“พระขุนแผน”

1266

ทำไมพระพุทธชินราชพิมพ์ซุ้มเรือนแก้วถึงได้ถูกเรียกว่า พระขุนแผน และพระขุนแผนรุ่นไหนน่าสนใจ หาคำตอบได้ใน อ่านสนุกแบบมีทั้งศรัทธาและพาณิชย์ไปกับ คอลัมน์พระบ้าน by ต้นคนชอบพระ

            (รูปขุนแผนในบทละครพื้นบ้าน)

ครานั้นพลายแก้วผู้แม่ทัพ     ยืนขยับดั่งพระยาราชหงส์

เรืองฤทธิ์เชี่ยวชาญการญรงค์     เห็นลาวยกพลตรงมาครามครัน

จึงชวนผู้รั้งทั้งสามคน          ให้จัดแจงแต่งตนขมีขมัน

ตรวจเตรียมพลไพร่ให้พร้อมกัน         ผูกพันเครื่องครบในสงคราม

เจ้าพลายแก้วก็เสกน้ำมันให้         ทาไพร่ทานายสิ้นทั้งสาม

แต่งตัวขึ้นม้าสง่างาม             ตามยามเลิศล้วนประสิทธิ์ดี

ครั้นได้มหาพิชัยฤกษ์             เอิกเกริกเลิกทัพออกจากที่

โห่ร้องลั่นฆ้องกระแตตี             กรูกรีเอิกเกริกระดมปืน

กึกก้องสะเทือนท้องสุธาวาส         ลาวตกใจขยาดจนแตกตื่น

ควันมัวมืดคลุ้มดั่งกลางคืน             ใกล้ลาวแล้วก็ยืนจะดูที

จากบทเสภาตอนนึงเรื่องขุนช้างขุนแผนฉบับหอพระสมุดวัชรญาณ บ่งบอกถึงความเก่งกาจด้านการรบทัพจับศึกและความองอาจสง่างามของตัวพลายแก้วผู้แม่ทัพที่ต่อมาภายหลังได้อวยยศเป็นขุนแผนแสนสะท้าน จากจุดนี้เลยมีการนำมาเรียกพระเครื่องชนิดนึงว่าเป็นพระเครื่องที่มีพุทธคุณดุจดั่งขุนแผน เรียกกันสั้นๆว่า “พระขุนแผน”

        จริงๆแล้วพระเครื่องที่เราเรียกกันว่าพระขุนแผนนั้นคือ พระพุทธ พิมพ์ยกซุ้ม หรือมีซุ้ม แต่ว่าทำไมคนถึงไปเรียกว่า พระขุนแผน คงต้องย้อนไปยังสถานที่เจอพระของพระขุนแผน นั่นคือ วัดบ้านกร่าง อัน เป็นต้นกำเนิดคำว่า “พระขุนแผน กรุบ้านกร่าง” อันเลื่องชื่อ โดยวัดบ้านกร่างนี้ ตั้งอยู่ที่ ตำบล ศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นสถานที่ที่พบพระพิมพ์นี้เป็นแห่งแรก แต่ กระนั้นชาวบ้านเองก็ยังไม่ได้เรียกว่า “พระขุนแผน” เรียกว่า พระบ้านกร่าง ตามสถานที่พบ หรือเรียกว่าพระซุ้มกอชินราช ตามลักษณะองค์พระที่ปรากฎ

วัดบ้านกร่างนี้เป็นวัดโบราณ ที่สร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา พระเครื่องกรุ วัดบ้านกร่าง ถูกพบในเจดีย์หลังพระวิหารเก่า ในบริเวณวัดบ้านกร่าง เมื่อราวปี พ.ศ. 2447

