ตำรวจ CIB รวบม้าเปิดบัญชีให้แก๊งคอลฯตุ๋นเหยื่อกว่า 4 แสนบาท

50

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการปราบปราม ภายใต้การอำนวยการของ
พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. ได้สั่งการให้ พล.ต.ต.มนตรี เทศขัน ผบก.ป., พ.ต.อ.พัฒนศักดิ์ บุบผาสุวรรณ รอง ผบก.ป., พ.ต.อ.พรศักดิ์ เลารุจิราลัย, พ.ต.อ.ปทักษ์ ขวัญนา รอง ผบก.ป., พ.ต.อ.เอกสิทธิ์ ปานสีทา ผกก.4 บก.ป., พ.ต.ท.เจษฎา แก้วจาเครือ, พ.ต.ท.ศุภกร ตังคะประเสริฐ, พ.ต.ท.เอนก บุญตา,พ.ต.ท.อรรถวิทย์ สุขทัศน์ รอง ผกก.4 บก.ป.เจ้าหน้าที่ชุดจับกุม นำโดย ว่าที่ พ.ต.ท.อัคนี ณ บางช้าง สว.กก.4 บก.ป. พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจกองกำกับการ 4 กองบังคับการปราบปราม

ร่วมกันจับกุม น.ส.อรพรรณฯ อายุ 34 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาธนบุรี ที่ 397/2567
ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ผู้ใดเปิดหรือยินยอนยอมให้บุคคลอื่นใช้บัญชีเงินฝากบัตรอิเล็กทรอนิกส์หรือบัญชีลิเล็กทรอนิกส์ของตนโดยมิได้เจตนาใช้เพื่อตนหรือเพื่อกิจการที่ตนเกี่ยวข้องโดยประการที่รู้หรือควรรู้ว่าจะนำไปใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือความผิดทางอาญาอื่นใดและสนับสนุนหรือช่วยเหลือทั้งก่อนหรือขณะกระทำความผิดในการร่วมกันฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่นและร่วมกันสนับสนุนโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงน้ำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน” และหมายจับของศาลจังหวัดขอนแก่น ที่ 343/2567 ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2567 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด “เป็นผู้สนับสนับสนุนผู้อื่นกระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนและเป็นผู้สนับสนุนผู้อื่นกระทำความผิดฐานทุจริตหรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชนและผู้ใดเปิดหรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้บัญชีเงินฝากบัตรอิเล็กทรอนิกส์หรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ของตนโดยมิได้มีเจตนาใช้เพื่อตนหรือเพื่อกิจการที่ตนเกี่ยวข้องทั้งนี้โดยประการที่รู้หรือควรรู้ว่าจะนำไปใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือความผิดทางอาญาอื่นใด”สถานที่จับกุม หน้าบ้านพักภายในสวนผลไม้ ม.11 ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมืองปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี

พฤติการณ์ สืบเนื่องจากผู้เสียหายต้องการหารายได้เสริมหลังเลิกงาน จึงได้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับงานผ่านทางแอปพลิเคชันเฟซบุ๊ก จนกระทั่งได้พบกับเจ้าของบัญชีเฟซบุ๊กของคนร้ายที่ประกาศรับสมัครหาคนทำงานเกี่ยวกับการแพ็กสินค้า เมื่อผู้เสียหายเห็นจึงเกิดความสนใจและได้ส่งข้อความเข้าไปสอบถามเกี่ยวกับงานดังกล่าว แต่คนร้ายตอบกลับว่า งานดังกล่าวเต็มแล้ว เหลือแต่งานให้กดถูกใจในแอปพลิเคชัน TIKTOK หากทำได้ก็จะมีรายได้โอนเข้ามาในบัญชี เมื่อทราบดังนั้น ผู้เสียหายจึงเกิดความสนใจที่จะทำงานดังกล่าว ต่อมาคนร้ายจึงได้ส่งลิงก์ผ่านทางไลน์ให้กับผู้เสียหายกดถูกใจ ซึ่งผู้เสียหายได้กดถูกใจจำนวน 2 ลิงก์ เมื่อผู้เสียหายกดถูกใจแล้ว คนร้ายได้แจ้งผู้เสียหายว่า ตอนนี้ผู้เสียหายมีรายได้จากการกดถูกใจลิงก์ดังกล่าว รวมเป็นเงิน 70 บาท ซึ่งหากผู้เสียหายต้องการถอนเงิน ให้ผู้เสียหายถอนเงินผ่านแอปพลิเคชัน TFEX ซึ่งคนร้ายได้ส่งลิงก์แอปพลิเคชันดังกล่าวให้กับผู้เสียหายทางไลน์ และได้ส่งชื่อบัญชีกับพาสเวิร์ด ซึ่งคนร้ายอ้างว่าเป็นของผู้เสียหาย ให้ผู้เสียหายกรอกข้อมูลเพื่อใช้งานแอปพลิเคชันดังกล่าว ก่อนที่ต่อมาคนร้ายจะสอนวิธีถอนเงินให้กับผู้เสียหาย โดยแจ้งว่าให้ผู้เสียหายกรอกชื่อสกุลจริง และบัญชีธนาคารที่จะใช้รับเงินจากการถอนเงิน และเมื่อกรอกข้อมูลเสร็จสิ้นให้กดยืนยันการถอนเงิน และส่งภาพหน้าจอดังกล่าวให้กับคนร้าย หลังจากส่งภาพหน้าจอดังกล่าวแล้ว คนร้ายได้ส่งรหัสการถอนเงินให้กับผู้เสียหายเพื่อนำไปกรอกยืนยันการถอนเงิน เมื่อนำรหัสดังกล่าวไปกรอกยืนยันการถอนเงิน พบว่ามีเงินจำนวน 70 บาท เข้าบัญชีผู้เสียหายจริง ซึ่งทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อ

