นายพชร นริพทะพันธุ์ สมาชิกกลุ่มคนรุ่นใหม่พรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊ค กล่าวถึงทักษิโณมิกส์ หรือนโยบายเศรษฐกิจในสมัยที่ นายทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยระบุว่า “#ทำไมของก๊อบไทยรักไทย1.0 ถึงจะล้มเหลวในปี 2019 !!??
เราได้เห็นการโจมตีนโยบายประชานิยมของรัฐบาลไทยรักไทยของนายกทักษิณโดยอำนาจนอกระบบ แต่แล้วไม่พ้นต้องเอาประชานิยมมาเปลี่ยนชื่อ แก้รายละเอียดนิดหน่อย แล้วเอาของเก่ามาขายอีกที (เพราะจะสร้างนโยบายอำนาจนิยมก็คงไม่มีประชาชนมากพอเลือกที่จะมาบริหารต่อ) ที่ต้องทำเช่นนี้เพราะผู้มีอำนาจก็ทราบว่าของเขาดีจริง เลยทำให้ผู้มีอำนาจต้องหวังลมๆแล้งๆว่าประชาชนจะตาบอดเลือกของก๊อปเกรดเอตามตลาด มากกว่า ของแท้ขึ้นห้าง
นโยบาย ไทยรักไทย 1.1 , 1.2, 1.3 ที่ก๊อปได้แต่โครง โดยพยายามขายมาตั้งแต่เลือกตั้ง ปี 52 นั้นไม่ประสบความสำเร็จ เพราะไม่เข้าใจสูตรลับของนโยบายทักษิโณมิกส์ พื้นฐานปรัชญาของ ไทยรักไทย 1.0 – นโยบายทักษิโณมิกส์ เป็นการประกอบกันของ module หลายๆ module ที่รวมกันเป็น ระบบสำเร็จ (solution) ที่สร้างเป็นระบบปฎิบัติการเพื่อการบริหาร เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
แก่นแท้ คือ ประชาชน , จำได้ไหมกับ “ไทยรักไทยหัวใจคือประชาชน”
คนที่โจมตีมักจะมองนโยบาย ที่เกิดจากทักษิโณมิส์ แบบมุมมองด้านเดียว (Single lens perspective) เช่น กองทุนหมู่บ้านทำให้ชาวบ้านเป็นหนี้ จำนำข้าวเกิดการโกงมหาศาล หรือ 30 บาททำให้โรงพยาบาลเจ๊ง คนที่โจมตีมักยัดเยียดความคิดนี้จากความคิดฝั่งตนที่คิดว่าตนไม่ได้ประโยชน์จากนโยบายเหล่านี้ และคิดว่าเป็นภาระภาษีของตน แต่นโยบายตามปรัชญา ทักษิโณมิกส์ ต้องได้รับการมองจาก มุมมอง 360 องศา (Multi lense perspective) เพราะนโยบาย 30 บาท ก็จึงสามารถมีความก้าวหน้าทาง Medical tourism, หากไม่มีจำนำข้าว ก็ไม่มีเงินภาษีที่เกิดจากการใช้จ่ายของชาวนา ให้รัฐบาล คสช นำไป ขึ้นเงินเดือน ซื้อของใช้ได้ ขนาดนี้
ด้วยความที่ ทักษิโณมิกส์ ออกแบบมาเป็น module เราสามารถ อัพเกรด มันตามความต้องการและความเหมาะสมแล้วแต่ช่วงเวลาได้ แต่ปัญหาคือ กระบวนการพัฒนาของระบบได้ถูกแทรกแซง
(Interferance) จึงให้กระบวนการพัฒนาหยุดกะทันหัน อย่างน่าเสียดาย แต่เวลามันก็ได้พิสูจน์ถึงความแข็งแรงของระบบ ที่สามารถทนทานแรงต้าน (Resilience) มาได้ เพราะประชาชนก็ยังได้ประโยชน์จากกองทุนบ้านก็ยังดำเนินอยู่ คนไทยก็ยังได้ใช้ 30 บาทรักษาทุกโรคอยู่ แต่ปัญหาคือคนใช้งานไม่สามารถพัฒนาต่อได้ และคนพัฒนาก็ไม่ได้ใช้ความสามารถในการพัฒนาต่อเพราะระบบถูกแทรกแซง และกระบวนการเรียนรู้พัฒนาของระบบจึงถูกตัดขาด
ที่แน่ๆคนออกแบบระบบ (หรือ ที่เราเรียกว่า architect ) นั้นออกแบบนโยบายเมื่อ 20 ปีที่แล้ว โดยมีระบบ Artificial Intelligence และ Machine learning & Deep learning เป็น plug-in มาอยู่แล้วโดยในเวลานั้นโลกยังไม่ทราบเลยว่าสิ่งเหล่านี้ทำอะไรได้บ้าง แต่ทักษิโณมิกส์ สร้างพื่นฐานของการพัฒนา และ เข้าถึงแหล่งข้อมูล ที่เพิ่ม ความแม่นยำ (accuracy) มากขึ้นทุกๆครั้ง เครื่องจักร
ทักษิโณมิกส์ จึงเป็นต้นแบบของการสร้าง ปรัชญาเศรษฐกิจการเมืองของ ศตวรรษที่ 21 – หากไม่ถูกแทรกแซง ประเทศไทยคงเป็นต้นแบบของการพัฒนาให้กับประเทศที่กำลังพัฒนาหลายๆประเทศ แบบเดียวกับอังกฤษเป็นในยุคปฎิวัติอุตสาหกรรม (industry revolution) ช่วงศตวรรษที่ 19
สิ่งเหล่านี้ที่ทักษิโณมิกส์สร้างไว้ จึงเป็นพื้นฐานของการพัฒนา ที่เรียนรู้ที่จะเข้าใจประชาชน ทั้งความต้องการ ความรู้สึก และความเข้าใจถึงสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อสังคมโดยรวม โดยทักษิโณมิกส์ไม่ใช่ แก่นทุนนิยมตะวันตก หรือ แก่งสัมคมนิยมตะวันออก แต่เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อสังคมไทยให้พัฒนาและเจริญไปอีกขั้นหนึ่ง เพื่อความนำหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม และ ความเจริญในฐานะ รัฐเอกราช ในสังคมโลก ที่จะทำให้คนไทยทุกภาคส่วนเดินในสังคมโลกได้อย่างสง่างาม
#ทักษิโณมิกส์จึงไม่ใช่ผีที่ต้องคอยมาปลุกแต่เป็นระบบและพลังงานที่รอคนที่ใช้เป็นมาใช้เพื่อศักดิ์ศรีความเป็นชาติไทยของประชาชนคนไทยทุกคน