ในตอนที่พระแตกออกกรุออกมาใหม่ ๆ พระสงฆ์และชาวบ้าน ได้รวบรวม พระเครื่องทั้งหมดที่มีอยู่มากมายหลากหลายพิมพ์ นำมาวางไว้ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ใกล้วิหาร  สมัยนั้นพระเครื่องถือว่าเป็นวัตถุมงคลที่มีไว้แจกติดตัวไปเพื่อปกป้องคุ้มครองและทำการต่างๆให้ราบรื่นไม่ได้มีราคาค่างวดอะไร หนุ่ม ๆ หลายคนจึงได้แอบหยิบพกติดตัวเวลาไปจีบสาวบ้าง ไปค้าขายบ้าง แล้วประสบความสำเร็จราบรื่นเลยเชื่อว่าเกิดจากพุทธคุณของพระกรุบ้านกร่างที่มีพุทธคุณทาง มหาเสนห์ เมตตามหานิยม ดุจดั่งคุณลักษณะเด่นของตัวเอกในนิยายเรื่องขุนช้างขุนแผน อีกทั้งยังพบพระอยู่ที่กรุวัดบ้านกร่าง สุพรรณบุรี อันเป็นต้นกำเนิดตัวเอกนิทานพื้นบ้านเรื่องนี้ อีกทั้งคนในสมัยต่อมาอยากให้เป็นที่จดจำได้โดยง่าย สร้างกระแสค่านิยม จะได้ขายได้จึงมีการเรียกพระพุทธชินราชนั่งในซุ้มเรือนแก้วแบบนี้ว่าเป็น พระขุนแผน ทำให้ต่อมาพระที่มีลักษณะ เดียวกันนี้ ถึงแม้จะสร้างที่อื่น สร้างใหม่ภายหลัง หรือเจอที่กรุอื่นที่ไม่ใช่จังหวัดสุพรรณบุรีแต่มีลักษณะพุทธพิมพ์คล้ายกันก็เรียกว่าพระขุนแผนไปซะหมด

    ( รูปพระขุนแผนพรายทองคำ รุ่นเจ้าสัวจักรพรรดิ )

ปัจจุบันพระพุทธชินราชพิมพ์นั่งในซุ้มเรือนแก้วหรือที่เรียกกันว่า พระขุนแผน นั้นเป็นที่นิยมเป็นอันดับต้นๆ ที่โด่งดังและมีราคาเช่าหาทะลุฟ้าเกินเอื้อมของใครหลายๆคนที่อยากได้ไว้ครอบครอง ( ผู้เขียนคนนึงแหละ แหะๆ ) ก็อย่างขุนแผนกรุวัดบ้านกร่างอันเป็นที่มาของคำว่าพระขุนแผน พระขุนแผนยอดนิยมอย่าง ขุนแผนหลวงปู่ทิม จังหวัดระยอง ขุนแผนยุคใหม่สายญาครูอย่างขุนแผนพรายกัญญา และอีกหลากรุ่นที่มีการเช่าหาเปลี่ยนมือในวงการพระเครื่องทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ ขุนแผนรุ่นใหม่ที่มีการสร้างอย่างตั้งใจด้วยเจตนาดีพิธีถูกปลุกเสกอย่างเข้มขลังจากเกจิอาจารย์ ก็มีมาเรื่อยๆ อย่าง พระขุนแผนพรายทองคำ พิมพ์เจ้าสัวจักรพรรดิ์  ที่ปลุกเสกโดย พระครูเวฬุรัตนาทร หรือหลวงตาน้อย ญาณทิพย์ วัดหนองไผ่พัฒนา อ.สี่คิ้ว จ.นคราชราสีมา โดยวัตถุประสงค์ในการสร้างและเสกวัตถุมงคล พระขุนแผนพรายทองคำ พิมพ์เจ้าสัวจักรพรรดิ์ รุ่นนี้เพื่อสร้างห้องสุขาถวายวัด และเพื่อใช้ทำสาธารณประโยชน์ภายในวัดหนองไผ่พัฒนาที่ยังขาดแคลนอีกมาก

    ( รูปพระครูเวฬุรัตนากรหรือ หลวงตาน้อย ญาณทิพย์ )

