานได้ให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือไม่ไปเบิกความหรือไปเบิกความ แต่ไม่เป็นไปตามที่ได้ให้ถ้อยคำหรือแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลไว้ ให้การกันบุคคลไว้เป็นพยานนั้นสิ้นสุดลง โดยให้คณะกรรมการเพิกถอนมติการกันไว้เป็นพยาน และให้คณะกรรมการพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายกับบุคคลนั้นต่อไป

ข้อ ๑๑ ให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้

กรณีใดที่มิได้กำหนดไว้หรือจำเป็นต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้เสนอคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาด

ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๒

อิทธิพร บุญประคอง

ประธานกรรมการการเลือกตั้ง

T_0007


 

RELATED ARTICLES

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img