ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการปราบปราม ภายใต้การอำนวยการของ
พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., พล.ต.ต.สุวัฒน์ แสงนุ่ม รอง ผบช.ก., พล.ต.ต.วิวัฒน์ ชัยสังฆะ รอง ผบช.ก., พล.ต.ต.โสภณ สารพัฒน์ รอง ผบช.ก., พล.ต.ต.มนตรี เทศขัน ผบก.ป., พ.ต.อ.เอนก เตาสุภาพ รอง ผบก.ป., พ.ต.อ.วิระชาญ ขุนไชยแก้ว รอง ผบก.ป., พ.ต.อ.ปทักข์ ขวัญนา รอง ผบก.ป.,พ.ต.อ.ภัทราวุธ อ่อนช่วย ผกก.5 บก.ป., พ.ต.ท.ฤทธิชัย ชุมช่วย, พ.ต.ท.หัตถพร ทองคำ,
พ.ต.ท.ณัติรุจน์ วัฒนะฉัตรรัตน์ รอง ผกก.5 บก.ป.
เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุม นำโดย พ.ต.ท.กิติภูมิ ศรีแผ้ว สว.กก.5 บก.ป., ว่าที่ ร.ต.อ.นนทกร นันทะน้อย
รอง สว.(สอบสวน) กก.5 บก.ป. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ชุดปฏิบัติการ กก.5 บก.ป.
ร่วมกันจับกุม น.ส.วารีฯ อายุ 44 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับ 3 หมายจับ ดังนี้ หมายจับศาลอาญากรุงเทพใต้ ที่ 489/2567 ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2567 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่นและโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อบุคคใดบุคคลหนึ่ง หรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้บัญชีเงินฝาก บัตรอิเล็กทรอนิกส์หรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ของตน โดยมิได้มีเจตนาใช้เพื่อตนหรือเพื่อกิจการที่ตนเกี่ยวข้อง ทั้งนี้โดยประการที่รู้หรือควรรู้ว่าจะนำไปใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือความผิดทางอาญาอื่นใด”
, หมายจับศาลจังหวัดนครนายก ที่ จ.123/2567 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2567 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน โดยแสดงตนเป็นคนอื่น และร่วมกันโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง
นำเข้าสู่ระบบ คอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน”, หมายจับศาลจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ 98/2567 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2567 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “สนับสนุนในการกระทำผิดฐานฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่นโดยทุจริตหรือหลอกลวง,นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดการเสียหายแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด, เปิดหรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้บัญชีเงินฝากบัตรอิเล็กทรอนิกส์หรือบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของตนโดยมิได้มีเจตนาเพื่อตนหรือกิจการที่ตนเกี่ยวข้อง ทั้งนี้โดยประการที่รู้หรือควรจะรู้ว่าจะนำไปใช้ในการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือความผิดอาญาอื่นใด” หมายจับศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ จ.402/2567 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2567 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่นและร่วมกันโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด, เปิดหรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีเงินฝากของตนโดยมิได้มีเจตนาใช้เพื่อตนหรือเพื่อกิจการที่ตนเกี่ยวข้อง โดยประการที่รู้หรือควรจะรู้ว่าจะนำไปใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือความผิดทางอาญาอื่นใด”
สถานที่จับกุม บริเวณริมถนนในซอยพหลโยธิน 113 ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี
พฤติการณ์ สืบเนื่องจากมีผู้เสียหายได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่า มีบุคคลแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งหนึ่งโทรมาหาผู้เสียหายและแจ้งผู้เสียหายว่าได้เปิดบัญชีกับธนาคารไว้และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน จากนั้นให้โอนสายไปคุยกับบุคคลที่แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจและแจ้งว่าให้โอนเงินมาตรวจสอบเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ ผู้เสียหายหลงเชื่อจึงได้โอนเงินไปรวมจำนวนกว่า 1,400,000 บาทจนเมื่อผู้เสียหายรู้ตัวว่าถูกหลอกจึงได้เข้าแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.5 บก.ป. ได้ทำการสืบสวนจนทราบว่า ผู้ต้องหารายนี้หลบหนีมาอยู่ที่บ้านพักในซอยพหลโยธิน 113 ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี จึงลงพื้นที่สืบสวนติดตามตัวผู้ต้องหารายนี้ จนกระทั่งพบผู้ต้องหายืนอยู่บริเวณริมถนน เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงเข้าจับกุมผู้ต้องหา จากนั้นจึงควบคุมตัวส่งพนักงานสอบสวน สน.ทุ่งมหาเมฆ เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป นอกจากนี้ยังพบว่า แก๊งคอลเซ็นเตอร์ใช้บัญชีของผู้ต้องหาหลอกลวงในลักษณะเดียวกัน จนเป็นเหตุให้ถูกออกหมายจับอีก 3 หมายจับ
สอบถามคำให้การผู้ต้องหาเบื้องต้น ให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา โดยผู้ต้องหาให้การว่า
ไม่ได้เกี่ยวข้องกับขบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ แต่ยอมรับว่าเป็นเจ้าของบัญชีธนาคารที่ใช้หลอกให้โอนเงินจริง โดยรับค่าจ้างในการเปิดบัญชี บัญชีละ 1,500 บาท