ตามนโยบายของ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รรท.ผบ.ตร. ,พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วย ผบ.ตร. ,พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. ให้ปราบปรามจับกุมอาชญากรรมทุกรูปแบบ โดยเฉพาะผู้ต้องหาในคดีออนไลน์ ซิมผีบัญชีม้า
เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2567 พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น., พล.ต.ต.วสันต์ เตชะอัครเกษม รอง ผบช.น.พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น.
พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. , พ.ต.อ.เกียรติศักดิ์ สระทองออย รอง ผบก สส.ฯ , พ.ต.อ.วิชิต ถิรขจรวงศ์ ผกก.สส.1ฯ,พ.ต.ท.พีรบูรณ์ แก้วดู รอง ผกก.สส.1ฯ ,พ.ต.ท.เอกศิษฐ์ วรกิตติ์ฐากรณ์ รอง ผกก.สส.1ฯ ได้สั่งการให้ พ.ต.ต.คณิตนนท์ ถนอมศรี สว.กก.สส.1ฯ พร้อมชุดปฎิบัติการที่ 4 ดำเนินการจับกุม
นายสถาพร สุวรรณชาติอายุ 27 ปีที่อยู่ 44/7 หมู่ที่ 3 ต.สิงโตทอง อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทราบุคคลตามหมายจับศาลอาญา 3944/2567 ลงวันที่ 22 สิิงหาคม 67
ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ฉ้อโกงประชาชน โดยทุจริตนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน” สถานที่จับกุมหน้าบ้าน หมู่ที่ 3 ต.สิงโตทอง อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา
พฤติการณ์ ผู้เสียหายได้พบกับโฆษณาที่พักของเพจเฟซบุ๊กรีสอร์ท ในเกาะกูด (ซึ่งเป็นเพจปลอม) ซึ่งเปิดเป็นสาธารณะบุคคลทั่วไป สามารถเข้าถึงได้ ผู้เสียหายสนใจจึงติดต่อไปยังเพจเฟซบุ๊กดังกล่าว เพื่อสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับห้องพัก และหลงเชื่อจึงโอนเงินให้แก่คนร้ายเพื่อจองที่พักดังกล่าว รวมทั้งหมด 2 ครั้ง มูลค่าความเสียหาย 4,390 บาท ต่อมา ผู้เสียหายติดต่อไปยังเพจเฟซบุ๊กดังกล่าวอีกครั้ง ปรากฏว่าไม่สามารถติตต่อได้ จึงเชื่อว่าตนถูกหลอกลวงให้โอนเงินค่าที่พักดังกล่าวเป็นเหตุให้ได้รับความเสียหาย จึงมาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน
.
ในชั้นจับกุม ผู้ต้องหาให้การปฏิเสธ จากการตรวจสอบใน blacklistseller ยังพบว่า ผู้ต้องหามีรายการเฝ้าระวังเกี่ยวกับขายของออนไลน์และจองที่พักอีก 3 รายการ จากนั้นได้นำตัวนำส่ง สน.บางซื่อ เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายและส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
.
พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ฝากเตือนว่า ให้ระวังมิจฉาชีพสร้างเพจปลอม หลอกให้โอนเงิน ค่าที่พัก ก่อนเท ทิ้งนักท่องเที่ยว ต้องทำอย่างในการจองห้อง ไม่ให้โดนหลอกง่ายๆ ควรจองที่พักผ่านช่องทางที่น่าเชื่อถือ และตรวจสอบรีวิวการเข้าพัก เพื่อประกอบการตัดสินใจ ตรวจสอบชื่อที่พักให้ดี และสังเกตว่ามีส่วนร่วมของผู้เข้าพักมากน้อยแค่ไหน เพจ Facebook จะต้องมีเครื่องหมายยืนยันตัวตน และสังเกตผู้ติดตาม โดยเพจปลอมจะน้อยกว่าเพจจริง ก่อนโอนเงินควรตรวจสอบเลขบัญชีผู้รับ หรือโทรสอบถามผ่านหน่วยงานที่เชื่อถือได้ ระมัดระวังการประกาศโฆษณาที่พักราคาถูก เกินจริง หรือหลุดจอง ตรวจสอบชื่อเพจ หรือวันสร้างเพจ และประวัติการเปลี่ยนชื่อของเพจ สุดท้ายลองเช็กบัญชีคนโกงในเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