หน้าแรกการเมือง'สธ.' ย้ำรอบที่ล้าน บุหรี่มีสารพิษที่ก่อให้เกิดโรคร้ายแรง แนะเลิกไม่ยาก

‘สธ.’ ย้ำรอบที่ล้าน บุหรี่มีสารพิษที่ก่อให้เกิดโรคร้ายแรง แนะเลิกไม่ยาก

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์  เปิดเผยว่า บุหรี่มีสารพิษก่อให้เกิดโรคร้ายแรงต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย นิโคติน ทำให้หลอดเลือดตีบตัน เกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และกระตุ้นระบบประสาท คาร์บอนไดออกไซค์ ทำให้หัวใจและส่วนต่างๆของร่างกายได้รับออกซิเจนน้อย  ทำให้มีอาการเหนื่อยง่าย เป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ ทาร์ ทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็งปอด ไนโตรเจนไดออกไซค์จะทำลายเยื่อบุหลอดลมส่วนปลายและถุงลม ทำให้เกิดถุงลมโป่งพอง และไฮโดรเจนไซยาไนต์ ทำให้เกิดอาการไอ มีเสมหะ และหลอดเลือดอักเสบเรื้อรัง  จะเห็นได้ว่าสารพิษในบุหรี่มีมากมายหากสูบต่อไปอาจนำไปสู่โรคร้ายจนถึงแก่ชีวิตได้ อาทิ  โรคมะเร็งต่างๆ โรคหลอดเลือดในสมองตีบ โรคหัวใจและหลอดเลือด และเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

แพทย์หญิงวิพรรณ สังคหะพงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กล่าวว่า   การเลิกบุหรี่ไม่ยาก เพียงแค่หาเหตุจูงใจที่จะเลิก เช่น การมอบเป็นของขวัญกับคนที่รักในโอกาสสำคัญ เตรียมตัวให้พร้อมด้วยการกำหนดวันที่แน่นอนและบอกกับคนที่รักเพื่อเป็นกำลังใจ ทำจิตใจให้แจ่มใสไม่เครียด รวมทั้งต้องยืนยันการเลิกบุหรี่ โดยทิ้งอุปกรณ์การสูบบุหรี่ ทั้งนี้เมื่อรู้สึกอยากสูบบุหรี่ให้ดื่มน้ำหรือล้างหน้าทันทีเมื่อรู้สึกหงุดหงิด สูดลมหายใจเข้าลึกๆ และช้าๆ 2- 3 ครั้ง และหากิจกรรมอื่นๆ ทำเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น อ่านหนังสือ เล่นกีฬา เพื่อทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายขึ้น ที่สำคัญอย่าสูบบุหรี่ทันทีที่อยากสูบ ผลดีที่เกิดขึ้นหากสามารถเลิกบุหรี่ได้ใน 15 นาที หัวใจจะเต้นช้าลง และเมื่อครบ 12 ชั่วโมง  ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ลดลงสู่ภาวะปกติ ถ้าเลิกได้ 14 วัน ระบบไหลเวียนดีขึ้น หายใจโล่งขึ้น  รู้สึกสดชื่นขึ้น เมื่อเลิกได้ครบ  1 ปี ความเสี่ยงโรคหัวใจวายจะลดลง 50 % และใน 5 ปีเป็นต้นไป ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองลดลง 50 %

สถาบันโรคทรวงอกเปิดให้บริการคลินิกอดบุหรี่ ทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. ให้คำปรึกษาการเลิกบุหรี่ โดยบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทาง และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเปิดบริการ อดบุหรี่ด้วยยา ทุกวันจันทร์ เวลา 08.00 – 12.00 น. สอบถามรายละเอียดได้ที่โทร 02-5470999 ต่อ 30927

Ministry of Public Health


 

RELATED ARTICLES

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_img