“ปารเมศ” สส.ก้าวไกลอภิปรายเดือด ญัติติด่วน ซัดนายกฯต้องวางมาตราการป้องเหตุเพลิงไหม้

191

“ปารเมศ” สส.ก้าวไกลอภิปรายเดือด ญัติติด่วน ซัดนายกฯต้องวางมาตราการป้องเหตุเพลิงไหม้

ถอดบทเรียนไฟหม้ตรอกโพธิ์เยาวราช ชี้ภาครัฐต้องมี Command center รองรับป้องกันเหตุทั้ง 2008 ชุมชนในกรุงเทพฯ

เมื่อวันที่ 14 ก.ค.2567 ที่รัฐสภาฯ เมื่อวันที่ 11 ก.ค.ที่ผ่านมา นายปารเมศ วิทยารักษ์สรรค์ สมาชิกาภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 1 เขตพระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ ดุสิต บางรัก พรรคก้าวไกล ได้กล่าวอภิปรายญัตติด่วนด้วยวาจากรณีการแก้ไขปัญหาและการเยียวยา ว่า
: จากผู้ที่ได้รับผลกระทบเหตุเพลิงไหม้เยาวราช ขอขอบคุณเพื่อนสมาชิกทุกท่านที่ให้โอกาสได้ยื่นญัตติด่วนด้วยวาจาครั้งนี้ และขอให้ทุกท่านร่วมกันพิจารณาและสนับสนุนแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อประโยชน์ของลูกๆหลานๆของพวกเราทุกคน สิ่งที่ผมกำลังจะอภิปราย ไม่เป็นการโจมตีหรอติติงหน่วยงานใด

แต่เป็นการอภิปรายเพื่อจะสร้างความตระหนักและความสำคัญของการป้องกันเหตุสาธารณภัยอย่างเอาจริงเอาจัง เข้าใจครับว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่เชื่อว่าเราทำได้ดีกว่านี้ ก่อนอื่นผมต้องแสดงความเสียใจกับผู้ประสบภัยทุกท่าน และเชื่อว่าทุกๆท่านในที่นี้น่าจะได้เห็นข่าวเหตุเพลิงไหม้ตั้งแต่เมื่อคืนวันเสาร์ที่ 7 ก.ค. ที่ผ่านมา โดยเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นที่ชุมชนตรอกโพธิ์ ถนนเยาวราช เขตสัมพันธวงศ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ผมดูแล ท่านประธานครับ อยากให้ท่านประธานและเพื่อนสมาชิกดูภาพความเสียหายครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในเวลาไม่กี่ชม. เราจะต้องสูญเสียที่พัก ทรัพย์สิน และสิ่งของ สัตว์เลี้ยงที่เรารักกันอีกเท่าไหร่ ต้องขอชมเชย จนท.ดับเพลิงและหน่วยกู้ภัยทุกท่าน ที่เหตุเพลิงไหม้ครั้งนี้เราไม่ได้สูญเสียชีวิตใด แต่อยากจะฝากไปยังทุกท่านที่กำลังฟังอยู่ว่าในอนาคตเราอาจจะไม่ได้โชคดีเช่นเดียวกับครั้งนี้ จากเหตุการณ์ครั้งนี้มีผู้ประสบภัยรวมทั้งสิ้น 314 ราย นับเป็น 198 ครอบครัว โดยมีบ้านเรือนและอาคารที่เสียหายทั้งหมด 66 ครัวเรือน

เหตุการณ์ในวันนั้นมีโอกาสได้พูดคุยกับผู้ประสบภัยหลายท่านที่มีความผูกพันธุ์กับบ้านและชุมชนนี้เป็นอย่างมาก เพราะเราต้องสูญเสียพื้นที่ที่เป็นความทรงจำร่วมกัน โดยไม่คาดคิดว่าจะเกิดเหตุแบบนี้ ได้แต่มองดูโดยไม่สามารถทำอะไรได้ ซึ่งเป็นความน่าเศร้าสลดที่เกิดขึ้นในวันนั้น ลงพื้นที่ณ วันเกิดเหตุ หากย้อนกลับไปคืนนั้นนะครับ เหตุเพลิงไหม้ได้เกิดขึ้นในเวลา 2 ทุ่ม 41 นาที โดยรถดับเพลิงเข้าไปถึงที่เกิดเหตุภายใน 6-7 นาที ส่วนตนนั้นเข้าไปถึงพื้นที่ในเวลาประมาณ 3 ทุ่ม 15 นาทีครับ

