วันที่ 23 พ.ย.66 ที่ Bangkok Marriott Marquis Queen’s Park บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด ในกลุ่มบีซีจี เบญจจินดา ได้จัดงานสัมมนา Cyber Elite Day 2023 (Managing a Secure Hyperconnected World) โดยมีหน่วยงานและองค์กรพาร์ทเนอร์ร่วมงานจำนวนมาก ทั้งนี้ เพื่ออัพเดทเทรนด์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกและการเตรียมพร้อมป้องกัน เฝ้าระวัง ตรวจจับ รับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ในเชิงรุกและเน้นการป้องกันและคาดการณ์สถานการณ์ด้านไซเบอร์ขององค์กร
โดยภายในงานมีการบรรยายและเสวนาจากผู้เชียวชาญ เช่น พล.ต.ท.ศิริพงษ์ ติมุลา ผู้บัญชาการสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตำรวจ, ดร.พีรเดช ณ น่าน ที่ปรึกษา เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และ พ.ต.อ.ณัทกฤช พรหมจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช.
ดร.ศุภกร กังพิสดาร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไซเบอร์ อีลีท จำกัด กล่าวว่า ไซเบอร์ อีลีทเป็นผู้ให้บริการด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ในกลุ่มบีซีจี เบญจจินดา และยังมีโซลูชั่นต่างๆมานานกว่า 60 ปี ในการสร้างและพัฒนาบริการใหม่ๆที่ตอบสนองกับความต้องการของผู้ใช้งานให้เข้ากับยุคดิจิทัล ซึ่งถือเป็นภารกิจที่ทางไซเบอร์ อีลีท จะต้องพัฒนาขีดความสามารถและบริการให้ทันกับภัยคุกคามสมัยใหม่ต่ออัตราการเติบโตที่เพิ่มมากขึ้น และพบว่าจากการให้บริการในปีที่ผ่านมา หลายองค์กรก็ได้ประสานและติดต่อมาที่ไซเบอร์ อีลีท เพื่อหารือรับมือป้องกันภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยในปี 2024 ทางไซเบอร์ อีลีทจะยังคงเกาะติดเทรนด์ และสร้างบริการที่ดีขึ้นบริการแบบเต็มรูปแบบ
ดร.ศุภกร กังพิสดาร กล่าวเพิ่มเติมว่าการจัดงาน ไซเบอร์ อีลีทเดย์ ปีนี้เป็นปีที่2 เพื่ออัพเดทเรื่องความรู้ไซเบอร์ซีเคียวริตี้สมัยใหม่และเพื่อให้ลูกค้าของบริษัทได้รับรู้และเตรียมพร้อมรับมือ และใช้เวทีนี้เล่าให้ฟังว่าในปีหน้าประเทศไทยจำเป็นรับมือกับภัยไซเบอร์อย่างไรได้บ้าง ขณะเดียวกันในปีหน้าไซเบอร์ อีลีท เตรียมพร้อมให้บริการใหม่ๆเช่น มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบโปรดักการบริการ ซึ่งเดิมมีการให้บริการเรื่องการเฝ้าระวัง นำรูปแบบของ MDR Service มาให้บริการ ซึ่งเป็นบริการเฝ้าระวังและรับมือกับภัยคุกคามที่เกิดขึ้นให้กับลูกค้าแบบเต็มรูปแบบ โดยที่ลูกค้าไม่จำเป็นต้องไปจัดการเรื่องใดๆทางไซเบอร์ อีลีทจะดูแลให้เอง ,และสองจะโฟกัสที่คลาวน์ ไซเบอร์ซีเคียวริตี้ เพราะปัจจุปันหลายหน่วยงานมีความพยายามที่จะมีการย้ายระบบขึ้นไปสู่คลาวน์เพราะประเด็นเกี่ยวกับภัยคุกคามไซเบอร์บนคลาวน์เป็นสิ่งสำคัญ,รวมถึงการชาร์จค่าบริการไซเบอร์ซีเคียวลิตี้ตามปริมาณการใช้งาน ตรงนี้จะตอบโจทย์เรื่องความยืดยุ่นกับทางลูกค้ามากขึ้น และสามจะโฟกัสที่ โอทีไซเบอร์ซีเคียวริตี้ จะเกี่ยวข้องกับระบบฮาร์ทแวร์และโรงงาน หรือในภาคส่วนต่างๆที่มีการผลิต ควรจะต้องมีการทำไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ซึ่งบริษัทมีการเตรียมความพร้อมเรื่องนี้ไว้
ดร.ศุภกร กล่าวว่าปัจจุปันการใช้ระบบAIเข้ามาใช้ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนนั้น หลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว ดังนั้นองค์กรที่ใช้ประโยชน์จากAIได้มากเท่าไหร่ก็จะได้เปรียบมากกว่า แต่ด้วยการที่ AI เป็นเทคโนโลยีใหม่จึงยังต้องจับตามองว่าจะเกิดผลกระทบอะไรหรือไม่ พร้อมยืนยันว่าในอนาคตการนำระบบดิจิทัลหรือเทคโนโลยีเข้าไปใช้ในระบบราชการหน่วยงานรัฐยังจำเป็น แต่ในส่วนของรูปแบบหรือการผลักดันต้องอาศัยความเข้าใจความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสมเพราะฉะนั้นการผลักดันที่เป็นลักษณะ ท็อปดาวน์ ระดับบริหารหรือนโยบายจากภาครัฐเองก็สำคัญ แต่ยอมรับหน่วยงานภาครัฐก็มีข้อจำกัดหลายอย่างเช่น งบประมาณไม่ได้มีความต่อเนื่อง เรื่องวัฒนธรรมองค์กร และการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารบ่อยทำให้ไม่เกิดความต่อเนื่อง ซึ่งปัญหาตรงนี้อาจไม่ได้แก้ง่ายๆแต่หากมีการวางโรดแมพหรือแผนแม่บทที่ดีและเหมาะสมจะช่วยผลักดันดิจิทัลในประเทศได้เป็นอย่างดี
ขณะเดียวกันก็มองว่าเป็นโอกาสของผู้ให้บริการอย่างไซเบอร์ อีลีทด้วยเพราะเมื่อใดก็ตามที่มีระบบดิจิทัลเทคโนโลยีล้วนแล้วแต่มีประเด็นเรื่องความเสี่ยงทางไซเบอร์ทั้งสิ้น แต่ต้องเข้าใจเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐด้วยว่าจำนวนคนที่จะเข้ามาดูแลไซเบอร์เทคโนโลยีมีน้อย แต่ลักษณะของการใช้บริการของหน่วยงานรัฐในช่วงที่ผ่านมาจะเป็นงบลงทุนที่มีการซื้อขาด เพื่อให้ทางเจ้าหน้าที่เข้าไปบริหารจัดการทุกอย่าง ซึ่งมองว่าเทรนด์ที่เอาเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญไปบริหารจัดการรับมือแบบเบ็ดเสร็จทุกอย่างเกิดขึ้นไปแล้วในภาคเอกชนจึงอยากให้หน่วยงานภาครัฐพิจารณาในประเด็นนี้ดูและเชื่อว่าในอนาคตจะมีโอกาสร่วมมือกันมากขึ้น