    โดยพระครูเวฬุรัตนาทร หรือหลวงตาน้อย ญาณทิพย์ นั้น เกิดเมื่อปี พ.ศ.2511 บ้านซุ่มเรือ อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์ พระอาจารย์มีพี่น้องร่วมอุทร 4 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 3 ของคุณพ่อจุด  ทองลิ้มและคุณสัก ทองลิ้ม วัยเยาว์ท่านได้บวชเณรตั้งแต่ช่วงปี 2529 กับ พระครูสุทิน อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี ช่วงวัยหนุ่มลาสิกขาเพื่อมาเกณฑ์ทหาร และได้รับใช้ชาติ ด้วยความที่พระครูน้อย ชอบปลีกวิเวก ได้รู้สึกถึงความไม่เที่ยงในชีวิตจนทำให้รู้สึกเบื่อหน่ายและเกิดศรัทธาแรงกล้าในพระพุทธศาสนา กลับมาอุปสมบทเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ญัตติมหานิกายช่วงปีที่ 2534 ณ พัทธสีมาวัดบ้านตาล อ.เมือง จ.สระบุรี โดยมี หลวงพ่อถม วัดเชียงท่า เป็นผู้อุปฌาชย์ให้ และได้ศึกษาร่ำเรียนหลักธรรมกับ พระครูสุทิน ในช่วงระยะนึง

จากนั้นจึงกราบลาและออกเดินธุดงค์ไปเรื่อยๆ เพื่อหาครูบาอาจารย์สอนสั่งวิชาต่างๆเพิ่มเติมให้กับตนเอง โดยแรกสุดได้ไปเรียนกับหลวงพ่อตาบ แห่ง วัดมะขามเรียง จ.สระบุรี ผู้เป็นพระเกจิดังชื่อดังที่มีวัตรปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีเมตตาธรรมสูง มีชื่อเสียงโด่งดังในเขตจังหวัดสระบุรี หลังจากนั้นช่วงปี 2536 ได้ออกธุดงค์ขึ้นไปทางเหนือ เพื่อจะไปเชียงใหม่ แต่มีเหตุให้ไปหยุดที่อุตรดิตถ์ ไปที่วัดหมอนไม้และได้พบกับ หลวงพ่อเติม และด้วยบุญสัมพันธ์นำพา พระครูน้อยท่านได้เจริญสติทำวิปัสนากรรมฐานในป่าช้าที่นี่ถึง 15 วัน

จนได้พบกับพ่อปู่ฤาษีกัสสปะในป่าช้า ท่านได้สอนวิชา ทำนายทายทัก ดูดวงชะตา จากนั้นท่านธุดงค์ลงใต้ ไปร่ำเรียนวิชากับ หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ที่มีวิชาปลุกเสกเครื่องรางอันโด่งดังอย่าง ปลัดขิก ที่สร้างปาฏิหารย์บินได้ เป็นที่นิยมกว้างขวางร่ำเรียนจากหลวงพ่อยิดได้ไม่นานท่านก็ธุดงค์กลับขึ้นมาทางอิสานและมาขอเรียนกับหลวงพ่อคง วัดตะคร้อ  เจ้าแห่งตำนานเหรียญสายเหนียว แต่วิชาเอกของหลวงปู่คง คือวิชานางกวัก เหรียญของท่านแทบจะทุกรุ่นจะต้องมีนางกวักที่หลังเหรียญ หลวงปู่คงท่านได้ถ่ายทอดวิชาต่างๆให้พระครูน้อยมากมาย จนหมด จากนั้นท่านก็แนะนำให้ไปเรียนกับหลวงพ่อดี วัดหนองจอกซึ่งเป็นเกจิที่โด่งดังมากในโคราชรูปหนึ่ง วิชาอาบน้ำมนต์ จัดว่าไม่เป็นสองรองใครในช่วงนั้น ซึ่งหลังจากที่ท่านได้ร่ำเรียนมาก็ได้นำวิชามาสงเคราะห์ญาติโยม ศิษยานุศิษย์ ที่ตกทุกข์ได้ยาก ทั้งมาอาบและได้ดื่มกิน นำกลับบ้านไป  เพื่อเป็นศิริมงคล

พอถึงช่วงปี พ.ศ. 2542 ท่านได้เปลี่ยนจากมหานิกายมาเข้าญัตติธรรมยุตนิกายที่ วัดธานีรัตน์ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี โดยมีมีหลวงพ่อพุธ ฐานิโย (เจ้าอาวาส)และหลวงพ่อเพิ่ม กิตฺติวฑฺฒโน (รองเจ้าอาวาส) วัดป่าสาลวัน  ได้ขอให้พระครูน้อยมาดูแลวัดหนองไผ่พัฒนาตั้งแต่นั้นเรื่อยมา จนได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูพระครูเวฬุรัตนาทร ถึงปัจจุบัน