ต้องขอขอบคุณ จนท.และอาสาสมัครดับเพลิงทุกท่านอีกครั้งนึงที่ได้จัดการเพลิงไหม้โดยใช้เวลาประมาณ 4 ชม. ถึงแม้จะมีข้อจำกัดและอุปสรรคอยู่หลายประการ นอกจากนี้ขอขอบคุณปลัดกระทรวง พม. ท่านปลัดอนุกูล ที่ได้ลงพื้นที่อย่างรวดเร็ว หลังจากที่ผมได้โทรไปประสานกับท่านเพื่อเข้ามาช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่และขอขอบคุณหน่วยงาน กทม. สำนักงานเขตสัมพัธวงศ์และผู้อื่นที่เกี่ยวข้องทุกท่านครับ เหตุเพลิงไหม้ชุมชนตรอกโพธิ์เป็นเหตุการณ์ที่ทำให้เราต้องนึกถึงความสำคัญในการวางแผนและการรับมือกับภัยพิบัติในชุมชนแออัดอย่างจริงจัง เพราะแต่ละชุมชนก็จะมีอายุมากขึ้นและเก่าลงเรื่อยๆ

ซึ่งหากเรามาดูกายภาพของชุมชนตรอกโพธิ์นั้น เป็นชุมชนที่เก่าแก่มีอายุกว่า 60 ปี และเป็นบ้านเรือนไม้ส่วนใหญ่ที่ทำมาจากวัสดุติดไฟง่าย อย่างเช่น ไม้ เป็นต้น มีลักษณะภูมิศาสตร์ที่แออัด ซึ่งมีถนนกว้างไม่เกิน 3 เมตร เป็นชุมชนไข่แดงที่ล้อมรอบด้วยตึกสูง ทำให้การเข้าถึงพื้นที่ในชุมนทำได้ยาก ส่งผลกระทบให้การเข้าถึงและการเคลื่อนย้ายของ จนท.ดับเพลิงนั้นเป็นไปได้ยาก และที่สำคัญรถดับเพลิงขนาดใหญ่ไม่สามรถเข้าได้ครับ ด้วยลักษณะภูมิศาสตร์และผังเมืองเช่นนี้ ที่เป็นชุมชนแออัดและเข้าถึงยาก

จึงอยากจะฝากไปยังท่านนายกฯและคณะรัฐมณตรีว่าเราจะถอดบทเรียนจากการสูญเสียครั้งใหญ่ครั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาและมาตการการป้องกันและรับมืออย่างไร จากข้อมูลพบว่าในพื้นที่ กทม. มีชุมชนจัดตั้งทั้งหมด 2008 ชุมชนครับ โดยเป็นชุมชุนที่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทั้งหมด 634 ชุมชน แบ่งเป็นชุมชนที่รถเข้าออกไม่ได้มากถึง 256 ชุมชนเข้าใจว่าจะมีเพื่อนๆสมาชิกท่านอื่นจะมาร่วมลงชื่ออภิปรายและเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาพื้นที่ในลักษณะนี้ ในจังหวัดต่างๆทั่วประเทศหลังจากนนี้ครับ ท่านประธานครับ กทม.เป็นเมืองแห่งเศรฐกิจที่มีคนอยู่ร่วมกันกว่า 10 ล้านคน ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เป็นเมืองท่องเที่ยวระดับต้นๆของโลก แต่ครับ ขอให้ทุกท่านลองดูข้อมูลสถิติการเกิดอัคคีภัย 4 ปีย้อนหลังของ กทม.

คือสถิติการเกิดอัคคีภัยในช่วง 2567 ในระยะเวลาเพียง 6 เดือนกว่าๆเท่านั้น แต่จำนวนเหตุเพลิงไหม้ใกล้เคียงกับปี 2566 ทั้งปีดูแล้วก้ตกใจครับ สาเหตุเป็นเพราะอะไร ทำไมจำนวนอัคคีภัย เหตุเพลิงไหม้นี้ถึงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลา 4 ปีติดตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบันนี่เป็นสัญญาณอันตรายที่เราไม่สามารถมองข้ามได้ครับ เราต้องหาสาเหตุให้เจอครับ ต้องเก็บสถิติอย่างมีประสิทธิภาพ