หลังจากผู้เสียหายได้เงินจำนวน 70 บาทแล้ว คนร้ายได้ชักชวนให้ผู้เสียหายทำภารกิจพิเศษ เพื่อที่จะได้เงินเพิ่ม แต่ผู้เสียหายต้องเติมเงินเข้าบัญชีที่คนร้ายแจ้ง ซึ่งผู้เสียหายเติมเงินไปครั้งที่ 2 อีก 100 บาท ได้เงินมา 178 บาท และโอนครั้งที่ 3 จำนวน 300 บาท ได้เงินมา 498 บาท ต่อมาในครั้งที่ 4 คนร้ายแจ้งให้ผู้เสียหายเติมเงิน 1,000 บาท ผู้เสียหายหลงเชื่อจึงเติมเงินเข้าไป 1,000 บาท แต่เมื่อเติมแล้วคนร้ายแจ้งว่ายอดเงินเติมไม่พอที่จะทำภารกิจพิเศษ ต้องเติมเพิ่มอีก 18,000 บาท เมื่อผู้เสียหายเติมเงินจำนวน 18,000 บาท เข้าไป คนร้ายได้อ้างกับผู้เสียหายต่างๆ ว่า ผู้เสียหายทำภารกิจผิดพลาดทำให้ไม่สามารถถอนเงินได้, ใส่ตัวเลขผิด, ต้องซ่อมบิลที่ผิดพลาดเพื่อให้ผู้เสียหายโอนเงินเพิ่ม จนกระทั่งผู้เสียหายรู้ตัวว่าตนเองถูกหลอกให้โอนเงิน รวมจำนวนทั้งหมด 10 ครั้ง เป็นเงิน 443,517.50 บาท และได้คืนมาเพียง 820 บาท ผู้เสียหายจึงได้มาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีกับคนร้ายตามกฎหมาย

ต่อมา พนักงานสอบสวนได้รวบรวมพยานหลักฐาน พบว่าหลังจากผู้เสียหายถูกหลอกลวง ได้มีการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของผู้ต้องหาและบัญชีธนาคารของบุคคลอื่นอีกหลายคนเป็นทอดๆ ในลักษณะ
ของบัญชีม้าและได้ยื่นคำร้องขอออกหมายจับผู้ต้องหาต่อศาลอาญาธนบุรี ซึ่งศาลได้อนุมัติตามคำร้อง ก่อนที่ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมจะได้ร่วมจับกุมตัวผู้ต้องหาส่งพนักงานสอบสวน สน.บางขุนเทียนเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

นอกจากนี้ จากการตรวจสอบพบว่า ผู้ต้องหามีหมายจับของศาลจังหวัดขอนแก่น ที่ 343/2567 ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2567 ในความผิดในลักษณะเดียวกัน และเมื่อนำชื่อของผู้ต้องหาไปค้นหาในโซเชียลมีเดียพบว่า มีชื่อของผู้ต้องหาถูกประกาศแจ้งเตือนภัยไว้อีกด้วย สอบถามคำให้การผู้ต้องหาเบื้องต้น ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา

#Thaitabloid #สำนักข่าวไทยแทบลอยด์ #ข่าวอาชญากรรม #ข่าวตำรวจ