 “อาตมามาอยู่ที่นี่ตั้งแต่ยังเป็นผืนดินว่างเปล่าและรวบรวมซื้อที่ดิน ไปเรื่อยๆจากกำลังทรัพย์ กำลังปัจจัย จากชาวบ้านสร้างถาวรวัตถุและศาสนาสถานที่เห็นๆโดยรอบๆด้วยศรัทธาจากญาติโยม ที่เหลือก็แค่อยากสร้างกุฏิรับรองและศาลาปฏิบัติธรรมเพื่อให้ญาติโยมเวลาเค้าได้มา ก็ได้มา ปฏิบัติกัน เอาบุญ เอากุศลกลับไป “ ปรารภธรรม พระครูเวฬุรัตนาทร (พระครูน้อยตาทิพย์) วัดหนองไผ่พัฒนา ต.หนองหญ้าขาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา

โดยคณะผู้จัดสร้างพระขุนแผนพรายทองคำพิมพ์เจ้าสัวจักพรรดิ ถวายให้พระครูน้อย แห่งวัดหนองไผ่พัฒนา ได้ให้ข้อมูลกับผู้เขียนว่า ตั้งใจที่จัดทำเพื่อนำเงินไปบำรุงและพัฒนาวัดตามความตั้งใจของพระอาจารย์ โดยได้ขออนุญาตอย่างถูกต้องส่วนการสร้างขุนแผนพรายทองคำ จัดเต็มทุกๆขั้นตอนมากที่สุดจริงๆไม่ใช้โรงงาน  ไม่ใช้โรงปั๊ม ใช้มือกดทุกๆองค์ พระขุนแผนพรายทองคำพิมพ์เจ้าสัวจักรพรรดิ เป็นพระเนื้อดินเผาแช่น้ำมันอุดมวลสารศักดิ์สิทธิ อาถรรพ์ มวลสารชุดนี้พ่อแม่ครูอาจารย์ ทั้ง 2 สาย สายมหานิกายและสายธรรมยุต 168 รูป ร่วมอธิษฐานจิต มวลสารเด่นๆ เช่น

ผงธูป วัดหลวงพ่อปานวัดบางนมโค ผงธูปวัดสามง่าม หลวงพ่อเต๋  ผงจักพรรดิ หลวงปู่ดู่ ผงโม่งดำ ฤาษีชู ผงลบ ผงอิทธิเจ จากหลวงปู่มหาโพธิ์ ศิษย์รุ่นที่ 3 หลวงปู่สุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ผงจักรพรรดิ หลวงปู่ดู่ ผงเทพพมรจำแลง

ครูบากฤษณะ แป้งเสก หลวงพ่อบุญค้ำ พลอยโกเมนเสก เมืองจันทร์

ข้าวประคบ หลวงปู่บุญส่ง วัดสันติฯ ผงพราย สาวตายเสาร์ เผาอังคาร จากหลวงปู่มาก วัดหนองนกกระเรียน โคราช น้ำมันว่านพญาไก่แดง /น้ำมันสุกิตติมา

สีผึ้งหลวงปู่ละมัย /สีผึ้งหลวงปู่หมุน/ สีผึ้งหลวงปู่หงษ์ / สีผึ้งปาราชิก หลวงตาน้อย พ่อท่านยศ หนึ่งในผู้ที่จัดสร้างถวายพระผงรุ่น “ปลดหนี้” และ รุ่น “ไม่มีหนี้” ของพระเดชพระคุณหลวงปู่บุญส่ง ฐิตสาโร วัดสันติวนาราม อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี มาร่วมพลีเป็นมวลสารของพระขุนแผน รุ่นเจ้าสัวจักรพรรดิ์ นี้ด้วย

สำหรับพระขุนแผนพรายทองคำรุ่นนี้ พระครูน้อยท่านบอกมาว่าเวลาจะนำไปใช้หลังจากอาราธนาคาถาพระขุนแผนพรายทองคำก่อนขึ้นคล้องคอให้เรานึกถึงหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่าด้วย อีกทั้งเส้นสายลายยันต์ที่นำมาประทับใส่เป็นตราปั๊ม ทั้งด้านหลัง และหน้ากล่องของพระขุนแผนพรายทองคำชุดนี้ อ.โบรี ฆราวาสสายเมตตา จ.สุรินทร์ เป็นผู้เขียนมอบให้ ยันต์นี้มีชื่อว่า นารายณ์แสดงรูป  ประกอบใต้ฐาน ด้วย นะ โม พุท ธา ยะ (พระพุทธเจ้า 5 พระองค์)