เพื่อจะได้วิเคราะห์และหาทางป้องกันเหตุเหล่านี้อย่างแม่นยำ ตนได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของ กทม. และเชื่อว่า จนท.ได้ทำหน้าที่อย่างสุดความสามารถโดยข้อจำกัดและอุปสรรคที่มี จึงอยากฝากท่านประธานไปยังท่านนายกฯครับ ว่าท่านต้องลงมาดูปัญหาดังกล่าวด้วยตัวเองเพื่อที่จะสั่งการและวางแผนเพราะเรื่องนี้เป็นปัญหาระดับประเทศ จากการลงพื้นที่รวมถึงได้มีโอกาสสัมผัสหน้างานเคสอัคคีภัยหลายงาน ทำให้ได้เรียนรู้ถึงข้อจำกัดและอุปสรรคต่างๆในการปฏิบัติหน้าที่ ทำให้ได้เรียนรู้และไปร่วมหารือกับหน่วยงาน กทม.ครับ รวมถึงหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันและหาทางแก้ไขปัญหาต่างๆเหล่านี้

ผมจะขอชี้อุปสรรคและข้อจำกัดในการปฏิบัติหน้าที่ ณ หน้างานทั้งหมด 3 ข้อหลักๆครับ ข้อที่ 1 มีปัญหาเรื่องการสื่อสารครับ การสื่อสารในสถาณการฉุกเฉินมีความจำเป็นที่จะต้องผสานงานจากหน่วยงานต่างๆจากจุดเดียวกัน เพื่อความแม่นยำและครบถ้วนของข้อมูลเพื่อที่จะประเมินสถาณการอย่างถูกต้อง

จากที่ได้ลงพื้นที่และปรึกษากับ จนท.หลายท่าน พบว่าหน่วยงานและอาสาสมัครใน กทม.นั้นมาจากหลากหลายหน่วยงานครับ จึงยังไม่มีการผสานงานแบบสั่งการจากศูนย์กลาง ดังนั้นการสื่อสารระหว่างหน่วยงานภาครัฐ อาสาสมัคร และบริเวณต่างๆอาจจะขาดความแม่นยำ รวดเร็วและถูกต้อง ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้เกิดการสื่อสารที่ผิดพลาดของข้อมูล

เช่น หากเกิดเหตุรถจากหลายหน่วยงานจะเข้ามาครับ กรูกันเข้ามา ทำให้การจราจรติดขัด การจอดรถที่ทำให้เข้าถึงพื้นที่หน้างานได้ช้าไปครับ หรือในการเข้าช่วยเหลือประชาชนที่ติดอยู่ในอาคาร หากสื่อสารแบบซ้ำซ้อน กลุ่มอาสาสมัครหรือ จนท.ที่ปฏิบัติงานอาจจะปฏิบัติหน้าที่แบบซ้ำซ้อน ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงให้กับ จนท.และอาสาสมัครดับเพลิงได้ ไม่ใช่แค่การสื่อสารหน้างานเท่านั้นนะครับ แต่รวมถึงการสื่อสารแจ้งเหตุสาธารณภัยที่ใช้สื่อสารกับ ปชช.อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง ดังนั้นเราควรตั้งคำสั่งการแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงาน ภาครัฐและเอกชน หรือที่เราเรียกว่า command center ที่สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง

เพื่อดึงศักยภาพที่มีอยู่จำนวนมากนั้นให้ตอบสนองต่อสถาณการได้อย่างแม่นยำและรวดเร็วครับ ถัดมาเป็นเรื่องของระบบการจัดการบุคลากร ครม.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 ตามมาตรา 4 ระบุว่า อาสามสมัครหมายความว่าอาสาสมัครป้องกันภัยตามพระราชบัญญัตินี้ โดยผมขอเสนอให้มีการแก้ไขปัญหาในมาตรา 4 เพื่อเปิดโอกาสให้อาสาสมัครจากมูลนิธิหรือองกรค์อื่นๆเข้ามามีบทบาทเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานในกรณีที่เกิดเหตุสาธารณภัย โดยอาสาสมัครเหล่านี้จะต้องผ่านการอบรมและได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเช่นเดียวกับอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนหรือที่เราเรียกกันว่า อปปร. หากอาสาสมัครไม่ได้รับรองการเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงาน ได้พังประตูเข้าไปเพราะมีเหตุจำเป็น อาจจะถูกฟ้องจากเจ้าของอาคารได้ เพราะไม่ได้เป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงาน ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายนี้ครับ ข้อถัดไปข้อที่ 3 เป็นข้อสุดท้ายครับ เป็นข้อที่เราต้องไปทบทวนกระบวนการซ่อมแซมครุภัณฑ์ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการบรรเทาสาธารณภัย อย่างเช่น รถดับเพลิงเป็นต้น

ปัจจุบันครับจำนวนรถดับเพลิงที่มีในสังกัดสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม.มีทั้งหมด 766 คัน แต่ที่พร้อมใช้งานจริงๆอย่างเต็มประสิทธิภาพ มีเพียงแค่ 505 เองครับ ส่วนที่เหลือนั้นรอซ่อมอุปกรณ์ชำรุดและอื่นๆรววมทั้งสิ้น 261 คัน หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนทั้งหมดจึงมีข้อเสนอแนะไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้ใช้อำนาจตามมาตรา 56 ของพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560

