มาร่วมกันปิดสวิตซ์เปิดโปงขบวนการค้าบุหรี่เถื่อน ประเทศพัง เกษตรกรน้ำตาตก (ตอน 1)

485

“คงไม่ต้องสาธยายเรื่องราวพิษภัยของบุหรี่ แต่ถ้าไม่โลกสวยจนเกินไป ก็คงต้องยอมรับว่าปัจจุบันประชากรโลกยังมีผู้สูบบุหรี่อยู่อีกเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นถ้าจะแบนบุหรี่เสียทีเดียว ก็เท่ากับขัดขาการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจประเทศชาติ ซ้ำยังทำร้ายเกษตรกรชาวไร่ยาสูบ”

การขึ้นภาษีสรรพสามิตของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา แสดงให้เห็นอย่างชัดเจน ไม่ได้ช่วยให้คนสูบบุหรี่ลดลง แต่ตรงกันข้าม กลับเป็นการทำลายเกษตรกรชาวไร่ยาสูบ ที่ส่วนใหญ่ทางภาคอีสานและเหนือ มักนิยมปลูกหลังนา สร้างรายได้กันมานานตั้งแต่บรรพบุรุษ

การขึ้นภาษีนี้ ส่งผลให้บุหรี่ไทยแพงขึ้นจากขั้นต่ำซองละ 40 บาท ขึ้นเป็น 60 บาท และขึ้นเรื่อยมา บุหรี่นอกที่ขายในไทยจึงต้องปรับกลยุทธ สุดท้ายบุหรี่นอกแทบจะทุกแบรนด์ราคาต่ำกว่าบุหรี่ไทยที่คนไทยคุ้นเคย บุหรี่ไทยก็ออกแบรนด์ใหม่มาสู้กับบุหรี่นอกในราคาใกล้เคียง แต่ถามว่าขี้ยาทั้งหลายจะเลือกสูบบุหรี่ไทยหรือบุหรี่นอกการยาสูบฯ ทรุดหนัก

การที่บุหรี่ไทยแพงขึ้น นอกจากส่งผลให้การยาสูบแห่งประเทศไทย ที่เคยมีรายได้ส่งรัฐบาลได้เป็นลำดับต้นๆ ของประเทศ ต้องประสบกับภาวะชงักงันหรือเรียกง่ายๆ ขาดทุนกำไร ปี 2560 เคยมีเงินนำส่งเข้ารัฐ 6.2 หมื่นล้านบาท ปัจจุบันเหลือแค่ 3.8 หมื่นล้านบาท จากกำไร 9,000 ล้านบาท เหลือแค่ 221 ล้านบาท ส่งผลให้ต้องยกเลิกโควต้ายาสูบของเกษตรกรไปครึ่งหนึ่ง ซ้ำร้ายยังต้องเอาภาษีมาชดเชยให้เกษตรกรเหล่านี้ อีกสิ่งหนึ่งที่ตามมาคือ บุหรี่ไฟฟ้า ที่ขายกันเกลื่อนเมืองทั้งที่ผิดกฎหมาย และบุหรี่เถื่อน ที่มีมานานหลายสิบปี แต่กลับไม่มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจังสักที ก็ไม่รู้เพราะเหตุอันใด

จากการสำรวจสถานการณ์บุหรี่ผิดกฎหมาย อันเป็นการสำรวจซองบุหรี่เปล่าจัดทำขึ้นในประเทศไทยเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี 2552 โดยความร่วมมือของการยาสูบแห่งประเทศไทย และบริษัทผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ยาสูบ เพื่อศึกษาข้อมูลและติดตามสัดส่วนของบุหรี่ผิดกฎหมายในประเทศไทย ซึ่งได้แก่ บุหรี่ที่ไม่เสียภาษี และบุหรี่ปลอม พบว่าบุหรี่ผิดกฎหมายเกือบทั้งหมด ร้อยละ 97 ของปริมาณบุหรี่ผิดกฎหมายทั้งหมด เป็นบุหรี่ลักลอบหนีภาษีจากต่างประเทศ 24.8% และ 0.8% เป็นบุหรี่ปลอมแปลงตราสินค้าบุหรี่เถื่อนโตสุดในรอบ 10 ปี

ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม (ไตรมาสที่ 1) ปี 2567 ด้วยวิธีการสำรวจซองบุหรี่เปล่า (Empty Packs Survey) สัดส่วนบุหรี่ผิดกฎหมาย (บุหรี่ที่ไม่เสียภาษีในประเทศไทยและบุหรี่ปลอม) ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นจาก 22.6% ในไตรมาส 4 ปี 2566 เป็น 25.5% ในไตรมาส 1 ปี 2567 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เริ่มทำการสำรวจเมื่อปี 2554 หรือสูงที่สุดในรอบ 10 ปี และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงปี 2563 พบว่าสัดส่วนบุหรี่ผิดกฎหมายเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าในระยะเวลาเพียง 3 ปี

ภาคใต้ยังคงเป็นพื้นที่ที่มีปริมาณบุหรี่ผิดกฎหมายมากที่สุดในประเทศ โดยกว่า 60% ของบุหรี่ผิดกฎหมายพบใน 6 จังหวัดในภาคใต้ ได้แก่ สงขลา (90.6%) สตูล (88.5%) พัทลุง (75.5%) ภูเก็ต (74.4%) นครศรีธรรมราช (72.5%) และระนอง (61%) ซึ่งบ่งชี้ถึง “ความชุก” ของบุหรี่ผิดกฎหมายในจังหวัดนั้นๆ ขณะที่พื้นที่ที่พบบุหรี่ผิดกฎหมายสูง โดยมีสัดส่วนบุหรี่ผิดกฎหมายในระดับ 30-45% รวม 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเป็นเมืองขนาดใหญ่และส่งผลให้สัดส่วนบุหรี่ผิดกฎหมายของทั้งประเทศให้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และถือเป็นพื้นที่ที่มีการเติบโตของบุหรี่ผิดกฎหมายสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ หรือประมาณ 73 เท่า ในระยะเวลา 3 ปี

นอกจากนี้ ยังพบการขยายตัวของบุหรี่ผิดกฎหมายในหลายพื้นที่ โดยมีสัดส่วนบุหรี่ผิดกฎหมายในระดับ 20-30% รวม 9 จังหวัด อาทิ นครราชสีมา หนองคาย นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี อุดรธานี และขอนแก่น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการค้าบุหรี่ผิดกฎหมายได้แพร่กระจายไปยังทุกพื้นที่ทั่วประเทศแล้วบุหรี่เถื่อนหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนรัฐบาลทราบกันหรือไม่ว่า เศรษฐกิจนอกระบบภาษี (Informal Economy) และเศรษฐกิจใต้ดิน (Underground Economy) คาดว่ามีมูลค่าสูงกว่า 50% ของ GDP ฉะนั้นการสร้างรายได้ใหม่ด้วยการนำมันมาเข้าสู่ระบบภาษีจึงเป็นหนึ่งใน 10 นโยบายเร่งด่วนที่นายกรัฐมนตรี น.ส. แพทองธาร ที่ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาในวันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมา โดยหนึ่งในปัจจัยสำคัญนอกเหนือจากยาเสพติดและการพนันที่ส่งเสริมเศรษฐกิจใต้ดินเติบโตอย่างต่อเนื่องคือ การค้าของเถื่อน อาทิ น้ำมันเถื่อน หมูเถื่อน บุหรี่เถื่อน