พระเดชพระคุณพระครูน้อยได้กล่าวหลังงานจบพิธี ว่า ตัวยันต์ตัวนี้ดี มีชีวิตนะโยม ตอนฉันนั่งเสกนี้ยันต์ตัวนี้มันลอยขึ้นมาปกคลุมพระทั้งหมดเลยและก็มีปู่ฤาษีมาช่วยเสกและพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ลงมาช่วยเสกอีกเต็มไปหมดใครเอาไปใช้ก็เกิดผล เกิดเมตตาพุทธคุณนั้นเป็นยอดแห่งเมตตามหานิยม และเมตตามหาลาภ และโภคทรัพย์ ตามศาสตร์วิถี ที่พ่อแม่ครูอาจารย์ ลงให้

        ( รูปมวลสารที่ใช้ในพระขุนแผนพรายทองคำ )

ในส่วนประสบการณ์ ต่างๆของผู้บูชาพระขุนแผนพรายทองคำนั้นก็เห็นว่า พ่อแม่แม่ค้าในตลาดสี่คิ้ว นำไปใช้ ก็ค้าขายดีขึ้น จากขายของได้น้อยๆ  ก็ขายหมดไวขึ้น

ขายของมีเงินเข้ามาแบบง่ายๆมีโชคลาภ ถูกหวยรวยเบอร์กันไปก็เยอะ แต่ส่วนใหญ่ จะเป็นด้านเมตตา มหานิยม คนรักใคร่ เมตตา ซะมากกว่า

  เรียกได้ว่าดูแค่มวลสารกับเจตนาการสร้างก็น่าเช่าหาเพื่อเอาไว้ใช้ไว้เก็บแล้ว นำมาไว้บูชาติดตัวเพื่อช่วยเสริมผลแห่งการเกิดโภคทรัพย์ และมหามงคล ตอนนี้ราคายังไม่แรงพอเก็บได้ เช่าหาช่วงนี้ได้ทั้งพระและบุญ นานไปก็ไม่รับรองว่าจะเป็นแบบพระขุนแผนหลวงปู่ทิมและพระขุนแผนพรายกัญญา หรือเปล่านะครับ หรือใครอยากจะไปหาข้อมูลเพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปที่ fb:หลวงตาน้อย ญาณทิพย์ วัดหนองไผ่พัฒนา อ.สี่คิ้ว จ.นคราชสีมา ( ศึกษาและสะสม ) สุดท้ายหากท่านใดประสงค์จะทำบุญกับทางวัดโดยตรง เพื่อนประโยชน์ของศาสนสถาน ผมจะลงเลขบัญชีและเบอร์โทรศัพท์ของพระครูน้อยไว้ท้ายคอลัมน์ครับ

    คราวหน้ามาลุ้นกัน ว่าจะนำเสนอองค์ไหนหรือตำนานอะไรครับ

                            เขียนโดย ต้น คนชอบพระ

            ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก สื่อโซเซี่ยล ครับ

ปล. หากมีวัด ศาสนถาน โรงเรียน โรงพยาบาล ฯลฯใดที่ต้องการประชาสัมพันธ์การขายวัตถุมงคลหรือบริจาคเพื่อการกุศลอย่างแท้จริง ทางคอลัม์พระบ้าน ยินดีประชาสัมพันธ์ให้ฟรีครับ

สนใจลงโฆษณาประชาสัมพันธ์ ติดต่อ 0818214442 ต้น

สุดท้ายก่อนจากกันขออนุญาตฝากข่าวประชาสัมพันธ์

    ท่านใดมีจิตกุศลสนใจร่วมบุญสร้างห้องน้ำวัดและบำรุงต่อเติมศาสนสถานของ วัดหนองไผ่พัฒนา นครราชสีมา สามารถติดต่อพระครูเวฬุรัตนาทร (พระครูน้อยตาทิพย์) ได้ที่เบอร์ 096-795-9145 ครับ