ขอให้มีการออกระเบียบเพื่อเร่งรัดขั้นตอนในการจัดซื้อจัดจ้างสำหรับการซ่อมแซมบำรุงครุภัณฑ์อย่างเร่งด่วน ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งในสถาณการฉุกเฉินอย่างนี้ เชื่อไหมครับว่าบางครั้งรถดับเพลิงบางคันต้องจอดรอการซ่อมแซมรอกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างนานถึง 3 เดือน บางคันรอเป็นปียังมีเลย ก็มีคำถามที่อยากจะถามถึงหน่วยงานต่างๆครับ ข้อแรกครับ อยากจะทวงถามไปยังท่านนายกฯครับ ในเรื่องที่ท่านได้ให้สัมภาษณ์ในวันที่ 8 ก.ค. ว่าจะมีการเยียวยาให้กับผู้ประสบภัยอย่างเร็วที่สุด แต่ปัจจุบันยังเกิดความล่าช้าขึ้น เข้าใจครับว่ากระบวนการต่างๆต้องเป็นไปตามกฏหมาย แต่เอกสารสารสิทธิต่างๆ สิ่งสำคัญต่างๆนั้นถูกไหม้ไปกับเพลิงในบ้านเขาเรียบร้อยแล้ว

ฉนั้นอยากจะทวงถาม ติดตามและเร่งรัดผู้ประสบภัยทุกท่านการเยียวยาที่ล่าช้านั้นเป็นการซ้ำเติมผู้ประสบภัย ฉะนั้นอยากจะฝากและวิงวอนไปยังท่านนายก รบกวนช่วยเร่งรัดให้ผู้ประสบภัยเหล่านั้นได้รับการเยียวยาอย่างเหมาะสมด้วย คำถามถัดมาอยากจะฝากคำถามผ่านไปยังหน่วยงานกองพิสูจน์หลักฐาน ว่าสาเหตุที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ของชุมชนตรอกโพธิ์นั้นคืออะไร เพื่อนำต้นเหตุมาวิเคราะห์และวางมาตการเพื่อป้องกันเหตุในอนาคตครับ ข้อที่ 3 เป็นการฝากสุดท้ายครับ ทราบดีว่าปัจจุบันมีหน่วยงานจัดฝึกอบรมและให้ความรู้แก่ ปปช.ในเรื่องของแผนเผชิญเหตุ แต่ท่านจะหาวิธีใดครับ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ ปชช.เข้าร่วมซ้อมแผนเผชิญเหตุมากขึ้น

เพราะจากตัวเลขที่ได้รับมาครับ มี ปชช.เข้าร่วมแผนซักซ้อมน้อยมากๆ ไม่ถึง 30% ครับ เพราะมีสถิติที่ชี้ให้เห็นว่า ปชช.สามารถเข้าช่วยระงับเหตุเพลิงในขั้นต้น หรือแม้แต่ดับเพลิงไหม้เองได้ เป็นจำนวน 1 ใน 3 ของเหตุอัคคีภัยทั้งหมดใน กทม.

สิ่งที่ต้องฝากคือแรงจูงใจทำอย่างไรให้คนมาร่มแผนเผชิญเหตุให้มากขึ้น เหตุการณ์นี้เป็นการเตือนใจพวกเราทุกคนครับ ให้เห็นถึงความสำคัญของมาตการการป้องกันอัคคีภัย รวมถึงการเตรียมความพร้อมในการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินของ จนท.และ ปชช.ในพื้นที่ ภาพเหตุการณ์ยังคงฝังลึกในจิตใจพวกเราทุกคนโดยเฉพาะผู้ประสบภัย เราต้องไม่ปล่อยให้ความหวาดกลัวนั้นได้เกิดและสร้างความสูญเสียเช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนต้องหันมาใส่ใจในเรื่องการป้องกันเหตุอัคคีภัยอย่างจริงจัง เพื่อชุมชนที่ปลอดภัยและเพื่ออนาคตของลูกๆหลานๆเราทุกคน ขอบคุณมากครับ ” นาย ปารเมศ สส.พรรคก้าวไกลกล่าว“

คลิ๊กลิงค์ฟังที่นี้

https://drive.parliament.go.th/s/WFqwySYNA62JPEW

#Thaitabloid#สำนักข่าวไทยแทบลอยด์#สส.ปารเมศ#พรรคก้าวไกล#เพลิงไหม้เยาวราช