นอกจากนั้นบุหรี่เถื่อนหรือบุหรี่ไม่เสียภาษี ไม่เพียงแต่กระทบต่อรายได้ของภาครัฐ แต่ยังส่งผลต่อผู้บริโภคและอุตสาหกรรมยาสูบทั้งระบบ ครอบคลุมทั้งต้นน้ำ คือ ภาคเกษตร กลางน้ำ คือ ผู้ค้าใบยาสูบ ผู้ผลิตบุหรี่ และปลายน้ำ ร้านค้าบุหรี่ถูกกฎหมาย ตลอดจนผู้บริโภค กทม./ปริมณฑล เมืองหลวงใหม่บุหรี่เถื่อน บุหรี่ผิดกฎหมาย ทั้งบุหรี่เถื่อนและบุหรี่ปลอม กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด และขยายตัวอย่างต่อเนื่องครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เมื่อย้อนไปดูผลการสำรวจซองบุหรี่เปล่าเมื่อปี 2560 พบการระบาดของบุหรี่เถื่อนเพียง 6.6% โดยพบมากในพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะ จ. สงขลา และ จ. สตูล และภายในเวลา 7 ปี ภายหลังการสำรวจในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 พบ สัดส่วนการบริโภคบุหรี่ผิดกฎหมายเพิ่มสูงขึ้นเป็น 25.5% โดยปัญหานี้ขยายตัวจากพื้นที่ภาคใต้สู่หัวเมืองใหญ่ในภาคกลาง เช่น กรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งบุหรี่เถื่อนเพิ่มขึ้นถึง 73 เท่าในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา และปัจจุบันทุกการบริโภคบุหรี่ 1 ใน 4 ซองของบุหรี่ที่มีการบริโภคในประเทศกลายเป็นการบริโภคบุหรี่ผิดกฎหมาย

เรื่องของบุหรี่ผิดกฎหมายไม่ใช่ Home-grown Problem หรือ พูดง่ายๆ มันไม่ใช่ปัญหาที่เกิดจากแหล่งกำเนิดภายในประเทศ แต่มีลักษณะเป็นปัญหาระหว่างประเทศที่ต้องอาศัยความร่วมมือในการจัดการกับปัญหา เนื่องจากบุหรี่เถื่อนทั้งบุหรี่หนีภาษีและบุหรี่ปลอมที่พบในประเทศไทยนั้น ล้วนมีแหล่งกำเนิดมาจากต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน และถูกลักลอบนำเข้ามายังประเทศไทยในรูปแบบต่างๆ ทั้งการลักลอบนำเข้าผ่านทางชายแดนทางบกและทางทะเล ตลอดจน การลักลอบในรูปการซุกซ่อน หรือสำแดงการนำเข้าเท็จ และลักลอบนำเข้าผ่านรูปแบบของสินค้าผ่านแดนเพื่อผ่านไปยังประเทศที่สาม นั่นหมายความว่าไม่ใช่ใบยาจากเกษตรกรไทย

เส้นทางลักลอบนำเข้า การลักลอบนำเข้าบุหรี่เถื่อนจากประเทศเพื่อนบ้านผ่านระบบขนส่งหลายรูปแบบ ทางน้ำ ทางบก และกองทัพมด ผ่านเข้าสู่ประเทศไทย ขบวนการบุหรี่เถื่อนเกล่านี้ไม่เกรงกลัวต่ออำนาจรัฐ และมีการปรับเปลี่ยน “เทคนิค” การลักลอบนำเข้าและกระจายสินค้าเพื่อหลบหนีการจับกุมอยู่ตลอด

เส้นทางหลักของการลำเลียงบุหรี่เถื่อนนั้นมาจากการขนส่งหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น “กองทัพมด” ที่ทยอยลักลอบผ่านด่านเข้ามาทีละน้อยๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจตราของเจ้าหน้าที่ หรือลักลอบผ่านน่านน้ำชายฝั่งทางภาคใต้ที่มีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านลักลอบขนถ่ายจากเรือประมงขนาดใหญ่สู่เรือประมงเล็กกลางทะเล รวมถึงการลำเลียงทางบกผ่านเส้นทางต่างๆ โดยใช้รถกระบะ ลักลอบนำเข้าล็อตใหญ่ หรือแม้แต่ใช้ช่องโหว่ด้านศุลกากรในการสำแดงเป็นสินค้าผ่านแดน หรือเขตปลอดอากร เพื่อหลบหลีกการตรวจสอบ

