เคทีซีพอใจมูลค่าแบรนด์องค์กรพุ่งต่อเนื่อง 92,899 ล้านบาท ขึ้นแท่นรับรางวัล Thailand’s Top Corporate Brand Value 2023

145

นางพิทยา วรปัญญาสกุล (ซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) รับมอบรางวัลมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด (Thailand’s Top Corporate Brand Value 2023) ในหมวดธุรกิจเงินทุนและหลักทรัพย์ ประจำปี 2566 ด้วยมูลค่าแบรนด์ 92,899 ล้านบาท จากศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร (ขวา) คณบดีและอาจารย์ประจำภาควิชาการตลาดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 5 ที่เคทีซีได้รับรางวัลดังกล่าว ในงาน ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2023 โดยมีศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กุณฑลี รื่นรมย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกก์ ภทรธนกุล หัวหน้าภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ริเริ่มงานวิจัย “การวัดมูลค่าและจัดอันดับแบรนด์องค์กรในอาเซียนและประเทศไทย” ร่วมแสดงความยินดี ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รางวัล ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brand เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย โดยหลักสูตร Master in Branding and Marketing – MBM คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ เพื่อพัฒนาการวัดมูลค่าแบรนด์องค์กรอย่างเป็นระบบในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม จากการคำนวณด้วยเครื่องมือวัดค่าแบรนด์องค์กร CBS Valuation (Corporate Brand Success Valuation) ที่บูรณาการแนวคิดด้านการตลาด การเงินและการบัญชีเข้าด้วยกัน ทำให้สามารถวัดมูลค่าแบรนด์องค์กรออกมาเป็นตัวเลขทางการเงินได้ เพื่อส่งเสริมให้องค์กรธุรกิจตระหนักถึงความสำคัญของการเสริมสร้างแบรนด์องค์กรให้เข้มแข็งเพื่อความยั่งยืนในภูมิภาค

คาดกนง.คงดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมนัดแรกของปีนี้ ขณะที่เศรษฐกิจอาจได้รับแรงกระตุ้นเพิ่มผ่านการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลสูงกว่า 3%ต่อ GDP ต่อเนื่องในปี 2568

ธปท.ชี้เศรษฐกิจไทยเผชิญปัจจัยเชิงโครงสร้างที่เป็นข้อจำกัดดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนอัตราเงินเฟ้อที่ติดลบในช่วงที่ผ่ต่อการเติบโต การใช้นโยบายการเงินไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่รวดเร็ว ในการแถลงแนวคิดนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เมื่อวันที่ 15 มกราคม โดยผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ระบุว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับ 2.50% มีความเหมาะสมในบริบทเศรษฐกิจการเงินในปัจจุบัน ซึ่งพอจะสรุปประเด็นที่สำคัญได้ดังนี้

(i) ธปท.ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวในหลายมิติ โดยเฉพาะอุปสงค์ในประเทศ ภาคบริการ และการจ้างงานที่ปรับตัวานมาส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการอุดหนุนและมาตรการช่วยเหลือด้านพลังงานของรัฐบาล ซึ่งไม่ได้เกิดจากการลดลงของราคาสินค้าเป็นวงกว้าง ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยนับว่าอยู่ในระดับที่ต่ำและต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ เป็นส่วนใหญ่

(ii) ภาวะการขยายตัวของสินเชื่อปรับดีขึ้นจากแนวโน้มการกลับมาให้สินเชื่อที่เพิ่มขึ้น และการออกตราสารหนี้ของภาคเอกชนมีความเสี่ยง roll over ยังจำกัดอยู่

(iii) แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะปรับสูงขึ้น แต่ธปท.ยังมีการดำเนินมาตรการเฉพาะเจาะจงกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง โดยล่าสุด ได้ออกประกาศหลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดภาระบางส่วนที่ลูกหนี้ต้องเผชิญในการผ่อนชำระหนี้

ทั้งนี้ จากมุมมองล่าสุดของธปท.เกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอัตราเงินเฟ้อที่ปรับลดลงชั่วคราว และยังมีการให้ความช่วยเหลือที่เน้นตรงไปยังกับกลุ่มเป้าหมายที่เปราะบางเป็นสำคัญ ประกอบกับความเห็นว่าเศรษฐกิจไทยที่เติบโตต่ำ มีสาเหตุจากมีปัญหาจากปัจจัยเชิงโครงสร้างที่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัว ซึ่งธปท.ชี้ว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่รวดเร็ว (quick fix) จึงคาดว่าในการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งแรกของปีนี้ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ กนง. จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50%

รัฐบาลกำหนดกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 ที่ 3.6 ล้านล้านบาท เป็นงบขาดดุลที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนราว 2 หมื่นล้านบาท การประชุมของคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 16 มกราคม มีมติเห็นชอบกรอบงบประมาณปี 2568 โดยกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายไว้ที่ 3.6 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากวงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท ในปีงบฯ2567 (หรือเพิ่มขึ้น 3.4%) โดยเป็นงบประมาณขาดดุลอยู่ที่ 7.13 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนซึ่งขาดดุลที่ 6.93 แสนล้านบาท (หรือเพิ่มขึ้น 2.9%) และเป็นงบขาดดุล3.56% ต่อ GDP เทียบกับขาดดุลที่ 3.64% ต่อ GDP ในปีงบฯ 2567

เศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปีนี้คาดว่ายังขาดแรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภาครัฐ เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองในปี 2566 ทำให้การจัดทำพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 มีความล่าช้าออกไป (จากปกติจะเริ่มเบิกจ่ายได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566) อย่างไรก็ตาม คาดว่าการจัดทำจะเสร็จสิ้นและสามารถเร่งเบิกจ่ายได้ภายในไตรมาสสองของปีนี้ ซึ่งจะกลับมาเป็นแรงขับเคลื่อนช่วยหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจได้ในระยะถัดไป (ดังเช่นการเบิกจ่ายที่เกิดขึ้นในช่วงหลังการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2562) นอกจากนี้ การจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลต่อเนื่องยาวนานกว่า 20 ปี และยังคงขาดดุลการคลังสูงกว่า 3% ของ GDP ต่อเนื่องในปี 2568 สะท้อนเศรษฐกิจไทยยังมีความจำเป็นต้องได้รับแรงกระตุ้นผ่านทางนโยบายการคลัง ในอีกมุมหนึ่งอาจยังต้องระวังผลกระทบต่อวินัยการคลังและหนี้สาธารณะซึ่งล่าสุดอยู่ที่ระดับประมาณ 62% ต่อ GDP