จากเดิมผู้ลักลอบนำเข้ามักมีโกดังร้างสำหรับพักสินค้าเอาไว้ ซึ่งหลายครั้งที่โดนบุกจับกุมยึดของกลางได้ แต่ก็มักจะไม่ได้ตัวผู้ต้องหาให้นำไปขยายผลสืบสวนต่อ พัฒนาสู่โกดังเคลื่อนที่ เก็บไว้ตามท้ายรถกระบะ หรือหน้าร้านขนาดเล็ก เพื่อตบตาเจ้าหน้าที่ และเอื้อต่อการขนส่งผ่านผู้ซื้อให้ได้เร็วที่สุด โดยทางบกมักนำเข้าจากจากประเทศมาเลเซีย เข้าทาง จ.นราธิวาส จ.สตูล และ จ.สงขลา ไม่ก็จากประเทศกัมพูชา เข้าทาง จ. สระแก้ว จ.จันทบุรี และ จ. ตราด ส่วนทางน้ำ 79% มาจากประเทศเวียดนามทางเรือ เข้าสู่ประเทศไทยผ่านการสำแดงเป็นสินค้าผ่านแดน แต่ออกไปจากชายแดนทางทะเลไทย และวนกลับเข้าสู่ท่าเรือขนาดใหญ่และขนาดเล็กในพื้นที่เขตชายแดนทะเล เช่น ในจ.ตรัง จ.สตูล และ จ.สงขลา

ช่องทางการจัดจำหน่าย ร้านขายบุหรี่เถื่อนเพิ่มจำนวนขึ้นมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ 8 จังหวัดในภาคใต้ ที่เปิดหน้าร้านขายสินค้าเถื่อน อย่างไม่เกรงกลัวอำนาจรัฐ มีร้านค้าบุหรี่เถื่อนแบบสแตนด์อะโลน (stand-alone) คือเปิดหน้าร้านขายบุหรี่หนีภาษีอย่างเดียวเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่า ปัจจุบัน ร้านค้ารูปแบบนี้ก็ปรับเปลี่ยนหน้าร้านให้เหมือนร้านค้าโชห่วย เพื่อตบตาเจ้าหน้าที่และลดการเป็นเป้าสนใจ

ร้านค้าเหล่านี้เมื่อถูกจับกุมและเสียค่าปรับไปแล้ว ก็มักจะกลับมาเปิดขายกันได้ตามปกติ หรือบางร้านอาจมีเทคนิคในการหลบเลี่ยงด้วยการกระจายสินค้าไปเก็บไว้ที่อื่น เช่น รถปิกอัพ หากตำรวจจะเข้าจับกุมก็สามารถขับรถหนีไปซ่อนที่อื่นได้ ทำให้ไม่โดนยึดของกลาง และสามารถมีสินค้ากลับมาขายใหม่ได้ไม่ขาดช่วง บางร้านใช้เทคนิคการตบตาเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ด้วยการเปิดหน้าร้านเป็นร้านรับส่งพัสดุ เพื่อให้ยากต่อการจับกุม


นอกจากนี้การค้าออนไลน์และระบบขนส่งที่รวดเร็วทั่วประเทศไทย เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้การควบคุมและจับกุมบุหรี่เถื่อนยากขึ้น เนื่องจากผู้ค้าเหล่านี้ไม่มีหน้าร้านที่ชัดเจน การซื้อขายเกิดขึ้นผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ทำให้ผู้ลักลอบสามารถขายและส่งบุหรี่เถื่อนให้กับผู้บริโภคโดยตรงโดยไม่มีการตรวจสอบ ยากต่อการติดตามตัวผู้กระทำผิดบุหรี่เถื่อนกระทบทั้งอุตสาหกรรม/ประเทศชาติ

ผลกระทบต่อชาวไร่ยาสูบ-ผู้สูบบุหรี่เปลี่ยนไปซื้อบุหรี่เถื่อนซึ่งมีราคาถูกกว่ามาก ทำให้ยอดขายบุหรี่ลดลง ส่งผลกระทบต่อการรับซื้อใบยาจากชาวไร่ บุหรี่เถื่อน 25% คิดเป็นใบยาที่หายไปกว่า 7 ล้านกิโลกรัม มูลค่าประมาณ 700 ล้านบาทต่อปี เท่ากับลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตตบอลโลก 2022 กระทบชาวไร่ยาสูบกว่า 22,000 ครอบครัวทั่วไทย


ผลกระทบต่อร้านค้าที่จำหน่ายบุหรี่ถูกกฎหมาย- ร้านค้าไม่สามารถขายบุหรี่ได้ เนื่องจากลูกค้าหันไปซื้อบุหรี่เถื่อนแทน ทำให้ยอดขายบุหรี่ลดลงกว่า 50% ซึ่งเมื่อลูกค้าไม่เข้าร้านก็ทำให้ร้านค้าเสียโอกาสในการขายสินค้าอื่นไปด้วย ซึ่งรายได้จากการขายบุหรี่เฉลี่ยคิดเป็น 20-30% ของรายได้รวมจากการขายสินค้าในแต่ละวัน ร้านค้าบุหรี่ที่ถูกกฎหมายทั่วประเทศประมาณ 5 แสนร้านค้า โดยเฉพาะภาคใต้รายได้ต่อวันลดลงเฉลี่ย 700-1,400 บาท คิดเป็นความสูญเสียรวมกว่า 2,200 ล้านบาท เท่ากับสนามกีฬาขนาดกลาง (8 หมื่นที่นั่ง) 2 สนาม

ร้านค้าขนาดเล็กยังได้รับผลกระทบจากพฤติกรรมของขบวนการบุหรี่ปลอม ที่มักจะนำสินค้ามาหลอกขายร้านค้า ซึ่งร้านค้าที่ดูไม่ออก ก็จะโดนหลอกให้รับซื้อบุหรี่ปลอมไว้ ทำให้ต้องตกเป็นผู้กระทำผิดตามกฎหมายมีโทษทั้งจำและปรับ และยังต้องเสียเงินซื้อบุหรี่ปลอมมาเก็บไว้แต่ไม่สามารถขายได้อีกด้วย

ขณะที่ส่งผลกระทบต่อรายได้รัฐกว่า 23,000 ล้านบาท ต่อปี หรือเท่ากับอาคารโรงพยาบาลขนาด 800-1,000 เตียง 2 โรงพยาบาล, ภาษีสรรพสามิต 17,000 ล้านบาท, ภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (Earmarked Tax) 1,300 ล้านบาท, ภาษีบำรุงท้องที่ 700 ล้านบาท, ภาษีมหาดไทย 1,700 ล้านบาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 1,900 ล้านบาท อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อการควบคุมการบริโภคยาสูบ ส่งผลกระทรวงสาธารณสุข ไม่บรรลุวัตถุประสงค์การควบคุมยาสูบ เนื่องจากบุหรี่เถื่อนราคาถูก ผู้สูบบุหรี่ เด็กและเยาวชนเข้าถึงได้ง่าย อีกทั้ง ยังไม่มีภาพและข้อความเตือนถึงอันตรายของการสูบบุหรี่ และผลกระทบด้านสังคม เนื่องจากบุหรี่เถื่อนเป็นต้นตอของการทุจริต คอรัปชั่นของเจ้าหน้าที่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์การทำงานของรัฐบาล กระทรวงการคลัง กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ การค้าบุหรี่เถื่อนยังอาจะเป็นแหล่งเงินทุนของอาชญากรรมข้ามประเทศอีกด้วย

ปราบบุหรี่เถื่อนความท้าทายภาครัฐ ที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมสรรพสามิต เข้มงวดในการปราบปรามและจับกุมการลักลอบนำเข้าและการจำหน่ายบุหรี่เถื่อนมากขึ้น

มาร่วมกันปิดสวิตซ์บุหรี่เถื่อน ประเทศพัง เกษตรกรน้ำตาตก(ตอน จบ)